ปฎิบัติการต้านโลกร้อน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างศก.-ธุรกิจ

ปฎิบัติการต้านโลกร้อน  ปรับเปลี่ยนโครงสร้างศก.-ธุรกิจ

รัฐบาลได้กำหนดทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในทุกมิติร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนแม่บทต่าง ๆ

ที่มุ่งสู่การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ 

แผนดังกล่าวครอบคลุม 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1. การลดก๊าซเรือนกระจกระยะยาวที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. การปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3. สนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและเอกชน

ในทางเศรษฐกิจนั้น ประเทศไทยได้นำนโยบาย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เข้ามาใช้เป็นกลไกหลักในการสร้างความสมดุลแห่งการพัฒนา เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 

ปฎิบัติการต้านโลกร้อน  ปรับเปลี่ยนโครงสร้างศก.-ธุรกิจ

โดยรัฐบาลได้นำมาตรการการเงินสีเขียว เข้ามาผลักดันการลงทุนในนวัตกรรมและธุรกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีการปรับรูปแบบทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยเร่งการเพิ่มสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ให้ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญระดับโลก

ในส่วนภาคเอกชนนั้น การปรับกระบวนทัศน์เพื่อมุ่งสู่การผลิตและการบริการที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น การทำฉลากคาร์บอน-ฟุตพริ้นท์ การลดและเลิกใช้สารไฮโดร-ฟลู-ออโร-คาร์บอน การส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ ไฮ-ดรอลิก ในการก่อสร้างและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์คอนกรีต