เข้าใจ“REC”- “Carbon Credit Market” ก่อนเงื่อนไข“ภาษีคาร์บอน”กดดันธุรกิจ

เข้าใจ“REC”- “Carbon Credit Market”   ก่อนเงื่อนไข“ภาษีคาร์บอน”กดดันธุรกิจ

ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและใบรับรองพลังงานหมุนเวียน หรือ REC จะเป็นกลไกนำไทยก้าวเข้าสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน แม้ปัจจุบันไทย

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากน้ำมันไฟฟ้าซึ่งแน่นอนว่าไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงพลังงานสะอาดเช่นพลังงานลมพลังงานแสงแดดพลังงานน้ำพลังงานหมุนเวียนอาจจะรวมไปถึงพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลเป็นต้นซึ่งหลักๆ 

"บริษัทชั้นนำระดับโลก มีนโยบายของบริษัทเองว่าด้วยเรื่องของพลังงานทดแทนแต่ ในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น การใช้แผงโซล่าบนหลังคาของของสำนักงาน จะทำให้บริษัทมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็ยึดหลักของ ESG :Environment, Social, Governance แล้วยังสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยที่ไม่ต้องมีข้อจำกัดด้านฟิสิกส์ ด้านกายภาพ เพราะไม่น่าจะมีใครสามารถที่จะมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนอยู่ใกล้ได้หรือว่าอาจจะมีความยากลำบากในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือในเรื่องของการลงทุนที่อาจจะแพงเกินไป"

หลักการเบื้องต้นภาษีคาร์บอน

ดังนั้น จึงมีตัวช่วยเป็นสิ่งที่มาผลักดันการลดคาร์บอนได้ นั้นก็คือ "ภาษีคาร์บอน" ซึ่งต้องดูว่าผู้ผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหนและหากมากเกินมาตรฐานก็จะถูกเก็บภาษีคาร์บอนนั่นเอง 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการชั้นนำของประเทศทั่วโลกก็มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายและเครื่องมือเหล่านี้ในการปฎิบัติต่อข้อบังคับต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในรายงานความยั่งยืนซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทต่างๆเริ่มอยากลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนแล้ว 

นายณัฐพร ศรีทอง นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วยกลไกตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market) ซึ่งโรงงานที่ปล่อยคาร์บอนส่วนเกินต้องซื้อคาร์บอนเคดิตจากโรงงานที่ขายคาร์บอนเครดิต ขณะที่กลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)โรงงานที่ปล่อยคาร์บอนส่วนเกินต้องชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดหรือดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกของไทยในปัจจุบัน

ผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาค สมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ที- เวอร์ โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นข้อเสนอโครงการและขอขึ้นทะเบียน คาร์บอนเครดิต กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน ) หรือ อบก. ต้องผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ และการทวนสอบจากผู้ ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB) แต่ยังไม่สามารถนำไปขายในระดับต่างประเทศได้

ไทยมีแผนยกระดับเครดิตสู่สากล

อย่างไรก็ตาม  อบก. มีแผนที่จะยกระดับเครดิต T-VERs ให้เทียบเท่าสากล และสอดคล้องหรือเป็นที่ยอมรับในโครงการลดก๊าซเรือน กระจกของนานาชาติ เช่น CORSIA และ Article 6

สำหรับแนวโน้มในอนาคตความตื่นตัวของภาคเอกชนจะเป็นแรงผลักดัน สำคัญที่ทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทย เติบโต หลังจากผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย เริ่มประกาศเป้าหมาย Net zero emission อย่างชัดเจน อบก. ได้จัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศ ไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) ขณะที่ กลุ่มบางจากฯ ร่วมกับ พันธมิตร ก่อตั้ง Carbon Markets Club (CMC) กระตุ้นให้การซื้อขายเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางระดับโลก ที่ McKinsey คาดว่าในปี 2030 ความการซื้อขายคาร์บอนภาค สมัครใจจะเติบโต 15 เท่าจากปี 2020 และเติบโต มากถึง 100 เท่า ในปี 2050

นายชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิเคราะห์ กล่าวว่าใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (REC) REC เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ยืนยันว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่น่าเชื่อถือ (โดยมีหน่วยวัด 1 REC = ไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh) ที่ผลิตขึ้นจากพลังงานหมุนเวียน) ผู้ที่จะได้ประโยชน์หลัก คือ 1. ผู้ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สามารถใช้ REC เพื่ออ้างสิทธิการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 2.ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการขาย REC

กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยรวม ของโลกในช่วงปี 2021-2026 ภายใต้ Main Case Scenario จะเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าตัวจากช่วงปี 2015-2020 ขณะที่กำลังการผลิตฯ ภายใต้ Net Zero Scenario จะเพิ่ม ราว 2.1 เท่าตัว ไปสู่ระดับ 6,000 กิกะวัตต์ในช่วง 2021-256 และสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 88% ในปี 2050 จาก 26% ในปี 2020

ประเทศไทยก็กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาด โดย สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กำลังจัดทำ “แผนพลังงานชาติ” (National Energy Plan 2022) โดยมีการเปิดเผยเบื้องต้นว่า จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า ใหม่จากพลังงานพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50% ของ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดภายในปี 2050 จาก 20% ในปี 2021