“กรมส่งเสริมการเกษตร ก้าวข้ามการเผา สู่การจัดการเศษวัสดุ“ลด”ฝุ่น PM2.5

“กรมส่งเสริมการเกษตร ก้าวข้ามการเผา  สู่การจัดการเศษวัสดุ“ลด”ฝุ่น PM2.5

การเผาได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมาก หากสามารถจัดการได้ตั้งแต่ต้นตอแหล่งกำเนิด โดยเฉพาะ จากการกระทำของมนุษย์ เพื่อให้ฝุ่น PM 2.5 และ ก๊าซเรือนกระจกลดลงนั่นคือวิธีการที่ดีที่สุด

KEY

POINTS

  • ฝุ่น PM 2.5 มีองค์ประกอบที่มาจากการเผาสารชีวมวล หรือเศษวัสดุทางการเกษตรเพียง 23% เท่านั้น
  • เกษตรกรที่ฝ่าฝืน เผา จะไม่ได้รับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2568 – 31 พ.ค. 2570
  • แนะนำการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่องทางและการสนับสนุนตลาดการเพิ่มมูลค่า วัสดุเหลือใช้

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ระบุว่างานศึกษาวิจัยในอิตาลี พบว่า ฝุ่น PM 2.5 มีองค์ประกอบที่มาจากการเผาสารชีวมวล หรือเศษวัสดุทางการเกษตรเพียง 23% เท่านั้น ที่เหลือเป็นไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds ) ฟอสซิล การเผาไหม้ของยานยนต์ 11% เหลือ 66% เป็นละอองฝุ่นขนาดเล็กหรือละอองลอย ในอากาศที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการเปลี่ยนรูปในบรรยากาศของก๊าซสารตั้งต้นบางประเภทเช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) และกลุ่ม ก๊าซสารอินทรีย์ระเหยง่ายอีกจำนวนมาก

“กรมส่งเสริมการเกษตร ก้าวข้ามการเผา  สู่การจัดการเศษวัสดุ“ลด”ฝุ่น PM2.5

ทำให้เกิดเป็นสารมลพิษในอากาศ ดังนั้น การเผาวัสดุการเกษตร ของเกษตรกรจึงไม่ใช่ทั้ง 100% ของ PM2.5 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568

 ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดแผนการดำเนินงานไว้ 4 ส่วน คือ 1. การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อวางแผน การบริหารจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงการเผา โดยรวบรวมข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูกและช่วงเวลาเก็บเกี่ยวพืช ที่เสี่ยงต่อการเผา คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย และข้อมูลเกษตรกรในแต่ละจังหวัด แล้วใช้เทคโนโลยีโดย ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมประกอบกับพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) จุดความร้อน (Hotspot) เพื่อติดตาม และประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ พร้อมประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น และดำเนินการ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ภาคการเกษตร

“กรมส่งเสริมการเกษตร ก้าวข้ามการเผา  สู่การจัดการเศษวัสดุ“ลด”ฝุ่น PM2.5

     2. การป้องปราม โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้สื่อสารให้ความรู้ ความตระหนัก ถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมแก่เกษตรกรได้รับทราบ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกษตรกรเข้าใจแล้ว ปริมาณการเผา ก็จะลดลง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจและตระหนักมากขึ้นว่า ถ้าเผาแล้วจะส่งผลต่อสุขภาพและผิดกฎหมาย นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ค้นหาพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) แล้วจะมาทาบกับแผนที่ความเสี่ยงที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ จะทำให้ทราบพื้นที่เผาระบุเกษตรกรผู้ดำเนินการได้

   3. การดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อพิสูจน์ทราบแล้วว่ามีการเผาจริงที่เกิดจากการกระทำของเกษตรกร จะบันทึกประวัติการเผาในพื้นที่เกษตรและเกษตรกรรายนั้น จะไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรทุกโครงการ ยกเว้นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2568 – 31 พ.ค. 2570

4. ให้ความรู้แนะนำการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่องทางและการสนับสนุนตลาดการเพิ่มมูลค่า วัสดุเหลือใช้ เช่น การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง การแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ และการใช้ประโยชน์อื่นๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากตอซังข้าวโพด โดยนำส่งเข้าโรงงานชีวมวล รวมถึงการนำผู้ซื้อกับผู้ขายมาพบกัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการในห้วงเวลานี้เพื่อจัดการวัสดุทางการเกษตร ตลอดจนการรณรงค์การใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับ ความต้องการในแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโต เพื่อลดการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ละอองลอยทุติยภูมิ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะฝุ่นเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นทุกปี โดยได้ร่วมกับภาคเอกชน ใช้เครื่องจักรในการอัดก้อนฟาง รวมถึงร่วมกับบริษัทต่างๆ เพื่อย่อยสลายตอซัง เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก่อนที่จะเผา รวมถึงการส่งเสริมให้ทำปุ๋ยหมักและจัดสรรให้ชุมชน เป็นการประหยัด ปุ๋ยที่จะใช้ในรอบต่อไปได้เรื่องนี้ทุกหน่วยงานร่วมกัน”

สำหรับระยะต่อไป กรมฯ ได้เตรียมการศึกษาวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ชีวมวล ตลอดจนโครงการสนับสนุนต้นทุนกิจกรรมเกษตรที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับ พ.ร.บ.อากาศสะอาด ในปี 2568 ต่อไป

นายพีรพันธ์ กล่าวว่า ผลการจัดการดำเนินการ ในปี 2567 ที่ผ่านมาในรายพืช 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง และไม้ผล ไม้ยืนต้น ในช่วงเดือน ก.พ.- เม.ย. มีปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งหมดประมาณ 48.6 ล้านตัน นำไปใช้แล้วประมาณ 33.54 ล้านตัน คิดเป็น 69% เป็นมูลค่าทาง เศรษฐกิจกว่า 3.2 พันล้านบาท

ดังนั้น การไม่เผาจึงมีทางออกชัดเจนที่เกษตรกรทุกคนต้องยอมรับว่า สามารถจัดการก้าวข้ามเรื่อง การเผาได้ ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับต้นทุนสุขภาพของเกษตรกร ประชาชน เด็ก และผู้สูงอายุ จะมีต้นทุนทางสังคม ที่สูงมาก ทุกภาคส่วนต้องหารือเพื่อหาทางออก ร่วมกันโดยกรมส่งเสริมการเกษตรพร้อม ร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชนเพื่อวิเคราะห์ หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วสามารถตอบสังคมได้