Terrascope ปลุกธุรกิจสร้าง Net Zero Goal เปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว

Terrascope ปลุกธุรกิจสร้าง Net Zero Goal เปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว

Terrascope หนุนธุรกิจลดคาร์บอนไดออกไซด์แบบครบวงจร พร้อมช่วยแก้ปัญหาการจัดการข้อมูลและวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว

Terrascope ผู้นำนวัตกรรมแพลตฟอร์ม SaaS (Software as a Service) เดินหน้าหนุนธุรกิจสร้าง Net Zero Goal ปัจจุบันทำงานร่วมกับพันธมิตร ซึ่งเป็นลูกค้าในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น เกษตรกรรม อาหาร และเครื่องดื่ม สินค้าบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค รวมถึงอุตสาหกรรม เช่น การผลิต เทคโนโลยี การขนส่ง และอสังหาริมทรัพย์ โดย Terrascope ถือเป็นผู้เล่นเชิงนวัตกรรมรายใหญ่ ที่สนับสนุนองค์กรต่างๆ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ โลกสีเขียว

Filipe Daguila Chief Customer Officer บริษัท Terrascope กล่าวว่า Terrascope เป็นโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยทำให้กระบวนการในการคำนวณและบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกในระดับองค์กร มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ โดยการทำงานของ Terrascope จะเริ่มตั้งแต่การช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจว่ากิจกรรมใดบ้างที่มีส่วนในการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กร กิจกรรมใดบ้างที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสูง และควรเข้าไปให้ความสำคัญบริหารจัดการเพื่อลดปัญหาดังกล่าว

"เราช่วยให้องค์กรรู้ว่า ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ควรให้ความสำคัญในส่วนใด เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการเพื่อ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้จริง"

Terrascope ปลุกธุรกิจสร้าง Net Zero Goal เปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว

หนุนธุรกิจสร้าง Net Zero Goal

Filipe กล่าวต่อไปว่า เครื่องมือของ Terrascope สามารถทำงานได้กับทุกประเภทอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่บริษัทฯ ทำงานด้วยในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มอาหารและผลิตผลทางการเกษตร กลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ขณะที่โอกาสทางธุรกิจเพื่อ ความยั่งยืน เรามองว่าเป็นโอกาสสำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อหลักๆ ดังนี้

  • Rules/Regulations ทั้งในระดับภายในประเทศและระดับโลก ที่เริ่มเข้ามามีผลบังคับใช้ ทำให้องค์กรต้องเริ่มให้ความสำคัญการจัดตั้ง Net Zero Goal และดำเนินการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่เช่นนั้นอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้
  • ความกดดันจากทั้งในภาคการลงทุน ผ่านกลุ่มทุน และผู้บริโภค เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างลูกค้าระดับโลกรายหนึ่งในทวีปอเมริกา ที่ถูกตั้งคำถามจากซัพพลายเออร์ (Supplier) และลูกค้า ถึงวิธีบริหารจัดการ เพื่อ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ คำถามลงลึกถึงระดับที่ว่า ให้แจกแจงในแต่ละชิ้นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาสู่ผู้บริโภคมีจำนวนปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นเท่าไรบ้าง เมื่อผู้บริโภคให้ความสนใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่าไร สินค้าที่ผลิตออกมาได้ หากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศน้อยกว่า ก็ย่อมจะได้ความสนใจมากกว่า
  • โอกาสการสร้างมูลค่าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม Terrascope มองว่า องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจได้ โดยการให้ผู้บริโภคได้เลือกระหว่าง สินค้าปกติในราคาตลาด หรือสินค้าพรีเมียมที่กระบวนการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ซึ่งมีราคาสูงขึ้นเล็กน้อย 

Terrascope ปลุกธุรกิจสร้าง Net Zero Goal เปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว

Filipe อธิบายต่อว่า เส้นทางการลดคาร์บอน (Decarbonization Journey) ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น ส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์กรไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้คือ การปรับวิธีการดำเนินงานขององค์กรซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างบริษัท Tetra Pack ซึ่งเป็นบริษัทบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ชั้นนำของโลก เป็นทั้งลูกค้าและพาร์ตเนอร์ (Partner) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นองค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภทบนโลกนี้ เมื่อ Tetra Pack ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละกระบวนการผลิตของตนเอง นอกจากจะสามารถบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรตัวเองได้แล้ว ยังสามารถนำเสนอสินค้าที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกค้านำไปใช้งานได้ในลำดับต่อไปได้

อุปสรรคฉุดธุรกิจไม่ถึงเป้า Sustainability

Filipe กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับอุปสรรคหลักๆ ที่ทำให้องค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Sustainability ที่ตั้งไว้ได้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ 

  • ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน องค์กรจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการเพื่อ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกได้เลย หากไม่รู้ว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่าไร โดยปกติกระบวนการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมในองค์กรและการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีความซับซ้อนและใช้เวลานานมาก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นภายในซัพพลายเชน (Supply Chain) หรือ Scope 3 Emission ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กรเอง โดย Terrascope สามารถช่วยให้กระบวนการจัดเก็บข้อมูลและการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนนี้สามารถทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้น ครอบคลุมไปถึงขั้นตอนในการตรวจสอบ (Audit) หลังการคำนวณด้วย
  • การเข้าถึงข้อมูลหรือประสบการณ์เฉพาะ ซึ่งพบได้บ่อยครั้งที่องค์กรมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชัดเจน แต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จเพราะขาดข้อมูลจากซัพพลายเออร์ (Supplier) โดย Terrascope สามารถช่วยเข้ามาเติมช่องว่างในส่วนนี้ได้ด้วย IP Proprietary ในส่วนของดาต้า ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ Terrascope มาจากประสบการณ์เฉพาะทางที่มีมากกว่า 10 ปี ในการคำนวณและการจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • เลือกไม่ถูกว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไหน การบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อ 1 กิจกรรม อาจสามารถทำได้หลากหลายวิธี และมีความซับซ้อนมาก Terrascope สามารถช่วยให้องค์กรเข้าใจได้ว่ามีวิธีไหนที่เหมาะสมกับแต่ละกิจกรรมที่สุด

ชี้ไทยมีศักยภาพสูง

สำหรับประเทศไทย นับเป็นหนึ่งในตลาดที่ Terrascope พร้อมเข้าไปลงทุน แม้ปัจจุบันยังไม่ได้เข้ามาจัดตั้งบริษัทในไทย แต่ได้มีการทำงานร่วมกับบริษัทระดับโลกหลายๆ บริษัทที่มีธุรกิจและการดำเนินงานอยู่ในไทย เช่น กลุ่ม Banyan Tree

"เรามองว่าประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพที่จะเติบโตสูง เราจึงกำหนดให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศหลักในทวีปเอเชียที่เราโฟกัส รวมไปถึงสร้างความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ธุรกิจชั้นนำในด้าน Technology และ Consultancy ของไทยในปัจจุบัน"

Filipe บอกด้วยว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับ Sustainability โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกในประเทศไทย มีโอกาสและมีศักยภาพที่จะเติบโตได้สูง โดยไทยมีอุตสาหกรรมหลักคือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตอาหารและเกษตรกรรม นับเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกในลำดับต้นๆ

"ถ้าเราสามารถร่วมกันบริหารจัดการปัญหาอุตสาหกรรมนี้ได้ เราจะมีโอกาสที่ดีที่จะไปถึงเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065 ที่ตั้งไว้ได้" ผู้บริหาร Terrascope กล่าวทิ้งท้าย