ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

หลายคนอาจคุ้นเคยกับ PASAYA (พาซาญ่า) ธุรกิจสิ่งทอ ผ้าม่าน สินค้าไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะเครื่องนอน ที่ได้รับคำนิยามว่า “นุ่ม ลื่น เย็น” แต่ความจริงแล้วไม่ได้มีดีแค่นั้น เพราะพาซาญ่า เรียกได้ว่าเป็น "โรงงานสีเขียว" ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ Net zero ในปี 2593

PASAYA (พาซาญ่า) ธุรกิจเครื่องนอน สิ่งทอ ผ้าม่าน และสินค้าไลฟ์สไตล์คุณภาพพรีเมียมสัญชาติไทย ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด ที่มุ่งมั่นก้าวสู่การเป็น Net Zero Emissions Factory หรือ โรงงานสีเขียว ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2593 ผ่านการใช้ พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน ลดการปล่อย และเพิ่มการเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมถึงส่งเสริมความยั่งยืนของ สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

 

“แพศยา” สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ สง่างาม

 

PASAYA (พาซาญ่า) มีที่มาจากคำว่า “แพศยา” จากความตั้งใจของ “ชเล วุทธานันท์” ประธานกรรมการ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด ที่มองว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่อยู่ในกรอบประเพณี โดยบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ คือ “คลีโอพัตรา” เพราะสวย เก่ง มีอำนาจ เป็นกษัตริย์อียิปต์ ที่โดนเรียกว่าแพศยาโดยคนโรมันที่เป็นศัตรู ดังนั้น คำจำกัดความของ “แพศยา” จึงประกอบด้วย 4 คำ คือ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และสง่างาม

 

อีกทั้ง ยังมองว่า ด้วยความที่เป็นคนไทยต้องใช้ภาษาไทย ควรจะเป็นสระเสียงยาวเพื่อให้ต่างชาติสามารถออกเสียงได้ และสุดท้าย ต้องเป็นชื่อที่ฟังแล้วจำได้ทันที

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

จุดเริ่ม “โรงงานสีเขียว”

 

แนวคิดในการเปลี่ยนโลกให้คนสามารถอยู่ร่วมกันสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนของพาซาญ่า เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2538 พาซาญ่าได้ออกแบบและวางผัง โรงงานสีเขียว (Green Factory) ให้มีระบบการผลิตและ การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการใช้สารเคมีอันตรายที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของสารเคมีอันตรายใดๆ ในแหล่งน้ำและผืนดินรวม ถึงการรีไซเคิลระบบน้ำภายในโรงงานได้ 100% และนำกลับมาใช้ใหม่ในขบวนการผลิตได้ถึง 30% ทุกอาคาร

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

แต่หากจะย้อนกลับไปให้ไกลกว่านั้น คือ ปี 2529 นับเป็นยุคทองของการส่งออกสิ่งทอประเทศไทย “ชเล วุทธานันท์” ซึ่งต้องรับช่วงธุรกิจของครอบครัว คือ บริษัท สิ่งทอซาติน จำกัด ในพระประแดง จ.สมุทรปราการ มีเครื่องจักรเพียง 20 เครื่องคนงานไม่ถึง 50 คน และสภาพโรงงานที่เก่าจนเรียกว่า “โรงงานนรก” หน้าร้อนต้องใช้น้ำเลี้ยงหลังคาเพื่อคลายร้อน ขณะที่หน้าฝน น้ำกลับท่วมจนต้องทอผ้าในน้ำ

 

“ชเล” เล่าว่า สิ่งที่เห็นในยุคนั้น คือ ความล้าหลังของระบบอุตสาหกรรมบ้านเรา พนักงานไม่มีน้ำกิน ห้องน้ำไม่มีสุขอนามัย สภาพเหล่านี้เป็นสภาพที่พบเห็นทั่วไป ยังไม่รวมถึงสภาพการทำงานที่ไม่ดีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ช่วงนั้นเกิดเหตุสะเทือนใจ คือ เหตุไฟไหม้ โรงงานเคเดอร์ (โรงงานผลิตตุ๊กตาและของเด็กเล่น บริษัท เคเดอร์อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด) ปรากฏว่าคนงานไม่สามารถหนีออกจากตึกได้ กลายเป็นข่าวใหญ่ทำให้คนงานตายหลายคน

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

ชเล วุทธานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด

 

“สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สัมผัสมาโดยตลอด จนมาในช่วงที่ต้องช่วยพ่อทำธุรกิจและเห็นว่าโรงงานของเราไม่ได้ต่างจากเขาเท่าไหร่ ดังนั้น พอขึ้นมาบริหารจึงปรับเปลี่ยนโรงงานที่อยู่พระประแดง สมุทรปราการ ให้ดีขึ้น และพอมีโอกาสมาทำโรงงานพาซาญ่า ที่ ราชบุรี จึงตั้งใจว่าจะต้องทำโรงงานที่มีความปลอดภัยของพนักงานอันดับ 1 สิ่งแวดล้อมในการทำงานจะต้องสะดวกสบาย ชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานจะดีขึ้นนี่คือความตั้งใจแรก”

 

 

โรงงานต้องไม่เป็นภาระสังคม

 

ถัดมา คือ เรื่องของโรงงาน คือ ทำอย่างไรไม่ให้โรงงานเป็นภาระต่อสังคม เช่น การปล่อยน้ำเสีย ปัญหาโรงงานปล่อยน้ำเสียในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสมัยนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่คนมองว่าลงทุนไม่ไหวเพราะต้นทุนสูง แต่สำหรับ “พาซาญ่า” เรื่องของสิ่งแวดล้อมกลับเป็นเรื่องที่ทิ้งไม่ได้ เพราะโรงงานไม่ใช่แค่ทอผ้า แต่ทำตั้งแต่กระบวนเตรียมเส้นด้าย ทอ ย้อม ดังนั้น สิ่งสำคัญ ที่สุด ก็คือ น้ำ

 

สิ่งแรกที่สร้างในโรงงาน “พาซาญ่า” ราชบุรี คือ “บ่อบำบัดน้ำเสีย” ในปี 2538 แล้วเสร็จในปี 2547 โดยใช้เวลากว่า 9 ปี ในการทำรีไซเคิลน้ำ 100%

 

"ชเล" กล่าวต่อไปว่า หากไม่มองเรื่องของสิ่งแวดล้อม ก็คงไม่ยั่งยืน สิ่งแรกที่ทำจึง บ่อบำบัดน้ำเสีย ก่อนที่จะเปิดโรงย้อม และทำระบบโรงย้อมให้ดีไม่มีมลภาวะ ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ชุมชน เพราะระแวกนี้มีคลองส่งน้ำ หากเราปล่อยน้ำเสียออกไป พืชผลของชาวบ้านเสียหาย เราจะตอบคำถามชาวบ้านอย่างไร เพราะเป็นความเสียหายของชุมชน การทำโรงงานให้ดีจึงเป็นความตั้งใจ

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

พนักงานต้องปลอดภัย

 

ทั้งนี้ ภายในโรงงานได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงคุณภาพในการผลิต ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของ พนักงาน อาทิ

 

โรงทอ “Casamatta” (แปลว่า Crazy Hose บ้านของคนที่คลั่งไคล้ในการทอผ้า) ต้องควบคุมความชื้นและมีการกำจัดฝุ่นฝ้ายในอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ บนหลังคาของอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าลงได้ 25% ต่อปี

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

โรงทอ “Casamatta”

 

โรงย้อม (Kampang) การออกแบบระบบถ่ายเทอากาศตามหลัก Aero Dynamic กำแพง ที่ไม่ใช่กำแพง เพื่อทำให้ภายในโรงย้อม ที่อาจมีอุณหภูมิสูงถึง 130 องศาฯ ขณะย้อม ให้เย็นสบายและไม่อบอ้าว

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

โรงย้อม (Kampang)

 

Zigzag (โรงเย็บ) สร้างสวนป่าสีเขียวใจกลางโรงเย็บภายในอาคาร เพื่อเพิ่มพื้นที่ผ่อนคลายให้พนักงานที่ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

สวนป่ากลางอาคาร Zigzag (โรงเย็บ)

 

อาคาร Octospider โรงอาหารพนักงานที่สร้างขึ้นให้โดดเด่นแปลกตา นับเป็น Iconic ของโรงงาน ใต้ห้องอาหารเป็นที่เลี้ยงปลา และสัตว์น้ำ โดยใช้น้ำที่มาจากระบบหมุนเวียน จากบ่อบำบัดน้ำเสีย

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

อาคาร Octospider

 

โดยปี 2565 นี้ พาซาญ่า ได้เริ่มติดตั้งโซล่าร์ เซลล์เพื่อใช้พลังงานสะอาดแทนไฟฟ้าภายใต้การสนับสนุนของ KBank รวมถึงเพิ่มการใช้วัตถุดิบ Recycle และ Upcycling เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions Factory

