ตลาด“คาร์บอนเครดิต” พุ่ง 7.5แสนล้าน ปี 2573

ตลาด“คาร์บอนเครดิต”  พุ่ง 7.5แสนล้าน ปี 2573

ข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ระบุว่าภาพรวมตลาดคาร์บอนเครดิตโลกเมื่อปี 2020 มีมูลค่าประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 12,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดจะสูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 750,000 ล้านบาท ในปี 2030 (พ.ศ.2573)

สำหรับประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ จีน อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น

  จากสถิติจาก World Resources ระบุว่า สหรัฐปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดปีละ 5.7 พันล้านตัน อันดับ 2 คือจีน 3.4 พันล้านตัน อันดับ 3 คือ รัสเซีย 1.5 พันล้านตัน ญี่ปุ่น 1.2 พันล้านตัน อังกฤษ 558 ล้านตัน ขณะที่ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก อยู่ที่ราว 256 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็น 1% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งโลกที่ถูกปล่อยออกมา ก๊าซเรือนกระจกนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากภาคการผลิตไฟฟ้าถึง 39% ดังนั้นการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จึงเป็นหนึ่งในแนวทางช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซไม่ต้องถูกลงโทษทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตโลกจะเติบโตสูงถึง 15 เท่า ใน 10 ปีข้างหน้า ตลาด“คาร์บอนเครดิต”  พุ่ง 7.5แสนล้าน ปี 2573

จากงานวิจัยของหลาย ๆ สำนักทั่วโลกต่างคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิตของโลก จะเติบโตมากถึง 100 เท่า ในปี 2593  เช่น งานวิจัยของ McKinsey คาดว่าในปี 2573 ความต้องการคาร์บอนเครดิตในตลาดซื้อขายคาร์บอนภาคสมัครใจจะเติบโตถึง 15 เท่า จากปี 2563 จนแตะระดับ 1.5-2 กิกะตันคาร์บอนฯ (GtCO2) ต่อปี และเติบโตมากถึง 100 เท่า จนมาอยู่ที่ราว 7-13 กิกะตันคาร์บอนฯ (GtCO2) ต่อปี ในปี 2593