โรดแมป “ไฮโดรเจน อีโคโนมี” ต่อยอดอุตสาหกรรมสีเขียว

โรดแมป “ไฮโดรเจน อีโคโนมี” ต่อยอดอุตสาหกรรมสีเขียว

“พลังงาน” เปิดโรดแมป “ไฮโดรเจน อีโคโนมี” หวังต่อยอดอุตสาหกรรมสีเขียวในภาคการผลิตไฟฟ้า ระบุ ฟอสซิลจะค่อย ๆ หายไป และไฮโดรเจน-ซีซียูเอส จะเข้ามาแทนที่

ด้วยทั่วโลกต่างมุ่งเป้าและประกาศนโยบายลดโลกร้อน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานถือเป็นกลุ่มที่ปล่อยคาร์บอนอันดับสูงสุด ซึ่งปัจจัยหลักของอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนคือพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นการแสวงหาเทคโนโลยีภาคพลังงานไฟฟ้าที่เป็นสีเขียวจึงสำคัญ

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์พลังงานในอนาคต สัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลจะลดลงจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของพลังงานทดแทน โดยสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์และวินจะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2000 เป็น 45-70% ในปี 2050

ทั้งนี้ พลังงานจากไฮโดรเจน จะเริ่มเข้ามามีประโยชน์บทบาทในอนาคต ขณะที่ตลาดเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ก็จะเริ่มมีบทบาทและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มพลังงานในอนาคตแบ่งเป็น 1. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานขนาดใหญ่ในรูปแบบเดิมต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น 

2. แนวโน้ม Electrification โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพิ่มขึ้นอย่างมากจะทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 3. พลังงานหมุนเวียนจากโซล่าและลม จะเป็นเชื้อเพลิงที่มีสัดส่วนสูงมากการผลิตไฟฟ้าและมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับ

และ 4. เทคโนโลยีไฮโดรเจน และCCUS  เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต

สำหรับนโยบายการใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจนในภาคพลังงานประกอบเป็นด้วย 

1. ภาคพลังงานไฟฟ้า ด้วยการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือนำไปผสมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยี Fuel Cell 

2. ภาคขนส่ง โดยไฮโดรเจนถูกใช้ในการสังเคราะห์และปรับปรุงน้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันไบโอดีเซล โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยผ่านเครื่องยนต์ ICE หรือ Fuel Cell ผลิตไฟฟ้าไปขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าในรถยนต์

3. ภารพลังงานความร้อน (เช่นเดียวกับภาคพลังงานไฟฟ้า) โดยจะใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือนำไปผสมกับก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันเตา

สำหรับทิศทางนโยบายการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ประกอบด้วย 

- ไฮโดรเจนสีเทา ระยะสั้น (2021-2030) กระบวนการเปลี่ยนรูปด้วยไอน้ำ วิจัยพัฒนา/นำร่องเทคโนโลยี

-ไฮโดรเจนสีฟ้า ระยะกลาง (2031-2040) กรับวนการเแลี่ยนรูปด้วยไอน้ำ เริ่มใช้งานไฮโดรเจนในภาคการผลิตไฟฟ้า/ความร้อน 

-ไฮโดรเจนสีฟ้า ระยะยาว (2041-2050) กระบวนการเปลี่ยนรูปด้วยๅอน้ำ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการผลิต/ใช้งานไฮโดรเจน

-ไฮโดรเจนสีเขียว 2051 กระบวนดารอยกน้ำด้วยไฟฟ้า

สำหรับประโยชน์จากการปรับแผนพลังงานสู่ Low Carbon Economy คือ 1. สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ 2. เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย รองรับรูปแบบการค้ากลไกผ่านภาษีคาร์บอน 3. เพิ่มการลงทุนและการจ้างงาน ในระบบเศรษฐกิจประเทศจากการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาด 4. บรรเทาปัญหามลพิษ PM 2.5 และ 5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวว่า จากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ประเทศฝั่งยุโรปมีโอกาสที่จะใช้ไฮโดรเจนมาทดแทนโรงไฟฟ้าหรือมาทดแทนโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก อาทิ โรงเหล็ก หรือระบบท่าเรือใหญ่ ๆ เนื่องจากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติแพง แม้ว่าไฮโดรเจนจะยังมีต้นทุนที่สูง แต่ต้องอย่าลืมว่าก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ปริมาณสูงสุดก็มีมีประเด็นสำรองจำนวนมาก

ดังนั้น ไฮโดรเจนเหมาะสำหรับโรงไฟฟ้าหรือโรงงานขนาดใหญ่ โดยสิ่งที่ ปตท.จับมือกับ BIG บริษัทในกลุ่มปตท. อย่าง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และ Toyota คือ การผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างน้อยยอดของยานยนต์ที่เป็นฟิวเจอร์ที่เป็นไฟฟ้า เพื่อให้เห็นว่าเรื่องที่เหมือนจะเป็นไม่ได้และเป็นเรื่องที่น่ากลัวจะสามารถเป็นเรื่องที่ประโยชน์ต่อประเทศได้

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก อินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ BIG กล่าว บริษัทใหญ่ในต่างประเทศต่างมุ่งสู่กรีน ไฮโดรเจน รวมถึงบริษัทแม่ของ BIG ด้วยเช่นกันที่ได้กำหนดเป้าหมายการเข้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050 และได้ลงทุนไปแล้ว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี ดังนั้น เมื่อรู้ว่าไฮโดรเจนได้ผลดีกับทุกภาคส่วน จะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วย

ทั้งนี้ ประเทศไทยหากจะผลักดันองค์กรไปข้างหน้าทั้งกลยุทธ์เป้าหมายสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือทำยังไงให้สินค้าผลิตภัณฑ์ช่วยลดคาร์บอน สิ่งสำคัญอีกสิ่งคือ กระบวนการผลิตที่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนด้วย โดยขณะนี้ ปัจจุบันคนมักจะไม่พูดถึงไฮดดรเจนเฉย ๆ แล้ว แต่จะพูดไปถึง “ไฮโดรเจน อีโคโนมี” ที่เข้ามากระทบกับทุกภาคส่วนของเศรษฐศาสตร์ และได้พูดถึงอย่างกว้างขวาง

“ไฮโดรเจนมีถึง 75% ในจักรวาล แต่จะไม่กระจายอยู่ทั่วไปและจะอยู่แค่  2 ที่ คือ ถ้าไม่ไปแต่งงานกับคาร์บอนก็ไปแต่งงานกับออกซิเจน ซึ่งในอดีตการเอามาใช้ประโยชน์ไม่ง่าย เพราะแยกยาก แต่ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถแยกได้ จากที่เทคโนโลยี Advance ขึ้น สามารถนำไฮโดรเจนมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก และเป็นต้น” 

อย่างไรก็ตาม BIG มีแผนร่วมกับ ปตท. โดยจะนำไฮโดรเจนมาใช้ในอุตสาหกรรม Mobility ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย พร้อมกับมีแผนที่จะพัฒนาการใช้งานกับอีกหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา BIG ยังได้ร่วมกับ ปตท. นำเอาพลังงานเย็นจาก LNG มาทดแทนพลังงานไฟฟ้าโดยแยกก๊าซสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 30% อีกทั้ง อุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในการเผาไหม้เยอะ บริษัทฯ ได้นำเอาแอพพลิเคชั่นเข้ามาใช้ในเรื่องของออกซิเจนผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือไฮโดรเจน