5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

“กาแฟ” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ช่วยให้การท่องเที่ยวเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือโด่งดังระดับโลกจนมีเส้นทางการท่องเที่ยวของคนรักกาแฟที่น่าตามรอย

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้มีกิจกรรมส่งเสริมการดื่มและจำหน่ายกาแฟที่เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายหลังอุทกภัยอีกทางหนึ่ง

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าฯ ททท. เปิดเผยว่า ททท.ได้นำเอากากาแฟเทพเสด็จ จาก ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่มาเสิร์ฟให้ ครม.ได้ดื่มด้วย โดยมีนายปิยชาติ ไตรถาวร บาริสต้าชื่อดัง ผู้ได้รับการขนานนามว่า "ดริปคิง" จากร้าน Gallery มาเป็นผู้สาธิตการดริปกาแฟแบบมืออาชีพให้ผู้เข้าร่วมการประชุม ครม.ได้ชิมรสชาติของกาแฟสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่

ผู้ว่าการ ททท.กล่าวว่าการกินกาแฟในเชียงใหม่และพื้นที่ภาคเหนือเป็นไลฟ์สไตล์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ มีการตกแต่งร้านให้เข้ากับอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และชุมชน และในปัจจุบันพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป "คาเฟ่" กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวมักเลือกร้านกาแฟ เพื่อสำหรับทานอาหารและถ่ายรูป เสมือนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมีในโปรแกรมการเดินทาง หรือที่เรียกว่า "Cafe Hopping" ด้วย  

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

ด้านนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่าร้านกาแฟเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวในภาคเหนืออย่างมาก เฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่มีร้านกาแฟกว่า 2,400 ร้าน นอกจากนี้ยังมีเมล็ดกาแฟที่หลากหลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ ซึ่งมีคนบอกว่าต้องใช้เวลากว่า 7 ปีถึงจะกินกาแฟครบร้านที่เชียงใหม่

โดยสินค้าที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทยมีกาแฟถึง 10 ชนิด และอยู่ที่ภาคเหนือ 3 ชนิด เนื่องจากพื้นที่ปลูกกาแฟอยู่ในระดับ 800-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดมูลค่ากับเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมาก โดยสินค้าเหล่านี้สามารถยกระดับให้เป็นโปรดักซ์แชมป์เปี้ยนที่ออกไปแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ในปี 2567 ททท. ต้องการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ด้วยการนำเสนอเสน่ห์ไทย หรือ Soft Power เป็นจุดขาย สร้างแรงจูงใจให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น โดยนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยการนำเสนอเอกลักษณ์ผ่านแนวคิด "5 Must Do in Thailand" เพื่อส่งมอบประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวหัวประเทศไทย ได้แก่Must Taste: อิ่มอร่อย 5 ภูมิภาค, Must Try ต้องลอง กิจกรรมมากมายหลายหลาก, Must See:ละลานตาวัฒนธรรม, Must Seek: แสวงหา unseen ถิ่นน่าเที่ยว และ Must buy: หัตถกรรมของฝากน่าซื้อ

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

ดังนั้น การนำเสนอ "กาแฟ" เป็นหนึ่งใน "Must Do in Thailand" นั่นคือ "Must Eat" และ "Must Buy " ที่ใครมาแล้วต้องลิ่มลองและซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน การนำเสนอในรูปแบบที่ทันสมัยและน่าสนใจ ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ ในภาคเหนือ

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

 

นอกจากนี้กาแฟในแต่ละร้านแต่ละจังหวัดก็มีการคิดเมนูที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างกัน (Signature Menu) บางร้านมีเรื่องเล่าการชงกาแฟ ตลอดจนการปลูก การเก็บ ผ่านกระบวนการต่างๆ จนถึงการคั่วกาแฟ อาทิ กาแฟ ส้มซ่า/ กาแฟน้ำมนต์วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี, กาแฟมะขาม จ.เพชรบูรณ์, กาแฟลำไย จ.ลำพูน, กาแฟลิ้นจี่/ กาแฟน้ำอ้อย จ.เชียงราย, กาแฟกล้วย จ.กำแพงเพชร, กาแฟเมี่ยง จ.ตาก, กาแฟอโวคะโด้จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

“คาเฟ่ และกาแฟ เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจในยุคปัจจุบันการรวบรวมร้านกาแฟที่ดีและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้นักท่องเที่ยวเห็นถึงความแตกต่าง และเกิดความต้องการอยากเดินทางไปลองชิมกาแฟ ถ่ายรูปสวยๆ ในทุกๆ ร้านของประเทศไทย เป็นการกระจายการเดินทางท่องเที่ยวสู่พื้นที่เมืองรอง เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าทางการท่องเที่ยวอย่างกาแฟอีกด้วย”

นอกจากจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาภาคเหนือมากขึ้นแล้ว ยังช่วยสนับสนุนวัตถุดิบกาแฟท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ชุมชน ตลอดจนกระจายรายได้สู่สู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและมั่นคงอีกด้วยนอกจากนี้การยกระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยหลักเกณฑ์คุณภาพการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism Services) อาทิ ศิรา สปาจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น "Must Try" ที่ต้องสัมผัสประสบการณ์ เพื่อเติมเต็มความสุขและเป็นการชาร์ตพลังจากการเดินทางท่องเที่ยว สร้างการเดินทางที่เปี่ยมไปด้วยความหมาย (Meaningful Travel) ที่ดีต่อชีวิต ดีต่อใจ ดีต่อสังคมผู้คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอย่างยังยืนตลอดไป

ทั้งนี้ในบูทจัดการแสดงของ ททท.ใน ครม.สัญจร จ.เชียงใหม่เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมามีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับกาแฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวได้แก่  5 เส้นทางการท่องเที่ยวของคนรักกาแฟ ได้แก่

 1. บ้านปางขอน อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นเส้นทางกาแฟพิเศษที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน เดิมทีพื้นที่แห่งนี้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟทดแทนพืชเสพติด แต่ด้วยมาตรฐานที่ดีของการ ผลิตกาแฟและความพิถีพิถัน ทำให้เมล็ดกาแฟของที่นี่มีคุณภาพสูง สภาพแวดล้อมในจังหวัด เชียงรายส่งผลให้กาแฟปางขอนมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้กาแฟปางขอนโด่งดังและเคยถูกโรงคั่วกาแฟชั้นนำของโลกสั่งซื้อ เพื่อนำไปเสิร์ฟที่ร้าน

2. บ้านแม่จันใต้ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หมู่บ้านอาข่ากลางหุบเขาที่เป็นเส้นทางเรียนรู้ภูมิ ปัญญาการทำกาแฟ ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ยึดในการรักษาผืนป่า แหล่งต้นน้ำที่สะอาด ปลอดสารพิษ มีกระบวนการผลิตกาแฟพิเศษที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

3. บ้านวัดจันทร์ อ.กัลยาณวัฒนา จ.เชียงใหม่ ในอดีตกัลยาณิวัฒนาเน้นการปลูกข้าวทำไร่ หมุนเวียน ทำให้เกิดสารเคมีสะสมในหน้าดิน อีกทั้งการตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อการทำไร่ยังส่งผลให้ การกักเก็บน้ำหายไป ทำให้หน้าดินเสื่อมโทรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อมีกาแฟเข้ามา ชุมชนจึงหันมา ปลูกไม้ใหญ่เผื่อเอื้อต่อผลผลิตกาแฟ เช่น บ๊วย เลมอน ลิ้นอื่นจี่ ส้ม ทำให้ปัญหาการต่อสู้กับราคากลางเป็นธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางธรรมชาติและเศรษฐกิจควบคู่กัน

4. บ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของธรรรมชาติและ ปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อให้ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพสูง ทั้งความชื้น ดิน แสงแดด อุณหภูมิ สายพันธุ์และคนกาแฟ พื้นที่แห่งนี้ไม่ปลูกกาแฟแบบเชิงเดี่ยว แต่กาแฟทุกต้นจะปลูกแชมไปในร่มเงาของพรรณไม้ใหญ่และพืชท้องถิ่น เช่น เหมี่ยง ลูกพลับ พลัม แมคคาเดเมีย และไม้ป่าอื่นๆตลอดจนการปรับตัวของสายพันธุ์และการต่อยอดองค์ความรู้ของผู้คนที่ดูแลต้นกาแฟทำให้พื้นที่แห่งนี้ค้นพบหนึ่งในสายพันธุ์กาแฟที่ได้ขึ้นเป็นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในที่สุด

และ 5.บ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นเขาหัวโล้น และชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยง ชีพด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ทุกวันนี้กลับปกคลุมไปด้วยป่าเขียวชอุ่มจากไม่ใหญ่และพืช เศรษฐกิจอย่างกาแฟ ด้วยต้นทุนที่สมบูรณ์พร้อมดิน ฟ้า อากาศ และสายพันธุ์กาแฟ ทำให้ที่นี่สร้างปรากฏการณ์ด้านกาแฟที่น่าสนใจ ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศในทุกๆ รายการ ประกวดเมล็ดกาแฟของประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือเวทีที่จัดโดย SCATH Specialty Coffee Association of Thailand ที่มาของสมญานาม "Treasure of Thailand"

5 เส้นทางท่องเที่ยวของ ‘คนรักกาแฟ  สาย ‘Cafe Hopping’ ไปภาคเหนือต้องรู้

นอกจากนั้นยังมีการจัดโชว์เมล็ดพันธุ์ที่ชนะการประกวด 5 เมล็ดพันธุ์ที่ชนะการประกวด 5 เมล็ดพันธุ์ ได้แก่

1. อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

2. บ้านแม่จันใต้ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

3. บ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

4. บ้านปางขอน อ.เมือง จ.เชียงราย

5. บ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด (เทพเสด็จ) จ.เชียงใหม่

โดยการดม และชมการสาธิต การชงกาแฟจากแหล่งปลูกชื่อดังและได้รับรางวัลสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทย จากการประกวด Thai Specialty Coffee Awards