เปิดแผนไฟฟ้าสีเขียว ‘กฟผ.-กฟภ.’ ลุยเทคโนโลยี ‘นิวเคลียร์-สมาร์ทกริด’
เปิดแผนเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าสีเขียว "กฟผ.-กฟภ." ลุยเทคโนโลยี "นิวเคลียร์-สมาร์ทกริด" สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน
“กรุงเทพธุรกิจ” จัดงาน “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ระหว่างวันที่ 3-4 ธ.ค.2567 ที่สยามพารากอน ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนกลยุทธ์และประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน
นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสาต์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในหัวข้อ “Green Energy for Sustainable Business Growth” ว่า ไทยใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ 60% และถ่านหิน 20% ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานสีเขียว
ดังนั้น ในอนาคตของไทยตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) พบว่า ฉบับปัจจุบันสัดส่วนพลังงานสะอาดวางไว้ที่ 36% ขณะนี้ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่เรื่องของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาพนโยบายอยู่ระหว่างปรับปรุงแผนฉบับใหม่ เช่น ต่อไปสัดส่วนพลังงานสีเขียวจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 51% ในปี 2580
ทั้งนี้ กฟผ. เป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ผลิตและส่งไฟฟ้า จึงมองว่าหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจไทย เพื่อส่งเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศผ่าน 3 บทบาท คือ
1.การเพิ่มสัดส่วนทางงานไฟฟ้าสีเขียวของ กฟผ. เช่น พัฒนาพลังงานสีเขียวเอง เช่น โรงไฟฟ้าทุ่นลอยน้ำตามเขื่อนของ กฟผ. รวมทั้งมองพลังงานทางเลือก เช่น เทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ซึ่งไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการยังรับซื้อไฟจากพลังงานสีเขียวทั้งในและต่างประเทศ
2.การพัฒนาระบบไฟฟ้าให้และให้ยืดหยุ่นทันสมัยเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียน กฟผ.มีแผนพัฒนาระบบ Grid Modernization ถือเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารจัดการพลังงานสีเขียวสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟปัจจุบันมีระบบแบตเตอรีด้วยเทคโนโลยี “Battery Energy Storage System (BESS)" มาใช้ในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าของไทยที่ จ.ชัยภูมิ และลพบุรี
3. สร้างความสมดุลสู่ความยั่งยืน กฟผ.เป็นผู้ผู้ดูแล สร้างเสถียรภาพด้านไฟฟ้าทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน เมื่อรวม 3 ส่วนไว้ด้วยกัน โดยเป้าหมายทำให้ประเทศไทยมีความยั่งยืนในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ไฟฟ้าสีเขียวจะเป็นปัจจัยพื้นฐานช่วยให้ธุรกิจของประเทศไทยตอบโจทย์ความต้องการผลิตภัณฑ์สินค้าบริการทั้งโลก
“กฟผ.ขับเคลื่อนผ่านโครงการเพื่อสังคม 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม การศึกษา สังคม และชุมชน แต่ก็จะเป็นแนวทางใหม่ที่พัฒนาต่อยอดจากกลยุทธ์ CSR ด้วยการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value หรือ CSV) ระหว่าง กฟผ. สังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน”
นายประดิษฐ์ เฟื่องฟู รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวในหัวข้อ "PEA Mission of Smart Grid for Cities and Community" ว่า PEA มี Vision คือ "Smart Energy for Better Life and Sustainability" จึงตอบโจทย์ในสังคมยุคปัจจุบันเรื่องของการใช้พลังงาน ซึ่งพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญมากในการพัฒนาประเทศและการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในชีวิตประจำวัน
ดังนั้น สิ่งที่ต้องการที่จะตอบโจทย์ หากย้อนกลับไปช่วง 30-50 ปีที่ผ่านมา การผลิตไฟฟ้าผ่านโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่ง PEA มีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ตามมาด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน และพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เมื่อส่งไฟฟ้ามาทางสายส่งหรือสายจัดจำหน่ายจึงต้องแปลงใช้แรงดันที่เหมาะสมเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
รวมทั้งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกลโดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดโลกร้อน และยังนำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านพักอาศัยด้วย
“การพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านพักหรือในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถส่งผ่านไปในหลากหลายรูปแบบ เช่น อังกฤษได้พัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีการเชื่อมต่อเพิ่มไฟสะอาดให้อยู่ในระบบประมาณ 35% ถือว่าเยอะพอสมควร ถ้าเทียบเป็นเมกะวัตต์ กว่า 30,000 เมกะวัตต์ ดังนั้น Smart Grid จะต้องมาช่วยบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเพื่อให้มีความมั่นคงและมีความปลอดภัยมากยิ่ง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสมาร์ทกริดจะมีฟิวเจอร์ที่ค่อนข้างเยอะขึ้น โดยหน้าตาของระบบไฟฟ้าแห่งอนาคตจะเป็นไปตามภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง PEA ได้พัฒนาระบบสายส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีการใช้ไฟฟ้าระดับสูง และอนาคตอันใกล้อาจจะมีในเรื่องของ Direct PPA ถือเป็นมิติการส่งผ่านพลังงานรูปแบบใหม่