 

จัดระบบทำงาน ลดกะดึก 

 

ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการทำงาน พาซาญ่า ทำการจัดระบบงานของพนักงานกว่า 500 คนในโรงงานใหม่ ทำให้มีการทำงานเป็นกะดึกน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นซึ่งเหลือเพียงแค่ในส่วนของโรงทอ และพยายามให้ทำงานในช่วงเวลากลางวันมากที่สุด

 

ชเล เล่าว่า จากการที่ไปดูงานประเทศญี่ปุ่น กะดึกของเขาไม่ต้องใช้คน ปิดไฟหมดทั้งโรงงาน แต่เครื่องจักรเดินตลอดเวลา เราอยากจะทำอย่างนั้นได้ ทำอย่างไรให้โรงงานปิดไฟทั้งหมด โดยให้เครื่องเดินไปและค่อยมาดูในช่วงเช้า

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

"เพราะการทำงานกะดึกเป็นผลเสียต่อสุขภาพ หากคนอายุมากจะรู้ว่าการอยู่ดึกไม่ดีและอันตราย ขณะเดียวกัน คนอายุประมาณ 20 – 30 ปี หากใช้ชีวิตต้องนอนดึก หมุนเวียนสลับแต่ละอาทิตย์ วงจรชีวิตแบบนี้จะทำให้คนนอนหลับไม่ดี และส่งผลต่อโรคภัยไข้เจ็บ"

 

“นอกจากนี้ ภายในโรงงานพาซาญ่า ยังมีหอพักสำหรับพนักงาน จำนวน 14 หลัง รองรับได้หลังละ 20 คน รวม 280 คน สามารถเช่าได้ในราคาถูก 1,400 ต่อเดือน ห้องหนึ่งอยู่ได้ 4 คน ตกคนละ 350 บาทต่อเดือน”

 

ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพรินต์

 

ชเล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีที่ผ่านมา พาซาญ่า ได้เริ่มทำโครงการ Zero Emission และขึ้นทะเบียน Carbon Footprint เป็นที่เรียบร้อย เรายังเปลี่ยนระบบเตาไอน้ำจากการเผา ถ่านหินเป็นระบบ Once Through หรือ “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” ด้วยการใช้ก๊าซ LPG ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเท่าตัว ในการให้ความร้อนสำหรับงานฟอกย้อมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2565 ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ตัน/ ปี หรือราว 25%

 

“จากนั้นจะค่อยๆ ปรับลดลงอีกทุกปีควบคู่กับการขยายกำลัง การผลิตเพื่อไปให้ถึง Net Zero ในปี 2050 เรายังเริ่มรณรงค์โครงการ Mission for the World ใช้ที่ดินโรงงาน ราว 100 ไร่ โดยใช้ไม้ป่าของไทยเป็นหลัก เช่น ยางนา ตะเคียนทอง พยุง เป็นต้น เพื่อมาเรียนรู้ในการปลูกป่าชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วจะทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไปยังที่ดินใน ชนบทห่างไกล ซึ่ง 10,000 ตันเท่ากับปลูกป่าบนที่ดินเพียง 3,300ไร่”

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

โรงงาน ภาคส่วนสำคัญ แก้ปัญหาโลกร้อน

 

ปัญหาเรื่องของภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรง และความเป็นจริงโรงงาน คือ ผู้ที่จะสามารถแก้ปัญหา หรือ ทำให้โลกร้อนยิ่งกว่าเดิม "ชเล" อธิบายว่า โรงงานควรหาวิธีลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การผลิตที่ต้องมีการเผาเชื้อเพลิง แต่ทำอย่างไรให้การเผาเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำอย่างไรให้การผลิตเป็นกระบวนการที่เขียวที่สุด ลดมลภาวะ ปล่อยให้น้อยที่สุด สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้ แต่หลายคนมองว่าต้นทุนสูง ซึ่งความจริงหากทำได้ถูกวิธี จะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานด้วยซ้ำ แต่ทุกวันนี้หลายอุตสาหกรรมไม่เข้าใจ และมองแค่เรื่องของการแข่งขัน

 

"ปัจจุบันสามารถกู้ยืมทางธนาคารได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูง รวมถึงสามารถขอแรงสนับสนุนจากทางภาครัฐก็สามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องแบกรับเองทั้งหมด การลงทุนในลักษณะนี้ให้ผลตอบแทนยาวกว่า เช่น โซลาร์เซลล์ ระยะคืนทุน 5 ปีเท่านั้น ปกติแล้วการลงทุนในอุตสาหกรรมทั่วไป ได้คืนทุนใน 10 ปีก็ถือว่าดี"

