แอปฯ AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก ITU และ UN

แอปฯ AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก ITU และ UN

AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก พาแอปพลิเคชัน AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจากเวที WSIS Prizes 2024 จัดโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์การสหประชาชาติ (UN)

AIS ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันใน 3 ด้าน ทั้งการขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้ทุกคนในสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมที่นอกเหนือจากการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการนำพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการโครงข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว

วันนี้ AIS ยังสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ผ่านโครงการ "คนไทยไร้ E-Waste" ที่ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์กว่า 200 องค์กร สู่การเป็นศูนย์กลางการกำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Hub of E-Waste นอกจากนี้ AIS ยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) มายกระดับกระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ บนแพลตฟอร์ม AIS E-Waste+ ทำให้ขยะ E-Waste ทุกชิ้นที่ถูกทิ้งผ่าน AIS E-Waste+ สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงการกำจัดและรีไซเคิลแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero E-Waste to Landfill จนได้รับการยอมรับในเวทีระดับโลกเป็นองค์กรไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศในสาขาสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (WSIS Action Lines C7 E-Environment) จาก WSIS Prizes 2024 จัดโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN)

แอปฯ AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก ITU และ UN

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU และองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ที่ได้มอบรางวัล Winner of WSIS Prizes 2024 สาขาสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (WSIS Action Lines C7 E-Environment) ให้แก่ "โครงการคนไทยไร้ E-Waste" ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะด้วย AIS E-Waste+ แพลตฟอร์มที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ AIS ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ดังนั้นเราขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ใช้แอปพลิเคชัน E-Waste+ เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีที่ AIS ตั้งใจออกแบบ เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนให้กับทุกคน

แอปฯ AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก ITU และ UN

สำหรับเวที WSIS Prizes เป็นรางวัลระดับโลก จัดตั้งขึ้นโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการสนับสนุนให้องค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs โดยในปีนี้มีองค์กรต่างๆ ทั่วโลกส่งโครงการเข้าร่วมการคัดเลือกและพิจารณาตัดสินกว่า 2,000 โครงการ และ AIS เป็นองค์กรไทยหนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขาสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (WSIS Action Lines C7 E-Environment) จากโครงการ "คนไทยไร้ E-Waste" ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะด้วย AIS E-Waste+ ถือเป็นอีกครั้งที่เอไอเอสได้รับรางวัลระดับสูงสุดจากเวที WSIS Prizes

แอปฯ AIS E-Waste+ คว้ารางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก ITU และ UN

แพลตฟอร์ม AIS E-Waste+ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมายที่ 17 การยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้นั้น สามารถช่วยทำให้กระบวนการในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ ทั้งฟังก์ชันในการติดตามสถานะของขยะทุกชิ้น หรือแม้แต่การคำนวณออกมาเป็น Carbon Score หรือปริมาณการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายหลังจาก E-Waste ถูกกำจัดและรีไซเคิลแบบ Zero E-Waste to Landfill ได้แบบ Real Time และที่สำคัญคือ AIS ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์กว่า 200 องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ HUB of E-Waste หรือศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย จึงส่งผลให้ AIS E-Waste+ คว้ารางวัล Winner of WSIS Prizes 2024 ในสาขาสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (WSIS Action Lines C7 E-Environment) ได้สำเร็จ