การค้าระดับโลกเปลี่ยนรับปัญหาโลกร้อน

การค้าระดับโลกเปลี่ยนรับปัญหาโลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ทำให้การค้าการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยสหภาพยุโรป (อียู) เป็นกลุ่มประเทศแรกที่จะจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสินค้านำเข้า

(carbon border adjustment mechanism) หรือ CBAM นายพิชญุตม์ ฤกษ์ศุภสมพล เศรษฐกรอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าประเทศต่างๆที่ต้องการส่งสินค้านำเข้าหรือส่งออก ต้องปรับตัว เนื่องจาก CBAM นั้นบังคับใช้กับประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่ส่งออกสินค้าไปยังอียูด้วย ดังนั้นหากผู้ผลิตไทยสามารถผลิตสินค้าโดยปล่อยก๊าซฯ ได้ต่ำกว่าคู่แข่งก็จะมีโอกาสในการแข่งขันสูงที่ขึ้น หรือต่ำลงหากปล่อยก๊าซฯ สูงกว่า ในระยะต่อไป ศักยภาพในการควบคุมการปล่อยก๊าซฯ จะกลายเป็นอีกปัจจัยกำหนดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอียูโดยเริ่มจาก 5 กลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซฯ สูงในกระบวนการผลิตได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม และกระแสไฟฟ้า โดยกำหนดให้ปี 2023 – 2025 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าในอียูบันทึกและแจ้งปริมาณก๊าซคาร์บอน จากการผลิตสินค้านำเข้า ก่อนที่จะเก็บภาษีอย่างเป็นทางการในปี 2026 ตามปริมาณการปล่อยก๊าซฯ จากการผลิต โดยอ้างอิงราคาจากตลาด ETS

ข้อมูลจากกรมศุลกากร ระบุบว่าผลกระทบต่อการส่งออกไทย อยู่ที่ 4.3% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปอียู หรือ 0.35% ของการส่งออกของไทย เป็นสินค้าที่เข้าข่าย CBAM ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นเมื่อขายในอียู และมีความเสี่ยงที่ปริมาณการส่งออกจะปรับลดลง

ขณะที่บริษัทชั้นนำระดับโลก มีนโยบายของบริษัทเองว่าด้วยเรื่องของพลังงานทดแทนแต่ ในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น การใช้แผงโซล่าบนหลังคาของของสำนักงาน จะทำให้บริษัทมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็ยึดหลักของ ESG :Environment, Social, Governance ได้ อย่างภาษีคาร์บอน

 ซึ่งในปัจจุบันโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในรายงานความยั่งยืนซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทต่างๆ เริ่มอยากลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอน

ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วยกลไกตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market) ซึ่งโรงงานที่ปล่อยคาร์บอนส่วนเกินต้องซื้อคาร์บอนเคดิตจากโรงงานที่ขายคาร์บอนเครดิต ขณะที่กลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)โรงงานที่ปล่อยคาร์บอนส่วนเกินต้องชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดหรือดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกของไทยในปัจจุบัน

ผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาค สมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ที- เวอร์ โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นข้อเสนอโครงการและขอขึ้นทะเบียน คาร์บอนเครดิต กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน ) หรือ อบก. ต้องผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ และการทวนสอบจากผู้ ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB) แต่ยังไม่สามารถนำไปขายในระดับต่างประเทศได้

การค้าระดับโลกเปลี่ยนรับปัญหาโลกร้อน

ยกระดับเครดิต T-VERs ให้เทียบเท่าสากล และสอดคล้องหรือเป็นที่ยอมรับในโครงการลดก๊าซเรือน กระจกของนานาชาติ

สำหรับแนวโน้มในอนาคตความตื่นตัวของภาคเอกชนจะเป็นแรงผลักดัน สำคัญที่ทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทย เติบโต หลังจากผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย เริ่มประกาศเป้าหมาย Net zero emission อย่างชัดเจน อบก. ได้จัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศ ไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) ขณะที่ กลุ่มบางจากฯ ร่วมกับ พันธมิตร ก่อตั้ง Carbon Markets Club (CMC) กระตุ้นให้การซื้อขายเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางระดับโลก ที่ McKinsey คาดว่าในปี 2030 ความการซื้อขายคาร์บอนภาค สมัครใจจะเติบโตมากถึง 15 เท่าจากปี 2020 และเติบโต มากถึง 100 เท่า ในปี 2050