Intelligent Asia Thailand 2025 ก้าวใหม่อุตสาหกรรม ‘อัจฉริยะ’
“เมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ต” ร่วมกับ “ยอร์คเกอร์ส เทรด แอนค์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส”และ จีเอ็มทีเอ็กซ์” จัดงาน Intelligent Asia Thailand 2025 และ Automation Thailand 2025 ขับเคลื่อนโอกาสที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยุคใหม่
พร้อมดึง Brand Event ระดับโลกอย่าง SPS เปิดตัวเป็นครั้งแรกในภูมิภาค มาร่วมจัดเวที SPS Stage ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค.2567 เวลา 10.00 -18.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยในวันที่ 1 ต.ค.2567 ได้มีการสัมมนา Intelligent Integration - The Open Collaboration Toward Smarter Thai Manufacturing “ร่วมมือ ร่วมผสาน สู่ก้าวใหม่การผลิตไทยอัจฉริยะ”
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในหัวข้อ Part Transformation - ยกเครื่องเทคโนโลยีการผลิตไทยสู่อุตสาหกรรมใหม่ ว่า ความจำเป็นและเรื่องเร่งด่วนที่อุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ เพราะโลกเต็มไปด้วยความท้าทายทั้งเทคโนโลยีดิสรัปชัน ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ส.อ.ท. มี 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ โดยครึ่งหนึ่งกำลังถูกภัยคุกคามทางดิจิทัล ทำให้ความต้องการสินค้าที่ได้รับความนิยมลดลง
ทั้งนี้ จากเทรดวอร์ที่รุนแรงขึ้น ผู้ผลิตที่เก่งสุดในโลก คือ จีน และเป็นผู้ค้าขายทั่วโลก 2 ผู้นำสหรัฐฯ ต่างประกาศสงครามการค้ากับจีน และประกาศตัวเลขขาดดุลการค้าที่มหาศาล มองจีนเป็นภัยทางการค้า จึงเพิ่มอัตราภาษีนำเข้า ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ ดีคาร์บอไนเซชั่น ไทยต้องเลือกข้างว่าจะอยู่กับซัพพลายเชนหรือเทคโนโลยี เพราะเทรดวอร์จะยังอยู่และเป็นตัวแปรสำคัญ
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกให้ความสำคัญไม่ใช่เฉพาะสงคราม แต่เป็นภัยคุกคามโดยเฉพาะประชากรโลก ที่เกิดภัยธรรมชาติถี่ขึ้น ประเทศไทยเดิมเป็นประเทศเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งผลิตอาหารชั้นนำของโลก ทั้งส่งออกข้าว น้ำตาล ยางพารา แต่เป็นการส่งออกของวัตถุดิบการเกษตร และยังอยู่ในประเทศยากจน รายได้ต่ำ จึงต้องทรานส์ฟอร์มมาสู่อุตสาหกรรมใหม่
“เรามีจุดแข็ง 4 ข้อ คือ แรงงานจำนวนมาก แรงงานราคาถูก ที่ดินราคาถูก และอยู่ในภูมิภาคที่เชื่อมต่อการลงทุน ทำให้ญี่ปุ่น อเมริกา ยูโรป ต่างย้ายฐานการผลิตมาไทย” นายเกรียงไกร กล่าว
หลังจากนั้น 40 ปีที่ผ่านมาเรายังอยู่ที่เดิมคือ OEM แม้ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตอยู่อันดับ 10 ของโลก สามารถผลิตยานยนต์ปีละ 2.3 ล้านคัน ส่งออกครึ่ง แต่เป็นรถสันดาปภายใน ดังนั้น วันนี้เป็นความท้าทายเพราะถูกการเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ตอนนี้จุดแข็ง 4 ข้อเหลือข้อเดียว คือจุดศูนย์กลางภูมิภาค
ทั้งนี้ สิ่งที่มีผลกระทบโครงสร้างอุตสาหกรรมคือไทยยังเป็น OEM ที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งยังมีต้นทุนค่าไฟเมื่อเทีบบคู่แข่งภูมิภาคราคาแพงกว่าเกือบเท่าตัว เพื่อนบ้านที่เป็นฐานการผลิตสินค้าเดียวกันเฉลี่ยกว่า 2 บาท ไทย 4.18 บาท ดังนั้น ต้นทุนการผลิต ค่าแรง วัตถุดิบ โลจิสติกส์ไทยประสบปัญหาเพราะที่ผ่านมาการวางโครงสร้างพื้นฐานไทยเน้นทางบกเป็นเกณฑ์ที่ต้นทุนกว่า 14% ดังนั้น หากจะให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องผสมผสานทั้ง ทางบก ราง น้ำ และอากาศ