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

“การแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่โรงงานต้องทำ เพราะหากเราไม่ทำ เราก็คือผู้ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคม หากผู้บริโภคเริ่มมองเห็นปัญหาของการใช้ผลิตภัณฑ์จากโรงงานที่ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ไม่ควรเชื่อว่าจะเป็นแรงกดดันอย่างหนึ่งให้อุตสาหกรรมเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง เราต้องทำเพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง” ชเล กล่าว

 

7 ธุรกิจของ พาซาญ่า 

 

ปัจจุบัน ภายใต้ พาซาญ่า มีผลิตภัณฑ์กว่า 7 กลุ่ม ธุรกิจ ได้แก่

 

PASAYA Bedding

กลุ่มสินค้าที่ทำให้ PASAYA เป็นที่รู้จัก ว่าเป็นแบรนด์ชุดผ้าปูที่นอนดีต่อสุขภาพของทุกคนและดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติ Formaldehyde Free ปราศจากสารพิษก่อมะเร็งฟอร์มาลดีไฮด์ มาตรฐานยุโรป ในขั้นที่ใช้ได้กับเด็กทารกแรกเกิด ยับยั้งไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา 99%

มาตรฐาน Cool mode จากองค์การบริหาจัดการก๊าซเรือนกระจก รับประกันความเย็นสบาย ดูดซับเหงื่อ ระบายความร้อนได้ดี สามารถปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้น โดยยังรู้สึกเย็นสบาย ช่วยลดการใช้พลังงาน มีส่วนช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ยับยั้งการเจริญเติบโตของไรฝุ่น ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เพราะเคลือบสาร sanitized มาตรฐานสวิตเซอร์แลนด์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอันเป็นอาหารของไรฝุ่น

มาตรฐานฉลากเขียว (Green Label) สินค้าที่ได้รับการรับรองด้วยฉลากนี้เป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนถึงการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรอง

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

PASAYA Lifestyle

สินค้ากลุ่ม Lifestyle อาทิ เสื้อสูทเนื้อผ้า Upcycling ซึ่งเป็นการนำขวดพลาสติก PET มาถักทอเป็นเส้นใยเนื้อผ้า สูท 1 ตัวทำจากขวดพลาสติก 18 ขวด ช่วยลดปริมาณขวดพลาสติกใช้แล้วของโลก ระบายอากาศได้ดี สามารถซักเครื่องได้ และไม่ต้องรีด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา 

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

PASAYA Curtain Center

บริการออกแบบตัดเย็บติดตั้งผ้าม่านจาก PASAYA ทุกกระบวนการตั้งแต่เส้นด้ายจนถึงติดตั้ง ซึ่งมีนวัตกรรมผ้าม่านประหยัดพลังงาน ลดอุณหภูมิได้ 2-4 องศาเซลเซียส , ผ้าม่านปลอดสารพิษ  และ ผ้าม่านเส้นใยรีไซเคิล (Upcycling) โปรเจคการนำเส้นใยจากขวดน้ำพลาสติกมาทอผ้า โดยได้ Co-Project กับ PTT GC ผ้าม่านประเภท “Upcycling” จะทำจากขวดน้ำพลาสติก (ขวด PET ขนาด 600 ml.) โดยผ้าเส้นใย polyester 100 กรัม ใช้ขวดน้ำ 7.6 ขวด ช่วยลดขยะ ใช้วัสดุหมุนเวียน

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

PASAYA Fabrics

สินค้ากลุ่มผ้าตกแต่งบ้านได้แก่ ผ้าบุโซฟา หมอนอิง ผ้าม่าน(งานโครงการ) รวมไปถึงผ้าบุผนัง เป็นต้น ที่ได้รับมาตรฐานสินค้า ฉลากเขียว, Thailand Trust Mark

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”

 

PASAYA Biotech

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ในโรงงานสีเขียว ใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ 100% 

 

KODEE

แบรนด์ชุดออกกำลังกายคุณภาพระดับพรีเมี่ยมจากประเทศเกาหลี

 

Octospider

จากโรงอาหารสู่ ร้านอาหารไทยฟิวชั่นประจำจังหวัดราชบุรี กลายมาเป็นจุดดึงดูดและแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัด

 

ส่องอาณาจักร PASAYA สิ่งทอรักษ์โลก ที่ไม่ได้มีดีแค่ “นุ่ม ลื่น เย็น”