“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์

จากพฤติกรรม การใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศโลกทำให้เกิดภาวะโลกรวน ซึ่งกำลังส่งผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จนกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนในขณะนี้

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

 

4 ภารกิจเครือซีพีพัฒนาสู่ความยั่งยืน

หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้กำหนดแนวทางจัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในกลุ่มภาคธุรกิจ ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว “บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ เครือซีพี” หนึ่งในสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทุกมิติ

โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ลงมือทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งไม่เพียงฟื้นคืนผืนป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทางของทรัพยากรและแหล่งเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังดูแลเกษตรกรและพัฒนาชุมชนควบคู่ไปด้วย

ซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือซีพี ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้านหลัก คือ Heart: Living Right, Health: Living Well และ Home: Living Together เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"เครือซีพี" ประกาศปี 2030 ลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตั้งเป้าช่วยโลก

ซีพีแรม สานต่อ "ร้อย รักษ์ โลก" เดินหน้า "ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน"

"ซีพี" เสนอ 5 สูตรสำเร็จ ดันแผน Net Zero หนุนธุรกิจยั่งยืน

มองรอบด้าน "ปัญหาสิ่งแวดล้อม" ที่ทั่วโลกและไทยต้องเผชิญ

 

โดยมีประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 15 ประเด็น เช่น การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ (Education and Inequality Reduction), คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม (Social Impact and Economic Contribution), ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement), การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience), ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ecosystem and Biodiversity Protection) เป็นต้น

“จอมกิตติ ศิริกุล” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและ กิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เล่าว่าเครือซีพี โดยหน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ จะมีภารกิจสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

1.ฟื้นฟู รักษา เพิ่มพื้นที่ป่า 4 ต้นน้ำ ได้แก่ ต้นน้ำปิง วัง ยม และน่าน

2.พัฒนาชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ 

3.ยกระดับสู่ธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise 

4. สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ 

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

“ทุกโครงการมีเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับ SDGs ของสหประชาชาติและยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของเครือฯ ในปัจจุบันมีโครงการหลักภายใต้ความรับผิดชอบกว่า 30 โครงการ ทั้งในเขตปฏิบัติการด้านความยั่งยืน 4 ต้นน้ำทางภาคเหนือ ภาคอีสาน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ขอนแก่น  จ.อุดรธานี และ จ.กาฬสินธุ์ ตลอดจนสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์  ที่มุ่งพัฒนาและยกระดับชุมชนให้มีความมั่นคงทางอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีใน 15 อำเภอของจังหวัดน่าน”จอมกิตติ กล่าว

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

 

 

สร้างชุมชนยั่งยืน คืนป่าคืนชีวิต

สำหรับโครงการที่เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืนในการสร้างงานสร้างอาชีพ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ ต้นน้ำปิง: พื้นที่ จ.เชียงใหม่ อย่าง โครงการศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ,โครงการเกษตรยั่งยืนแม่วากโมเดล ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนากิจการเพื่อสังคมแม่แจ่ม และโครงการแสนกล้าดี และโครงการแม่แจ่มเมืองไผ่ไม้มีค่า

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

ส่วน ต้นน้ำวัง: พื้นที่ จ.ลำปาง  โครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านเลาสู หมู่ 8 ตำบลปงดอน ขณะที่ต้นน้ำยม: พื้นที่ จ.พะเยา โครงการ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ บ้านดอนไชยป่าแขม อ.ปง จ.พะเยา และต้นน้ำน่าน: พื้นที่ จ.น่าน โครงการ สบขุ่นโมเดล และ น้ำพางโมเดล

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

“จอมกิตติ” เล่าต่อว่าแต่ละโครงการจะมีเป้าหมาย และแนวทางในการช่วยเหลือแตกต่างกันออกไปตามบริบทและปัญหาของแต่ละพื้นที่ อย่าง กาแฟคืนป่าคืนชีวิต สบขุ่นโมเดล บ้านสบขุ่น ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ลงพื้นที่บ้านสบขุ่นเมื่อ 2 ส.ค. 2558 โดยได้รับคำแนะนำจากมูลนิธิปิดทองหลังพระ เข้าไปศึกษาพื้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งสุดเขตจังหวัดน่าน ห่างไกลจากตัวเมืองประมาณ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ถือครองทำกิน 42,895 ไร่

