เทคโนโลยีบริหารองค์กรขนาดใหญ่-บริหารประเทศ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

เทคโนโลยีบริหารองค์กรขนาดใหญ่-บริหารประเทศ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจรวมถึงในภาคของการบริหารประเทศ ล้วนเร่งการเติบโตเพื่อตอบสนองต่อสภาวะเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยจากช่วงเหตุการณ์โควิด หลากหลายประเทศเริ่มนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาร่วมกับยุทธศาสตร์การบริหารประเทศกันอย่างแพร่หลาย

แต่หลายครั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้กลับหลงลืมผู้คน (User) คือ ประชาชนในประเทศ เพราะหากเราใช้เทคโนโลยีโดยไม่ใช้ผู้คนเป็นจุดศูนย์กลาง การใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นก็คงไม่ต่างกับ “เอาปืนไปให้คนป่า” เพราะเราไม่ได้ทำความเข้าใจถึงผู้ใช้นั้นเอง ในวันนี้ผมจะขอแชร์เทคโนโลยีที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและองค์กร โดยใช้ผู้คนเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีกันครับ

1. Hyper-automation เป็นการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติต่างๆ มาพัฒนาเพิ่มเติม ไม่ใช่เพียงแค่สนับสนุน Task(งาน) บางส่วนเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาไปจนถึงระดับ Artificial Intelligence (AI) และระบบ Machine Learning (ML)เพื่อพัฒนาระบบทุกส่วนงานให้กลายเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันเราจะเห็นระบบอัตโนมัติต่างๆ ผ่านเครื่องจักรสายการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์หรือในภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคการผลิตเหล่านั้นยังต้องอาศัยแรงงานมนุษย์อยู่ในบางส่วน ในอนาคตทุกอย่างจะถูกใช้งานผ่านการสั่งงานแค่ครั้งเดียว เทคโนโลยีนี้จะถูกนำมาใช้ในการสั่งงาน เช่น การระบายน้ำ การจัดเก็บขยะ รวมไปถึงการจัดการระบบคมนาคม เป็นต้น

เทคโนโลยีบริหารองค์กรขนาดใหญ่-บริหารประเทศ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

2. Multi-experience ในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก มีการเปิดรับข่าวสารกันมากขึ้น มีการใช้งานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกกันหลายประเภทร่วมกันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ดูหนัง เล่นมือถือ ทำงานบนคอมพิวเตอร์และฟังเพลง

เทคโนโลยีในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบให้มีการเชื่อมต่อกันทั้งหมดผ่านอุปกรณ์เพียงตัวเดียว โดยใช้ Virtual Reality(VR), Augmented Reality(AR) และ Mixed Reality(MR) เพื่อให้มีประสบการณ์ในโลกดิจิทัลได้เสมือนจริงยิ่งขึ้น

3. Democratization of Technology เทคโนโลยีประชาธิปไตย หมายถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเสรี เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลอย่างรวดเร็ว เช่น นักวิเคราะห์ธุรกิจหรือบุคลากรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเข้าถึงโลกของข้อมูลคู่ค้า รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ฉับไวยิ่งขึ้น 

โดยมีกุญแจสำคัญเพื่อพัฒนา 4 ข้อคือ พัฒนาระบบแอปพลิเคชัน, พัฒนาฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล, พัฒนาการออกแบบให้ตรงกับตลาด และพัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติม

4. Human Augmentation เป็นการพัฒนาขีดจำกัดความสามารถของเทคโนโลยี ว่าจะสามารถสร้างกระบวนการรับรู้และพัฒนาประสบการณ์บางอย่างของมนุษย์ เช่น การสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางการมองเห็นหรือพิการทางการเคลื่อนไหว

ให้สามารถกลับมามีวิถีชีวิตใกล้เคียงกับปกติให้ได้มากที่สุด ไปจนถึงการพัฒนาอุปกรณ์ขุดเจาะเหมืองแร่ในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาอุปกรณ์เพื่อทุ่นแรงยกสิ่งของไปจนถึงการพัฒนาทางการทหารให้มีประสิทธิภาพในการรบมากยิ่งขึ้น

5. Transparency and Traceability ความโปร่งใสและสามารถติดตามแหล่งของข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย ถูกต้องและแม่นยำ ในปัจจุบันผู้บริโภคสินค้าหรือบริการเริ่มตระหนักถึงมูลค่าของข้อมูลส่วนบุคคลและการควบคุมความต้องการของผู้บริโภค

เช่น ข้อมูลส่วนตัวของเราที่บันทึกไว้กับแอปพลิเคชันหรือ Social Network เริ่มไม่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป มีการนำข้อมูลการใช้งานต่างๆ การเลือกดูคอนเทนต์ต่างๆ ของเรา ไปจนถึงเครือข่ายเพื่อนฝูงไปใช้เพื่อหาประโยชน์ทางธุรกิจนั้น ทำให้ภาคเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีการตรวจสอบดูแลอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

กุญแจสำคัญของเรื่องนี้ มีสิ่งที่ต้องยึดถือในด้านความเชื่อมั่น คือ 

  • Integrity ความซื่อสัตย์
  • Openness การเปิดเผย
  • Accountability สามารถอธิบายได้
  • Competence ความพอเพียง
  • Consistency ความยึดมั่นในคำมั่นสัญญา

ในปัจจุบันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเริ่มนำเสนอเทคโนโลยีนี้ ในการให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

หากเรานำเทคโนโลยีมาใช้จนหลงลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าง “ผู้คน” อาจทำให้โลกของเราเข้าสู่ยุคสมัยที่ทำให้เทคโนโลยีล้างโลก คำพูดที่สื่อถึงความหมายดังกล่าวอาจคล้ายกับภาพยนตร์ไซไฟหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้จะไม่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีเข้าใกล้เราทุกคนมากเหลือเกิน