“ทุนญี่ปุ่น”เบนเข็มมุ่งลดคาร์บอน รับเผชิญต้นทุนเพิ่ม-ไร้สิทธิประโยชน์

“ทุนญี่ปุ่น”เบนเข็มมุ่งลดคาร์บอน   รับเผชิญต้นทุนเพิ่ม-ไร้สิทธิประโยชน์

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อเร็วนี้ได้รับทราบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ในส่วนของสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและภูมิภาคพบว่าอุณหภูมิโลกมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดความร้อนสะสม

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่   

โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการประเมินว่า มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วและเกิดคลื่นความร้อนมากที่สุด ขณะพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการแผ้วถาง (เผาป่า) พื้นที่ป่าเพื่อการเกษตรในส่วนของประเทศไทยได้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 119,107.46 ล้านบาท คิดเป็น3.84% ของงบประมาณ ประจำปี 2565 ที่มีมูลค่า 3,100,000 ล้านบาท

 ความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงหน้าที่ของภาครัฐ แต่ได้มีการพูดถึงในภาคธุรกิจ โดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร จัดทำผลสำรวจ “ปี 2565 สภาพธุรกิจญี่ปุ่นในต่างประเทศ (เอเชียและโอเชียเนีย)” หรือ 2022 Survey on Bussiness Conditions of Japanese Companies Operating Oversea (Asis and Oceania) ดำเนินการสำรวจอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2530

จากการสำรวจบริษัทญี่ปุ่นใน 20 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อาเซียน และเอเชียตะวันตก ระหว่าง 22-21 ก.ย.2565 จากกลุ่มตัวอย่าง 14,290 ราย จาก 4,392 บริษัท ในส่วนของไทย มีธุรกิจขนาดใหญ่ 212 ราย และขนาดกลางและย่อม (SMEs) 326 ราย โดยธุรกิจที่ร่วมตอบแบบสำรวจ มีทั้งอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ เหล็ก เครื่องจักรทั่วไป เครื่องใช้ไฟฟ้า การเงินและประกันภัย ค้าปลีกค้าส่ง บริการทางธุรกิจ อุปกรณ์ขนส่ง (ยานยนต์) เกษตรและประมง

ผลสำรวจได้เผยถึงความเห็นของธุรกิจต่อเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือ decarbonization ว่า ธุรกิจถึง 70% ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว และมีธุรกิจถึง 67.4% ที่ตระหนักว่าต้องลดการปล่อยคาร์บอนในส่วนของซัพพลายเชนที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทด้วย  “ทุนญี่ปุ่น”เบนเข็มมุ่งลดคาร์บอน   รับเผชิญต้นทุนเพิ่ม-ไร้สิทธิประโยชน์

“ธุรกิจมากกว่าครึ่งรู้ว่าต้องดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการลดคาร์บอน แต่ไม่ไช่แค่ธุรกิจเท่านั้นที่ต้องปรับตัว ผลสำรวจได้ชี้ว่า มีีความจำเป็นต้องปรับซัพพลายเชนให้เป็นไปในทิศทางเดียกันคือการลดคาร์บอนด้วย แต่มุมมองดังกล่าวพบว่าในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และภาคการผลิตมีการตระหนักเรื่องนี้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช่ภาคการผลิตหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(SMEs) ที่ยังไม่ค่อยเห็นความสำค้ญของเรื่องเหล่านี้ ”

ส่วนปัจจัยผลักดันให้ต้องปรับธุรกิจเพื่อลดคาร์บอนได้แก่ เป็นนโยบายจากบริษัทแม่ เป็นข้อเรียกร้องจากผู้บริโภค เป็นกระแสของโลก และเป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเอง 

ทั้งนี้ มีธุรกิจถึง 40% ที่พร้อมและได้ริเริ่มเพื่อลดคาร์บอนแล้ว  โดยมีธุรกิจถึง 37.1% ลงมือทำแล้ว เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในสาขาพลังงาน เหมืองแร่ และการขนส่ง และกลุ่มธุรกิจนี้ก็พบว่ามีความพร้อมและเดินหน้าเพื่อลดคาร์บอนแล้ว ด้วยการกำหนดแผนงานและมุ่งหน้าสู่ความพยายามบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายบริษัทที่ต้องพิจารณาในการทำธุรกิจต่างต้องคำนึงถึงเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน หรือ ใช้พลังงานที่มาจากแหล่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การมองหาพลังงานทดแทน การใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น 

ในส่วนการจัดการซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องก็พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งไปที่การจัดการลดคาร์บอนในท้องถิ่นที่ธุรกิจตั้งอยู่ แต่จะเน้นการฟังนโยบายจากบริษัทแม่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนที่จะจัดการซัพพลายเชนในท้องถิ่นให้เป็นแบบคาร์บอนต่ำแต่เป็นเพียงรูปแบบอาสาสมัครเท่านั้น 

สำหรับนโยบายบริษัทแม่ที่กำหนดขึ้น ได้แก่ การกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่ชัดจน เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การกำหนดความเป็นกลางทางคาร์บอน การใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและแหล่งพลังงาน อย่างไรก็ตาม พบว่าความพยายามดังกล่าวได้เผชิญกับอุปสรรคสำคัญคือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการขาดแคลนสิทธิประโยชน์ที่จะสนับสนุน

“ความท้าทายเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน มีทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การขาดความชัดเจนและยากที่จะกำหนดระบบการนำเสนอปัญหาต่างๆให้มีความชัดเจนขึ้น  ขณะเดียวกันก็พบว่า เมื่อลูกค้าและซัพพลายเออร์ขาดความเข้าใจเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนก็ยิ่งทำให้เรื่องเหล่านี้ยากขึ้น เช่นเดียวกันการไม่มีสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจนจะทำให้การแข่งขันยากขึ้นด้วยเช่นกัน  ซึ่งปัญหาดังกล่าว สามารถใช้กรณีตัวอย่างตามข้อริเริ่มที่ได้แล้วในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับพลังงานทดแทน  พลังงานแสงอาทิตย์  ยานยนต์ไฟฟ้าและการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น"

ภาคธุรกิจเองก็กำลังได้รับผลกระทบจากdecarbonization เช่นกัน การฟังเสียงเรียกร้องและร่วมกันแก้ปัญหาจะทำให้ความพยายามประสบความสำเร็จได้