คลุมถุงดำ ควรยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาที่เปิดเผยข้อมูล

คลุมถุงดำ ควรยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาที่เปิดเผยข้อมูล

จากข่าวที่มีการแชร์คลิปเรื่องจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่ผู้รับผิดชอบกำลังหาคำตอบ หากเป็นเรื่องจริงควรสรรเสริญผู้นำคลิปออกมาเผยแพร่อย่างยิ่ง

บทความโดย...ศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ ทองขะโชค คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ กำหนดไว้ชันเจนว่า รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม.......

ตัวกฎหมายไม่ได้บ่งบอกถึงความยุติธรรม แต่การทำให้ปรากฏความจริงต่างหากคือ การนำไปสู่ความยุติธรรม

จากข่าวที่มีการแชร์คลิปเรื่องจริงหรือไม่เป็นคำถามที่ผู้รับผิดชอบกำลังหาคำตอบ รัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ กำหนดไว้ชันเจนว่า รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม.......

หากเป็นเรื่องจริงตามปรากฎต้องแสดงความยินดีกับผู้นำคลิปออกมาเผยแพร่ ซึ่งคงไม่พ้นผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะถ้าผู้กระทำความผิดเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานแล้ว ผู้ที่จะทำเรื่องจริงให้ปรากฏก็คงเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา

หลายคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะในคดีอาญาซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ ส่วนใหญ่ก็ถกเถียงกันในข้อเท็จจริง ใครทำ ทำเมื่อไร ทำอย่างไร ซึ่งคนทำผิดก็ไม่ยอมรับเป็นธรรมดาของสัจจธรรมจึงเป็นที่มาของการพิสูจน์ความผิด/ถูก

แต่เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาไปกล้องวรจรปิด หรือการถ่ายภาพก็กลายเป็นเรื่องปกติไปซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะให้ความจริงปรากฏ เพราะคนที่เห็นอาจเปลี่ยนแปลงคำพูดได้

ผู้ที่จะทำให้ความผิดจริงให้ปรากฏโดยเฉพาะมีภาพบันทึก และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก มีความกล้าหาญที่ถูกต้อง ควรสรรเสริญอย่างยิ่งและควรมมีกฎหมายรับรองการปูนบำเหน็จเพราะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วเพื่อนร่วมองค์กรบางกลุ่มมองว่าทำให้องค์กรเสียหาย ซึ่งจริงๆ หากองค์กรยอมรับและสร้างระบบและเปลี่ยนแปลงไม่ให้มีช่องหรือให้มีช่องว่างน้อยที่สุดหรือมีระบบตรวจสอบที่น่าเชื่อถือก็จะป้องกันการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างเป็นธรรม

ผู้ต้องหาก็เปรียบเสมือนลูกค้าของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม การกระทำที่ทำให้ลูกค้าไม่พึ่งพอใจในฐานะผู้ต้องหา ก็ทำให้ขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว

แต่การทำให้ลูกค้าเสียชีวิต โดยฝ่าฝืนกฎหมายก็ไม่ต้องพูดถึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมแน่นอน ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องเปลี่ยนแปลง(ปฎิรูป)เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างแบบปกติแบบนี้ต่อไป.