ไขข้อข้องใจ “เมนูมื้ออาหาร”ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอัตราเท่าไหร่

ไขข้อข้องใจ “เมนูมื้ออาหาร”ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอัตราเท่าไหร่

เมื่ออาหารถูกตั้งคำถามว่าเป็นต้นเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทำลายชั้นบรรยากาศและเป็นสาเหตุของปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือ Climate Change และเป็นสาเหตุของปรากฎการณ์โลกร้อน และ โลกรวน หลายประการ

จากข้อมูลจะพบว่ากลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์และโปรตีน หรือแม้แต่อาหารทะเลจะมีอัตราปล่อยก๊าซที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มอาหารที่ได้จากพืช 

ข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ระบุว่า เมนูใดช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อนได้มากที่สุด แต่คงต้องมาทำความเข้าใจและรู้ก่อนว่าแต่ละเมนูปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ เมนูไหนปล่อยน้อยคือช่วยลดโลกร้อนได้ ดังนั้นในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น จะต้องคิดอย่างไร 

 การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้น เราจะคิดตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ (การผลิต เช่น การปลูก การทำฟาร์ม ซึ่งต้องรวมไปถึงการผลิตอาหารสัตว์สำหรับการทำปศุสัตว์หรือฟาร์มด้วย) การขนส่ง กระบวนการนำวัตถุดิบมาปรุงเป็นอาหาร พลังงานที่ใช้ ตลอดจนการกำจัดซากเมื่อมีการใช้งานแล้ว ดังนั้นหากเราจะเริ่มคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละเมนู สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ ปริมาณการใช้วัตถุดิบต่างๆ การปรุงและอื่นๆ

“แต่ยังไม่ได้ให้ข้อมูล ปริมาณ และสมมุติฐานมาด้วย ทาง TGO ขอตั้งสมมุติฐานแบบคิดง่ายๆ ว่าทุกเมนูมีปริมาณใกล้เคียงกัน วิธีการปรุงหรือพลังงานที่ใช้เท่ากัน ทานอาหารหมดไม่เหลือเป็นขยะเหมือนกัน ต่างกันแค่องค์ประกอบหลักของวัตถุดิบแต่ละเมนู”

สำหรับค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor: EF) ตามฐานข้อมูลของ TGO โดยอ้างอิงจาก Thai National LCI Database TIIS-NSTDA พบว่า 

*ไก่สดชำแหละ 4.8449 kgCO2eq/kg  [ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการด าเนินกิจกรรม i มีหน่วยเป็นกิโลกรัม. หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq หรือ tCO2eq] 
*ไข่ไก่ 8.4761 kgCO2eq/kg (โดยไข่ไก่ 1 ฟองมีน้ำหนักเฉลี่ย = 60 กรัม)
*สุกรขุนชำแหละ 3.9027 kgCO2eq/kg
*เนื้อโคชำแหละ 13.4269 kgCO2eq/kg

ไขข้อข้องใจ “เมนูมื้ออาหาร”ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอัตราเท่าไหร่
*หอยแมลงภู่ 6.2945 kgCO2eq/kg
*กระเทียม 0.4754 kgCO2eq/kg
*พริกไทย 1.3779 kgCO2eq/kg
*ผักคะน้า 0.2554 kgCO2eq/kg
*หอมหัวใหญ่ 0.3441kgCO2eq/kg
*มันฝรั่ง 0.1447 kgCO2eq/kg
*มะเขือเทศ 0.4785 kgCO2eq/kg
*ผักกาดหอม 0.9417 kgCO2eq/kg
*กะหล่ำปลี 0.3538 kgCO2eq/kg
*ข้าวโพดฝักอ่อน 0.4324 kgCO2eq/kg
*แครอท 0.2637 kgCO2eq/kg
*ผักกาดหัว 0.2673 kgCO2eq/kg

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาวัตถุดิบที่มาจากต่างประเทศ ก็สามารถใช้แหล่งอ้างอิงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในต่างประเทศ เช่น https://www.businessinsider.com/the-top-10-foods-with-the-biggest-environmental-footprint-2015-9 และ ที่มา Poore & Nemecek, Science (2018) และ OurWorldInData.org/environmental-impacts-of-food 

สำหรับเมนูหลักๆที่ประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่
แซลมอน (ฟาร์ม) 11.9 kgCO2eq/kg
กุ้ง (ฟาร์ม) 26.87 kgCO2eq/kg
ข้าว 2.7 kgCO2eq/kg 

“จากตัวเลข EF ข้างต้นสรุปได้ว่า  พืชมีการปล่อยค่าก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่า เนื้อสัตว์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสัตว์เล็กก็ปล่อยก๊าซน้อยกว่ สัตว์ใหญ่กลุ่มเคี้ยวเอื้อง ส่วนการประมงทางทะเลแบบจับตามธรรมชาติจะปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าการเพาะเลี้ยงแบบฟาร์ม”