จัดการเสี่ยง Climate Change ด้วยการ“ประกันภัย”

จัดการเสี่ยง Climate Change  ด้วยการ“ประกันภัย”

จากความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น กำลังเปลี่ยนแปลงตลาดประกันภัยต่อ ต้นทุนการประกันภัยต่อที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนของบริษัทประกันหลักเพิ่มขึ้น และผู้ซื้อการคุ้มครองในที่สุด

S&P Global Ratings เผยแพร่รายงานที่ชี้ถึงคาดการณ์ว่าผู้กำหนดนโยบายในเอเชียแปซิฟิกจะร่วมมือกับบริษัทประกันภัยต่อมากขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการจ่ายและการป้องกันที่จำเป็น ตลอดจนกระจายการรับรู้ถึงความเสี่ยง รูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมคือการประกันภัยพิบัติและกลุ่มประกันภัยต่อ

เหวินเหวิน เฉิน นักวิเคราะห์สินเชื่อของ S&P Global Ratings กล่าวว่า ความต้องการประกันภัยต่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มากขึ้นและแนวโน้มการเติบโตด้านการประกันภัยทางการเกษตร

สอดคล้องกับรัฐบาลไทยที่ได้ดำเนินการโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เช่น การประกันภัยข้าวนาปี และการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นหลักประกันให้เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยเข้ามาบริหารจัดการความเสี่ยง และมีได้มอบนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ 3 เรื่อง 

1. การประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เขื่อนชลประทาน ถนน สนามบิน ท่าเรือ และการประกันภัยทรัพย์สินของทางราชการ การประกันภัยรถยนต์ของราชการ 

2. การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ Climate Change ควรนำระบบประกันภัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาช่วยอุตสาหกรรมในการบริหารความเสี่ยงและการใช้ระบบประกันภัยมาช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงโรคระบาดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และ 3. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประกอบธุรกิจ ดิจิทัลเทคโนโลยีจะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจ การนำเทคโนโลยีมาใช้ดำเนินการธุรกิจ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน

     ระบบประกันภัยก็จะต้องเร่งสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้บริการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Application เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วย จะทำให้ลดต้นทุนการเดินทางการมาติดต่อราชการ และอีกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องในสถานการณ์โควิด คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ Aging Society ประชาชนก็จะตระหนักเรื่องดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลคือการนำเทคโนโลยีเครื่องมือ Automation ต่าง ๆ เข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็น Technology Digital , Artificial Intelligence (AI) , Internet of Things (IoT)

โดยมี“ประกันภัยข้าวนาปี 2565” วงเงิน 1,925.07 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย และเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐในการรองรับต้นทุนการเพาะปลูกข้าวให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ 

ขณะที่ “ประกันภัยข้าวนาปี 2565” รัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 สัดส่วน 60% และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 สัดส่วน 40%  แบ่งการรับประกันภัยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจของเกษตรกร (Tier 2) โดยวางเป้าหมายพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 28 ล้านไร่

ธุรกิจประกันภัยเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญอย่างหนึ่ง เรื่องของจำนวนประชากรที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ระบบประกันชีวิตจะมีการเติบโต ส่งผลให้ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันภัยจะเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญในตลาดทุน การใช้มาตรการในการกำกับและส่งเสริมสิทธิประโยชน์กับประชาชน การสร้างแรงจูงใจ การสร้างธุรกิจ ได้มากขึ้น