เปิดรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 | บัณฑิต นิจถาวร

เปิดรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 | บัณฑิต นิจถาวร

ความเหลื่อมลํ้าเป็นปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจโลก บทความวันนี้สรุปเจ็ดประเด็นสําคัญของปัญหาความเหลื่อมลํ้าที่เศรษฐกิจโลกมี สะท้อนจากข้อมูลในรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกฉบับล่าสุด

รายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 ฉบับล่าสุดจัดทําโดย World Inequality Lab ที่รวบรวมงานวิจัยของนักวิชาการแขนงต่างๆ กว่า 100 คนจัดทํารายงานฉบับนี้ เพื่อให้ผู้อ่านและแฟนคอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์บัณฑิต" เข้าใจถึงความรุนแรงของ

ปัญหาความเหลื่อมลํ้า สาเหตุ และแนวทางแก้ไข บทสรุปเจ็ดข้อนี้ ได้แก่
    1.กลุ่มคน 50 เปอร์เซนต์ล่าง (the bottom 50 percent) ในการกระจายรายได้ของโลกปี 2021 มีสัดส่วนรายได้เพียงร้อยละ 15 เทียบกับกลุ่มคนรวยสุด 10 เปอร์เซนต์แรก (richest 10 percent) ที่มีสัดส่วนรายได้มากถึงร้อยละ40

ความเหลื่อมลํ้ายิ่งรุนแรงในแง่ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน คือ กลุ่ม 50 เปอร์เซนต์ล่างมีสัดส่วนการถือครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 2 ขณะที่กลุ่มคนรวยสุด 10 เปอร์เซนต์แรกเป็นเจ้าของทรัพย์สินรัอยละ 76 ของทรัพย์สินที่มีในเศรษฐกิจโลก


    2. ปี 2021 คนหนุ่มสาวในวัยทํางานทั่วโลกมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 23,380 เหรียญต่อปี (711,400บาท) หรือ ประมาณเกือบ 60,000 บาทต่อเดือน นี่คือตัวเลขรวม แต่เมื่อพิจารณาความแตกต่างตามการกระจายรายได้ รายได้เฉลี่ยจะต่างกันมาก คือ หนุ่มสาวในกลุ่มรวยสุด 10 เปอร์เซนต์แรกจะมีรายได้เฉลี่ย 122,120 เหรียญต่อปี ประมาณ 305,300 บาทต่อเดือน ขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนในกลุ่ม 50 เปอร์เซนต์ล่างจะเท่ากับ 3,920 เหรียญต่อปีหรือประมาน 9800 บาทต่อเดือน ต่างกันกว่าสามสิบเท่า 
    ในแง่ทรัพย์สิน คนในกลุ่ม 50 เปอร์เซนต์ล่างมีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ4,100 เหรียญ ขณะที่คนในกลุ่มรวยสุด 10 เปอร์เซนต์แรกมีทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ 771,300 เหรียญ ห่างกันเกือบ 200 เท่า

เปิดรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 | บัณฑิต นิจถาวร
    3.แยกตามภูมิภาค ความเหลื่อมลํ้าสูงสุดอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตามด้วย ประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกาและเอเชียใต้รวมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปจะมีความเหลื่อมลํ้าตํ่าสุดเทียบกับทวีปอื่นๆ ในโลก

ที่น่าสนใจคือ ความเหลื่อมลํ้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลงแต่ความเหลื่อมลํ้าภายในประเทศรุนแรงขึ้น  และขณะที่ประเทศมีการขยายตัวของรายได้ แต่ภาครัฐหรือรัฐบาลจนลง คือฐานะการคลังแย่ลง ชี้ว่า ความมั่งคั่งที่ประเทศมีหรือที่ได้สร้างขึ้นจะเป็นความมั่งคั่งของภาคเอกชนล้วนๆ

4.กลุ่มคนรวยสุด 10 เปอร์เซนต์แรกส่วนใหญ่ คือ คนชั้นกลางในประเทศอุตสาหกรรมและกลุ่มคนรวยในประเทศกําลังพัฒนา อย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มของรายได้ของคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มลดตํ่ากว่าเฉลี่ย และที่เพิ่มมากคือรายได้ของกลุ่มคนรวยสุด 1 เปอร์เซนต์ในกลุ่มนี้ที่รายได้เพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราเฉลี่ยของคนในกลุ่ม 
    ทําให้ในช่วงปี 1995-2021 กลุ่มคนรวยสุดหนึ่งเปอร์เซนต์แรกเป็นเจ้าของร้อยละ 38 ของทรัพย์สินทั้งหมดในเศรษฐกิจโลก ขณะที่คนในกลุ่ม 50 เปอร์เซนต์ล่างมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 และที่รวยที่สุดในกลุ่มนี้คือ กลุ่มคนรวย 0.1 เปอร์เซนต์แรกที่เป็นเจ้าของร้อยละ 11 ของทรัพย์สินในเศรษฐกิจโลก

เปิดรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 | บัณฑิต นิจถาวร
    5.สองนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2019 Abhijit Banerjee และ Esther Duflo ให้ความเห็นในรายงานฉบับนี้ว่า ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงประมาณปี 1990 เศรษฐกิจโลกเติบโตพร้อมความเหลื่อมลํ้าในระบบเศรษฐกิจโลกที่ลดลง เป็นผลจากอุดมคติร่วมกันของภาครัฐเอกชนและภาคประชาสังคมที่ไม่ต้องการเห็นความเหลื่อมลํ้าในระบบเศรษฐกิจแย่ลงหรือรุนแรงขึ้น นํามาสู่นโยบายเศรษฐกิจที่ให้ความสําคัญกับการกระจายและลดความยากจน เช่น ค่าแรงขั้นตํ่า บทบาทสหภาพแรงงาน ภาษีอัตราก้าวหน้า และการเก็บภาษีจากทรัพย์สิน 
    แต่แนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไปในยุคสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีเรแกนในสหรัฐและรัฐบาลมากาเร็ต แทชเชอร์ ในอังกฤษ ที่มองนโยบายด้านการกระจายว่าเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ สนับสนุนการทําธุรกิจอย่างเสรี ลดบทบาทภาครัฐในระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมวัฒนธรรมการทําธุรกิจที่มุ่งสะสมความมั่งคั่ง 
    ผลคือการเติบโตของระบบตลาดและโลกาภิวัฒน์ที่ทําให้การกระจายรายได้ในเศรษฐกิจโลกแย่ลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ดังนั้น ความเหลื่อมลํ้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นผลผลิตของนโยบายเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมลํ้าจึงเป็นสิ่งที่นโนบายเศรษฐกิจสามารถมีบทบาทแก้ไขได้


    6.ความมั่งคั่งเป็นกลไกหรือเครื่องยนต์ที่จะสร้างให้ความมั่งคั่งยิ่งมีมากขึ้น รวมทั้งสร้างอํานาจและอิทธิพลทางการเมือง ทำให้ปัญหาความเหลื่อมลํ้าจะยิ่งรุนแรงขึ้นถ้าไม่มีการแก้ไข โดยเฉพาะถ้าความมั่งคั่งกระจุกอยู่ในมือของคนจํานวนน้อย การแก้ไขต้องการการตัดสินใจทางการเมืองที่นํามาสู่การเปลี่ยนของนโยบายเศรษฐกิจ


    7.รายงานให้ตัวอย่างมาตรการเก็บภาษีทรัพย์สินกลุ่มคนที่รวยมากคิดเป็นร้อยละของทรัพย์สินที่มีโดยเก็บในอัตราก้าวหน้าว่า เป็นข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้มาก ทั้งในแง่การลดความเหลื่อมลํ้าและในแง่รายได้ภาษีที่รัฐบาลจะนํามาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เศรษฐกิจโลกมี เช่น ปัญหาโลกร้อน และการสร้างระบบช่วยเหลือสังคมที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถทําได้ถ้าไม่มีการแก้ความเหลื่อมลํ้า
    นี่คือข้อสรุปจากรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกล่าสุด ชี้ว่า ปัญหาความเหลื่อมลํ้าแก้ไขได้ด้วยนโยบายเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเมือง

   ซึ่งสิ่งที่ท้าทายสุดในความเห็นผมคือการผลักดันให้มาตรการแก้ไขเหล่านี้ เช่น ภาษี เกิดขึ้นได้ก่อนที่สังคมจะหมดความอดทนกับปัญหาความเหลื่อมลํ้าที่รุนแรงจนอาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมา.

เปิดรายงานความเหลื่อมลํ้าโลกปี 2022 | บัณฑิต นิจถาวร
คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์บัณฑิต
ดร.บัณฑิต นิจถาวร
ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมภิบาล
[email protected]