ในขณะนั้นคุณศุภชัยบอกทีมงานทุกคน ถ้าพื้นที่ยิ่งยาก ยิ่งต้องทำให้สำเร็จ เพราะถ้าสำเร็จแล้วจะสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ได้อีก” จอมกิตติ กล่าว

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

แก้ปัญหาพื้นที่ พลิกฟื้นธรรมชาติ

จากการเก็บข้อมูลปี พ.ศ. 2558 เครือซีพี พบโอกาสในการปรับเปลี่ยนอาชีพของชาวบ้านสบขุ่น จากปัญหาที่พบ คือ ปัญหาหน้าดินเสื่อม/ ดินจืด ผลผลิตน้อยลง ส่งผลให้ชาวบ้านต้องจ่ายเงินลงทุนมากขึ้น เป็นค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิต จึงทำให้รายได้ลดลง ประกอบกับสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง บางปีนํ้าท่วม นํ้าป่าหลาก บางปีแล้ง อีกทั้งชาวบ้านยังตรวจพบค่าสารพิษในร่างกายถึง 90%

ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านบางรายจึงเริ่มปรับเปลี่ยนอาชีพของตนเอง และหากมีการนำร่องเกษตรผสมผสาน ที่ให้ผลผลิต/ มีรายได้ในทุกระยะ ก็สนใจจะเข้าร่วมโครงการ

เครือซีพี ได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าพืชเศรษฐกิจที่จะสามารถสร้างป่า สร้างรายได้ คือ กาแฟ ซึ่งให้ผลผลิตตอบแทนที่ดีกว่าข้าวโพดถึง 7 เท่า เปรียบเทียบจากพื้นที่โดยประมาณ 40,000 ไร่ ที่ชาวบ้านถือครอง ถ้าใช้พื้นที่การสร้างป่าสร้างรายได้ 6,000 ไร่ ป่าจะกลับมาฟื้นฟู หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าละเหล่า คือปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก36,000 ไร่

นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการในปี 2558 สู่ปัจจุบันในปี 2565 สบขุ่นโมเดล สามารถส่งเสริมเกษตรกรได้ 97 ครัวเรือน สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 707,863 บาท และคืนผืนป่าได้ 2,100 ไร่  เครือฯ ร่วมสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้บ้านสบขุ่น โดยจัดตั้ง โรงแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของกาแฟตลอด Supply Chain มีการรับซื้อกาแฟเชอร์รี่จากเกษตรกรในโครงการ เพื่อแปรรูปเมล็ดกาแฟคั่วคุณภาพจำหน่ายในร้านกาแฟ 3 แห่ง ได้แก่ 1.ร้านกาแฟบ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จ.น่าน 2.ร้านกาแฟบ้านสบขุ่น สาขา สำนักงานด้านความยังยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ 3.True Coffee (ทรูคอฟฟี่) Flagship Store เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ ตลอดจนขยายสู่สาขาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

 

นอกจากเรื่องสร้างงานสร้างอาชีพแล้ว เครือฯ ให้ความสำคัญกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change จากความมุ่งมั่นตั้งใจของชุมชนบ้านสบขุ่นจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์  ส่งผลให้  “โครงการสบขุ่นโมเดล กาแฟสร้างป่า กักเก็บคาร์บอน” ได้รับประกาศเกียรติคุณจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 5,059.534 tCO2eq

ยกระดับเกษตรกร กักเก็บคาร์บอน

เช่นเดียวกับ โครงการศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ทางเครือซีพี ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนมุ่งสู่การเป็นหมู่บ้านฟื้นฟูป่า 100% ผ่านการปรับเปลี่ยนอาชีพ จากปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่พืชผสมผสาน เช่น กาแฟ กล้วย พลับ อะโวคาโด และแมคคาเดเมีย เป็นต้น มีการนำรูปแบบการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา จากโครงการสบขุ่นโมเดล จ.น่าน มาประยุกต์เข้ากับสภาพภูมิประเทศของบ้านกองกาย นำไปสู่การฟื้นฟูป่า ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย

“ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 40 ราย ได้รับการส่งเสริมอาชีพให้ปลูกพืชทางเลือก 133 ไร่ พื้นที่ป่าได้รับการปกป้องและฟื้นฟูเพิ่มขึ้น เป็น 7,191 ไร่ จาก 6,150 ไร่ ภูเขาหัวโล้นลดลง จาก  3,698 ไร่ เป็น 2,514 ไร่ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสะสมที่เกษตรกรได้รับ รวม 322,638 บาท และยังมีโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Less) เป็นแห่งแรกของอำเภอแม่แจ่ม กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณ 2,687.347 tCO2eq รวมถึงสร้างกลไกกลางพัฒนาการตลาดกาแฟแม่แจ่มผ่านการบริหารจัดการ”จอมกิตติ กล่าว

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

ส่วนในพื้นที่จ.ลำปาง จะพลิกฟื้นกาแฟเลาสู ผู้พิทักษ์ต้นน้ำวัง กาแฟรักษ์ป่า เพื่อยกระดับสู่ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100% ด้าน จ.พะเยา ช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร โดยเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตร รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มอาชีพทางเลือกและรายได้ให้กับเกษตรกร

ด้วยแนวคิด 5 ลด 1 เพิ่ม คือ ลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี ลดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ลดปัญหาขยะชุมชน ลดปัญหาหมอกควันพิษจากการเผา และเพิ่มมูลค่าพัฒนาสินค้าแบรนด์ “ฮักษ์น้ำยม”  โดยปัจจุบันโครงการสามารถดูแลรักษาไม้ป่าเดิมในพื้นที่ได้กว่า 95,400 ต้น และเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาพื้นที่ เป็นต้น

ชุมชนตระหนักร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

“จอมกิตติ” กล่าวอีกว่าเป้าหมายในการดำเนินโครงการต่างๆ นั้น  อยากเห็นชุมชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม รู้ว่านี่คือปัญหา และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตนเองอย่างจริงจัง โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ ตอบสนองต่อการจัดการกับปัญหานั้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต

“เครือซีพี” คืนป่าคืนชีวิต ปกป้องธรรมชาติ ดูแลเกษตรกร พัฒนาชุมชน

“ในแต่ละโครงการที่ดำเนินการ จะมุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษ การเผาป่าในพื้นที่เกษตรกร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน รวมถึงสร้างองค์ความรู้ เห็นความสำคัญของป่าไม้ เพิ่มโอกาสของการปรับเปลี่ยนอาชีพจากพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นพืชเศรษฐกิจ ก่อเกิดการสร้างงานสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม จำนวนต้นไม้ปลูกปี 2559 – 2565 จำนวน 0.8 ล้านต้น  พื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟูปี 2559- 2565 รวมกว่า7,000 ไร่ และมูลค่าทางเศรษฐกิจเกิดกับเกษตรกรโดยตรงในพื้นที่ต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน รวมกว่า 9 ล้านบาท” จอมกิตติ กล่าว

ตั้งเป้า 10 ปี ดำเนินธุรกิจสมดุลอย่างยั่งยืน

“จอมกิตติ” กล่าวทิ้งท้ายว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีการทำธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จึงต้องมุ่งบริหารจัดการธุรกิจให้มีความสมดุลอย่างยั่งยืน จนได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยในปีที่ผ่านมาเครือซีพีได้รับคัดเลือกติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UN Global Compact ระดับ LEAD 

“ในอีก 10 ปี ข้างหน้า เครือซีพี ตั้งเป้าหมายจะนำพาองค์กรเข้าไปอยู่ในกลุ่มบริษัทด้านความยั่งยืนของโลก ใน 20 อันดับแรก จึงได้เร่งเดินหน้าวางเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี ค.ศ.2030 รวมทั้งสิ้น 15 เป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่จะร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน โดยมีนโยบายให้กลุ่มธุรกิจของเครือฯ ทั่วโลกลงมือทำอย่างเร่งด่วนในการนำพาองค์กรสู่ Carbon Neutral ภายในปี ค.ศ.2030 และการบรรลุเป้าหมาย Zero Carbon และ Zero Waste ภายใน ปี ค.ศ.2050 ต่อไป” จอมกิตติ กล่าว