สภาธุรกิจเอเปคถกผู้นำดัน ESG เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส

สภาธุรกิจเอเปคถกผู้นำดัน ESG  เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส

เศรษฐกิจโลกเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ recession ซ้ำด้วยปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ภาคธุรกิจตระหนักแล้วว่าคือปัจจัยลบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความท้าทายต่างๆ เหล่านี้หากทำความเข้าใจและปรับมุมมองใหม่ ก็อาจเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจได้

มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค(ABAC) 2022 กล่าวว่า ผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการระบาดของโควิด-19 ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูง ความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทาน และความท้าทายใหม่ด้านแรงงาน รวมถึงแรงกดดันให้ธุรกิจเร่งดำเนินการในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

ABAC ได้ร่วมกับบริษัท PwC โกลบอล จัดทำรายงาน "ถึงเวลาของเอเชียแปซิฟิกการรับมือต่อโลกแห่งความเป็นจริงใหม่"

  (Asia Pacific’s Time: Responding to the new reality) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญสิ่งท้าทายรอบด้าน ขณะเดียวกันจะนำเสนอในโอกาสประชุมร่วมกับผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่จะมีขึ้น 19 พ.ย. 2565 โดยภาคธุรกิจคาดว่า ผู้นำจะตอบสนองและทำให้ข้อเรียกร้องของภาคธุรกิจมีผลในทางปฎิบัติ 

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจต้องแน่ใจว่าจากนี้ การพัฒนาจะต้องเดินไปในทิศทางใด เพราะช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดความท้าทายหลายด้าน สำหรับด้าน ESG เป็นเหมือนแรงกดดันซ้ำ ซึ่งในที่นี้ขอพูดถึง MSMEs (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises) หรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ที่คาดหวังว่าข้อเสนอภาคธุรกิจจะได้รับการนำไปสู่การปฎิบัติเพราะเรื่อง ESG ที่กระทบต่อ MSMEs นั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก MSMEs ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อนหลังเผชิญความท้าทายอย่างแสนสาหัส ขณะเดียวกัน เรื่อง ESG จะกลายเป็นเงื่อนไขทางการค้าหากไม่ดำเนินการก็ยิ่งเป็นอีกแรงกดดันให้รายย่อยได้รับผลกระทบในที่สุด 

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจต้องแน่ใจว่าจากนี้ การพัฒนาจะต้องเดินไปในทิศทางใด เพราะช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดความท้าทายหลายด้าน สำหรับด้าน ESG เป็นเหมือนแรงกดดันซ้ำ ซึ่งในที่นี้ขอพูดถึง MSMEs (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises) หรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ที่คาดหวังว่าข้อเสนอภาคธุรกิจจะได้รับการนำไปสู่การปฎิบัติเพราะเรื่อง ESG ที่กระทบต่อ MSMEs นั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก MSMEs ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อนหลังเผชิญความท้าทายอย่างแสนสาหัส ขณะเดียวกัน เรื่อง ESG จะกลายเป็นเงื่อนไขทางการค้าหากไม่ดำเนินการก็ยิ่งเป็นอีกแรงกดดันให้รายย่อยได้รับผลกระทบในที่สุด 

“เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ด้วยธุรกิจขนาดกลางและย่อย การไม่ช่วยรายย่อยก็เท่ากับว่าเศรษฐกิจโดยรวมไม่ขับเคลื่อน แต่ตอนนี้อีกความท้าทายโลกคือเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม ไปบอกรายย่อยตอนนี้ ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะธุรกิจต้องเอาตัวรอดก่อน”

ดังนั้น ควรมีโรดแมปให้เดินไปทีละขั้นตอน ไม่ใช่การเร่งให้กระโดดข้ามเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในครั้งเดียว โดยต้องเริ่มจากให้ธุรกิจอยู่รอดได้จริง เช่น การให้ Supply chain finance(SCF) คือเดิมการให้สินเชื่อจะประเมินที่ตัวสินทรัพย์เป็นหลัก แต่การช่วยเหลือใหม่ควรมองคำสั่งซื้อ หรือ พันธมิตรทางการค้าของรายย่อย โดยมองที่ความสามารถการใช้หนี้ แทนสินทรัพย์ที่จะมาทดแทนหนี้ รูปแบบนี้จะทำให้รายย่อยเข้าถึงเเหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ เพราะได้แก้ปัญหาทางธุรกิจจนเกิด prosperityแล้ว 

จากนั้น ก็เริ่มเข้าสู่การปรับธุรกิจให้มี ความยั่งยืน (sustainability) ซึ่งเป็นหลักการธุรกิจอยู่แล้วทุกธุรกิจต้องการความยั่งยืน แต่ต้องตีความว่าความยั่งยืนนี้ ต้องคำนึงถึง ผู้คน หรือ Socialและสิ่งแวดล้อม Planet ด้วย 

สภาธุรกิจเอเปคถกผู้นำดัน ESG  เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส

มนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอาจเป็นทางแยกที่จะต้องเลือกระหว่าง Deglobalization ซึ่งเป็นแนวคิดย้อนศรกับ Globalization  ซึ่งมองว่า ข้อตกลงการค้าเสรีเป็นทางออกของการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะแม้แต่ภาคธุรกิจหากเน้น Localization ก็จะทำให้ต้นทุนธุรกิจด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น ตลาดก็แคบลง จึงอยากให้ผู้นำเอเปค ร่วมกันผลักดันการค้าเสรีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (FTA-AP)ซึ่งอาจเป็นใน รูปแบบ 21 minus (21 เศรษฐกิจลบ) หรือ การทำการค้าเสรีสำหรับกลุ่มที่มีความพร้อม 

อีกปัจจัยลบของการทำธุรกิจ ยังมีเรื่องของมาตรฐานข้อมูล หรือ data standards ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากที่ผ่านมาการทำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญปัญหาไร้มาตรฐานข้อมูล เช่น ความปลอดภัยกรณีส่งข้อมูลข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ภาครัฐมาแล้ว 3 ปีก่อน 

ศรีดารัน ไนร์ รองประธาน PwC ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า สาระสำคัญรายงานดังกล่าว ประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจ 5 ด้านได้แก่ ห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งพบว่ามีการพลิกโฉมห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค การเติบโตขององค์กรระดับภูมิภาค ที่จะมีการสร้างความแตกต่างในการแข่งขันอย่างรวดเร็วและเด่นชัด  

เศรษฐกิจดิจิทัล : ที่มีการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ดิจิทัล ด้านแรงงานก็พบว่ามีการ ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาทักษะที่ต้องเปิดรับความยืดหยุ่นได้มากขึ้น  ส่วนด้าน ESG พบความพยายามที่จะเร่งให้เกิดผลในทางปฎิบัติมากกว่าแต่การสร้างการตระหนักรับรู้เท่านั้น  

“ในการสำรวจ Annual Global CEO ครั้งที่ 25 ของ PwC เอเชียแปซิฟิก เผยว่า 60-69% ของซีอีโอในภูมิภาคมีการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งทั่วโลกที่ 9-13%”

แม้ประเด็นความท้าทายจะมีอยู่รอบด้านและหลากหลายแต่การปรับมุมมองต่อปัญหาต่าง และทำให้เป็นโอกาสทางใหม่ทางธุรกิจก็เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน