“ธนาคารโลก”เปิด 3 เงื่อนไข สู่เป้าหมายการเงินเพื่อความยั่งยืน

“ธนาคารโลก”เปิด 3 เงื่อนไข  สู่เป้าหมายการเงินเพื่อความยั่งยืน

เป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 20-25% ภายในปีพ.ศ.2573 ตามร่างแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021 – 2030 หรือ NDC Roadmap on Mitigation 2021 – 2030)

เพื่อบรรลุข้อตกลงปารีส ว่าด้วยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2% ซึ่งเครื่องมือที่จะบรรลุเป้าหมายที่สำคัญนั่นคือ “การเงิน”

รัชฎา อนันตวราศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสภาคสถาบันการเงิน ธนาคารโลก หรือ World Bank  กล่าวว่า การมุ่งหน้าสู่ความยั่งยืนสามารถใช้หลักทางการเงินมาช่วยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ แต่หากจะถามว่าแล้วความยั่งยืนจำเป็นอย่างไร ต่อภาคธุรกิจหรือแม้แต่ภาคการเงินนั้น คำตอบต่อคำถามนี้สามารถอธิบายได้ด้วย เหตุการณ์เมื่อปี 2011 ที่ความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งธนาคารโลกได้ประเมินไว้ที่ 1.44 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก

“ในทางกลับกัน หากสามารถลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้จะประหยัดงบประมาณที่ต้องจ่ายไปกับความเสียหายจากภัยธรรมชาติได้มาก ดังนั้น  ไทยจึงเข้าร่วมข้อตกลงปารีสซึ่งตามข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือ และความรับผิดชอบของเราทุกคน”     ดังนั้นภาคการเงิน และภาคธุรกิจ จึงเล็งเห็นโอกาสใหม่จากความพยายามเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนนี้ นอกจากนี้ ยังมีกติกาทางการค้าใหม่จากคู่ค้าหลักๆ เช่น สหภาพยุโรป(อียู) เป็นเงื่อนไขบีบคั้นให้ทุกภาคส่วนมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะการดูแลสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ 

โดยทิศทางธุรกิจ และการเงินภายใต้เงื่อนไข ESG หรือ Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)หากยึดหลักนี้ภาคธุรกิจก็จะเข้าถึงการเงินได้แต่ต้องยอมรับว่าปัญหาการดำเนินการจริงยังมีเรื่องของเทคนิคทั้งการตรวจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การประเมินเงินทุน

“บริษัทเอกชนต่อให้มีแผนการลงทุนเพื่อความยั่งยืน แต่ในทางปฏิบัติจริงธนาคารคงฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่องก็ไม่เกิดการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น การหาจุดเชื่อมให้ธนาคาร และธุรกิจ รวมถึงโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ คุยกันรู้เรื่องผ่านข้อจำกัดด้านเทคนิคไปได้ ก็จะทำให้การเงินเพื่อความยั่งยืนเป็นตัวช่วยสำคัญของการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ได้อย่างแท้จริง” 

สำหรับจุดเชื่อมที่ว่า นี้คือ National Sustainable Finance Taxonomy ที่สอดคล้อง กับ ASEAN Taxonomy เพื่อทำหน้าที่เชื่อมความรู้ด้านเทคนิค ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเชิงระบบ ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูล การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริม BCG Economic Model ความพร้อม ของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึง SMEs  การใช้พลังงาน แหล่งพลังงาน ให้เข้ากับการเงิน ได้แก่ งบประมาณภาครัฐ การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ของ SMEผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืน

“ธนาคารโลก”เปิด 3 เงื่อนไข  สู่เป้าหมายการเงินเพื่อความยั่งยืน

"การเงินเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีโปรดักต์จำนวนมาก  เช่น พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย หลายพันธบัตร ESG ที่เป็นหลักการสำคัญที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาเพื่อการลงทุน ดังนั้นหากประเทศใดออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนจะสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนได้อีกมาก  ซึ่งย้อนกลับไปสู่โครงการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนต่างๆ ต่อไป โดยพันธบัตรที่ว่านี้ มีทั้งแบบกรีนบอนด์ ซึ่งจะนำเงินไปใช้ด้านสิ่งแวดล้อม และบลูบอนด์ ก็จะเป็นการนำเงินไปใช้เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น เหล่านี้คือ เทรนด์การเงินแห่งอนาคตซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น"

"การเงินเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีโปรดักต์จำนวนมาก  เช่น พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย หลายพันธบัตร ESG ที่เป็นหลักการสำคัญที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาเพื่อการลงทุน ดังนั้นหากประเทศใดออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนจะสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนได้อีกมาก  ซึ่งย้อนกลับไปสู่โครงการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนต่างๆ ต่อไป โดยพันธบัตรที่ว่านี้ มีทั้งแบบกรีนบอนด์ ซึ่งจะนำเงินไปใช้ด้านสิ่งแวดล้อม และบลูบอนด์ ก็จะเป็นการนำเงินไปใช้เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น เหล่านี้คือ เทรนด์การเงินแห่งอนาคตซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น"

 สำหรับประเทศไทย สัดส่วนการเงินเพื่อความยั่งยืนยังมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีก แต่ต้องมีการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ให้ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขาดข้อมูล รายละเอียดผลตอบแทน เพราะหลายส่วนยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ เช่น ธุรกิจไม่เข้าใจถึงประโยชน์ที่จะต้องลดผลตอบแทนทางธุรกิจหรือเพิ่มการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งที่การลงทุนเรื่องเหล่านี้ คือ การลงทุนระยะยาว และคุ้มค่าในอนาคต 

ตลาดพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ของไทยมีสัดส่วนเพียง 1% ต่อจีดีพี อินโดนีเซีย ไม่ถึง 1% สหรัฐ 1.1-1.2%  ขณะที่เยอรมนี สูงถึง 3% และประเทศที่มีสัดส่วนพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนสูงสุดคือ ลักเซมเบิร์ก สัดส่วน 11%

โดยองค์ประกอบการเงินเพื่อความยั่งยืนนั้น มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากบุคคลทั่วไป SMEs ธุรกิจขนาดใหญ่ และภาครัฐ  โดยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เงินกู้ ตราสารหนี้ ,ตราสารทุน, ตราสารอนุพันธ์, Private Equity  ,Venture Capital และ Angel Investor ขณะที่ด้านแหล่งข้อมูล ได้แก่ เงินฝาก กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จ บำนาญ และเงินลงทุน 

การทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้เป็นกลไกสู่ความยั่งยืนจะเป็นอีกหนทางที่ทำให้เป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์