นอกจากนี้ กฏหมายไทยยังล้าหลังซึ่งมีเกือบ 1 แสนฉบับ ถือว่ามากสุดในโลก การแข่งขันรุนแรงในตลาด กติกาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน เทรดวอร์เพิ่ม การตั้งป้อมไม่นำเข้าสินค้าจีน ขึ้นภาษี เหมือนน้ำป่าเชียงราย หากประตูยกไม่สูงความเสียหายเกิดขึ้น สินค้าก็เปลี่ยนเส้นทางมาที่อาเซียนโดยในรอบ 16 ปี สินค้ามูลค่าจาก 5 แสนกว่าล้านดอลลาร์ หายไป 20% มาอยู่ในอาเซียน และเป็นของจีน ถือเป็นภัยคุกคาม
“นโนบายสำคัญที่ ส.อ.ท. จะยกเครื่องให้เพิ่มขีดความสามารถ ปัจจุบันแบ่งอุตสาหกรรมเป็น 2 ส่วน คืออุตสาหกรรมดั่งเดิม และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ต้องบาลานซ์กำไรให้พอสมควรพร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อม ขณะนี้เป็นที่น่าดีใจที่ผู้ผลิต PCB ขอการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI กว่า 30 แห่ง และคาดว่าจะมี 100 โรงงานมาไทย เงินลงทุนรายละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท” นายเกรียงไกร กล่าว
นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวในหัวข้อ BOI’s supports on new industries and transformational technologies ว่า บีโอไอต้องขยายผลการสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจริยะและระบบออโตเมชั่นที่ทำมาระยะแล้วราว 7 ปี ถือว่าได้รับผลสำเร็จระดับหนึ่งที่น่ายินดี ถือเป็นเครื่องมือให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะสิทธิประโยชน์เรื่องภาษี ซัพพอร์ทวิซ่าสำหรับการนำเข้าทรัพย์สิน และสิทธิถือครองที่ดินตามเงื่อนไข เป็นต้น
ทั้งนี้ ด้วยความที่เป็นการลงทุนเมื่อมีปัญหา นักลงทุนจะนึกถึงบีโอไอ ดังนั้น บีโอไอจะต้องให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา โดยปัจจัยที่มีผลเป็นความท้าทายบทบาทการสนับสนุนการลงทุนในอนาคตมี 3 ประเด็น คือ 1. ความขัดแย้งของขั้วมหาอำนาจ อาจเป็นจุดดีที่เลือกประเทศที่ 3 ของการลงทุน 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3. ที่กระทบโดยตรง คือ กติกาภาษีใหม่โลก ดังนั้น มาตรการยกเว้นภาษีอาจไม่จูงใจ จึงต้องพยายามหากลไกต่าง ๆ มาดึงดูด
ส่วนที่เป็นจุดขายประเทศที่เสนอเมื่อโรดโชว์ อาทิ โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ความพร้อมด้านดิจิทัล ไทยมี 5จี มีห่วงโซ่การผลิตที่แข็งแกร่ง พร้อมระบบป้องกัน เป็นสวรรค์ของหลายคนทั้งความเป็นอยู่ อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย แรงงานทักษะ และตลาดที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียว
“ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนปัจจุบัน เราคุ้นเคยกับการให้สิทธิประโยชน์แบบพื้นที่ วันนี้ไม่ได้ให้ตามเขตโซนแล้ว แต่จะเป็นเรื่องของสินค้าที่ผลิต โดยนโยบายส่งเสริม 5 ปี ต้องนำพาเศรษฐกิจไทยมาสู่เศรษฐกิจใหม่ ทั้งการปรับโครงสร้างผลักดันเศรษฐกิจไทย สังคมชุมชน และขยายการลงทุนต่างประเทศ”
สำหรับมาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไทย เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จะสนับสนุนซัพพลายเชน โดยจะมีตั้งแต่ซัพพลายไซต์เครื่องจักร เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพ ทั้งการประหยัดพลังงาน ดิจิทัล ที่เป็นสมาร์ท บีโอไอให้การสิ่งเสริม การซื้อเครื่องจักรต่างประเทศเข้ามา หากเพิ่มสัดส่วน 30% ในประเทศสามารถยกภาษีเงินได้เพิ่มด้วย
นอกจากนี้ ในงานสัมมนาครั้งมีผู้เข้าร่วม อาทิ Mr.Israel Gogol - Group Manager, Messe Frankfurt, นายชนะ ลีภัทรพงศ์พันธ์ หัวหน้าทีมวิจัยทีแมค