หลักประวัติศาสตร์สอนให้ คนหา 'ข้อมูลในยุคดิจิทัล'

หลักประวัติศาสตร์สอนให้ คนหา 'ข้อมูลในยุคดิจิทัล'

การศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราได้ความรู้ และรู้ประวัติความเป็นมา ช่วยให้เราเรียนรู้เท่าทันเหตุการณ์ในโลกที่ผ่านมา เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาบทเรียนและข้อผิดพลาดในอดีตเพื่อจะนำไปปรับปรุงในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

คุณแม่ผม “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข นุ่มนนท์” จากไปเมื่อวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 หลายคนรู้จักท่านดีในฐานะอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ในหลายมหาวิทยาลัย ท่านมีลูกศิษย์จำนวนมาก และมีผลงานเป็นหนังสือหลายเล่มที่ท่านเขียน หลายคนได้กล่าวชื่นชมว่า งานเขียนของท่านทุกชิ้นมีความปราณีต เชื่อถือได้ เช่น “เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง” “ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ. 130” และ “ฟื้นอดีต” เป็นต้น ซึ่งท่านเป็นอาจารย์ที่ลูกศิษย์ให้ความเคารพรักเป็นอย่างมาก

ผมไม่ได้เรียนสาขาประวัติศาสตร์ แต่สนใจอ่านหนังสือด้านประวัติศาสตร์ และติดตามคุณแม่ไปทำงานค้นคว้าเอกสารหลายที่ ยุคนั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต และผมไม่ค่อยเข้าใจวิธีค้นหาหลักฐานประวัติศาสตร์มากนัก แต่มีโอกาสติดตามคุณแม่เข้ากรุงเทพฯ เป็นประจำ ไปค้นหาเอกสารที่กองจดหมายเหตุหอสมุดแห่งชาติ ท่านพาผมและพี่ชายไปสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาเกือบปี เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ ทำให้ผมและพี่ชายกลายเป็นคนที่มีนิสัยค้นคว้าหาข้อมูล และหลักฐานต่างๆ ไปด้วย

บางครั้งเกิดความสงสัยว่า ท่านเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไทย แต่ทำไมท่านต้องไปค้นเอกสารในห้องสมุดต่างประเทศ ไปหอสมุดสภาคองเกรส เพื่อดูเอกสารบางอย่าง ที่อาจเคยเป็นชั้นความลับ รวมถึงบันทึกบุคคลต่างๆ งานเขียนของท่านหลายเล่มเกี่ยวกับต่างประเทศ เช่น “ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” และ “การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย” เป็นต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ท่านจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งในและต่างประเทศ

ประวัติศาสตร์เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม

บางครั้งเกิดความสงสัยว่า ท่านเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไทย แต่ทำไมท่านต้องไปค้นเอกสารในห้องสมุดต่างประเทศ ไปหอสมุดสภาคองเกรส เพื่อดูเอกสารบางอย่าง ที่อาจเคยเป็นชั้นความลับ รวมถึงบันทึกบุคคลต่างๆ งานเขียนของท่านหลายเล่มเกี่ยวกับต่างประเทศ เช่น “ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” และ “การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย” เป็นต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ท่านจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งในและต่างประเทศ

ประวัติศาสตร์เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม

การแสวงหาคำตอบทางประวัติศาสตร์ อาจต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่บางอย่างอาจมีคำตอบที่ชัดเจนว่าถูกหรือผิดจากการทดลองที่เห็นเป็นประจักษ์ แต่ประวัติศาสตร์ไม่มีใครตอบได้ว่า ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และใช้เหตุผลตรวจสอบความถูกต้องหลักฐาน และนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

คุณแม่มีคุณสมบัติที่ดีของความเป็นนักประวัติศาสตร์ มีความเป็นกลาง ถูกต้องแม่นยำ มีระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ มีความซื่อสัตย์แสวงหาข้อเท็จจริง มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน ท่านมีความเป็นนักประวัติศาสตร์มาตลอดชีวิต แม้แต่การดำรงชีวิตในยุคใหม่บนโลกอินเทอร์เน็ต ท่านยังใช้หลักประวัติศาสตร์มาใช้ในการดูข้อมูลต่างๆ ในโลกออนไลน์

การศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราได้ความรู้ และรู้ประวัติความเป็นมา ช่วยให้เราเรียนรู้เท่าทันเหตุการณ์ในโลกที่ผ่านมา เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาบทเรียนและข้อผิดพลาดในอดีตเพื่อจะนำไปปรับปรุงในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การเรียนประวัติศาสตร์ทำให้เราเข้าใจที่ไปที่มาประเพณี วัฒนธรรม และภูมิใจในบรรพบุรุษของเรา การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต วิธีทางประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้ศึกษาได้ประสบการณ์ ทักษะวิเคราะห์ ไต่สวน แก้ปัญหา ซึ่งไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์อื่นๆ ได้

โลกอาจเปลี่ยนแปลงจากอนาล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ประวัติศาสตร์ในวันนี้เปลี่ยนไปเป็น “Digital History” หรือ ”ประวัติศาสตร์แบบดิจิทัล” มีคลังข้อมูลดิจิทัลเก็บหลักฐานประวัติศาสตร์ นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มานำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ ทั้งการใช้ AR, VR หรือสื่อการเรียนต่างๆ เพื่อทำให้น่าสนใจขึ้น สื่อการอ่านไม่ใช่แค่เป็นเล่มรูปแบบเดิม แต่กลายเป็น e-Book, PodCast และ YouTube

การส่งข้อมูลข่าวสารก็รวดเร็วทันใจขึ้น ในยุคที่ผู้คนเน้นกด Click, Like และ Share โดยอาจไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เอกสารประวัติศาสตร์ที่แชร์กันมาก็มีข้อผิดพลาดมากมาย การนำเสนอข้อมูลที่ดีก็ยังเป็นหลักประวัติศาสตร์แบบเดิมที่ว่า การนำเสนอข้อมูลต้องระมัดระวัง ยืนยันความถูกต้อง ไม่ควรนำเสนอลักษณะ “Cut-Paste” แบบทันทีทันใด แม้แต่หลักทางวิทยาศาสตร์ก็เน้นนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปเพียงใด แต่พื้นฐานหลักการทางประวัติศาสตร์ยังเป็นหลักสำคัญให้คนสามารถมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ คุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สามารถนำหลักของความเป็นนักประวัติศาสตร์มาใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อาจนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบที่เปลี่ยนไป แต่ความเป็นกลาง ความถูกต้องแม่นยำ ความคิดที่มีตรรกะที่ดียังมีความจำเป็นเสมอกับคนทุกคนไม่ว่าโลกจะเข้ายุคใดก็ตาม

แม้ช่วงที่ท่านมีอายุมากจนถึง 86 ปีแล้ว แต่ความทรงจำต่างๆ ยังดีเยี่ยม ก่อนท่านจะจากไปอย่างไม่มีวันกลับยังปรับปรุงหนังสือของท่านอีกถึง 2 เล่ม เพื่อเตรียมพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง คือ “ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ. 130” และ “ละครการเมือง : 24 มิถุนายน 2475” ซึ่งลูกหลานก็ตั้งใจ นำมาเป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านหลังจากเสร็จพิธีสวดอภิธรรมแล้ว 100 วัน

สุดท้ายนี้หวังว่า ผลงานและคุณความดีที่ท่านทำไว้จะเป็นประโยชน์กับสังคม และเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัลที่โลกของข่าวสารมีการนำเสนอไปอย่างรวดเร็ว