ซีพีเอฟ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนแนว BCG

ซีพีเอฟ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนแนว BCG

การพัฒนาอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการเพาะเลี้ยง และการผลิตสัตว์น้ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

ในการประชุมวิชาการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร  ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  จำกัด (มหาชน) ร่วมบรรยายเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวทาง BCG และ Thailand4.0

ในงานสัมมนานวัตกรรมสู่อนาคตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน   ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ระบุว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แนวทาง BCG (Bio-Circular-Green) และ Thailand 4.0 ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ   

   ซีพีเอฟ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนแนว BCG ซีพีเอฟ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนแนว BCG ซีพีเอฟ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนแนว BCG

 

ในส่วนของ BIO Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทรัพยากรทางชีวภาพที่มีในประเทศ มาใช้อย่างคุ้มค่า เน้นการเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม มีการนำโปรตีนจากสาหร่ายมาใช้ทดแทนการใช้ปลาป่น และกากถั่วเหลือง รวมถึงลดคาร์บอนไดออกไซด์และของเสีย มีการนำโปรไบโอติก จุลินทรีย์มาช่วยขับเคลื่อนการเลี้ยง  ทั้งเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพกุ้ง และช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น   

    

ประเทศไทยมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร และทรัพยากรไม่แพ้ชาติใดๆในโลก  ด้านCircular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนในวงการสัตว์น้ำ ได้นำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด เน้นการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด  ด้วยการเพิ่มมูลค่าของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง  สำหรับGreen Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การผลิต จนถึงมือผู้บริโภค 

  

ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี ออโตเมชั่น มาปรับใช้ในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ช่วยให้การจัดการดีขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น และมีความเสี่ยงลดลง 

นอกจากนำระบบการให้อาหารอัตโนมัติมาใช้ ยังมีการต่อยอดอุปกรณ์กล้องใต้น้ำที่ทำให้สามารถติดตามน้ำหนักเฉลี่ยของกุ้งที่เลี้ยงผ่านระบบในมือถือ   ไม่เพียงกระบวนการเลี้ยงที่มีการคิดค้นให้เกิดของเสียน้อยที่สุด  แต่ยังรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ 100% ซึ่งซีพีเอฟได้รับการยืนยันจาก GSSI (Global sustainable seafood initiative) ว่าเป็นสมาชิกระดับโลกที่มุ่งมั่นทำธุรกิจสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการลดพลาสติก และการจัดการขยะพลาสติก