เจาะแผนพัฒนา 'สนามบินพะเยา' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

เจาะแผนพัฒนา 'สนามบินพะเยา' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

เปิดผลศึกษา "สนามบินพะเยา" กรมท่าอากาศยานจ่อลงทุน 4 พันล้านบาท ลุยพัฒนาอาคารผู้โดยสารพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร คาดดีมานด์ผู้โดยสารสูงสุด 3 แสนคนต่อปี

“สนามบินพะเยา” มีจุดเริ่มต้นในปี 2564 กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้รับการอนุมัติงบประมาณเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง และได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท ดีเคท คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท อลานา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด วงเงิน 5.79 ล้านบาท ทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้

โดยการศึกษาโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และเสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคมไปแล้วเมื่อปี 2565 สถานะปัจจุบันยังค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณา และขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจัดจัดทำรายงานกระประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เออีไอ) และเสนอแบบก่อสร้างต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2567 การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 2/2567 จังหวัดพะเยา “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศว่า วันนี้ตั้งใจมาดูพื้นที่พัฒนาสนามบินพะเยาที่จะศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งถ้าติดตามนโยบายรัฐบาลหลายด้าน จะเห็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด คือ การยกระดับเมืองรองเป็นเมืองหลัก โดยปัจจัยสำคัญในการทำให้เมืองรองเป็นเมืองหลักอยู่ที่การคมนาคม ซึ่งสนามบินถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด

เจาะแผนพัฒนา \'สนามบินพะเยา\' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

สำหรับสนามบินพะเยา นับเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ของ ทย. ลำดับที่ 30 คาดการณ์ว่าจะเปิดให้ใช้บริการในปี 2577 โดยจากผลการศึกษาจะพัฒนาบนพื้นที่ 2,813 ไร่ ในตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกตำใต้ จังหวัดพะเยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท แบ่งเป็น

  • มูลค่าการก่อสร้างโครงการ ประมาณ 2,000 ล้านบาท
  • มูลค่าการเวนคืน (จากการประเมิน ปี 2562) ประมาณ 1,700 ล้านบาท
  • มูลค่าการดูแลรักษาสนามบิน ตลอด 30 ปี ประมาณ 720 ล้านบาท

เจาะแผนพัฒนา \'สนามบินพะเยา\' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

ขณะที่ประมาณการณ์ผู้โดยสาร จากผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่หนึ่ง 10 ปีแรกของการเปิดให้บริการ

เปิดให้บริการในปี 2577 คาดมีความต้องการใช้บริการ 78,348 คนต่อปี จนถึงปี 2587 จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 94,920 คนต่อปี

ระยะที่สอง 20 ปีของการเปิดให้บริการ

จะมีความต้องการใช้บริการ 230,213 คนต่อปี

ระยะที่สาม 30 ปีของการเปิดให้บริการ

จะมีความต้องการใช้บริการ 324,969 คนต่อปี

เจาะแผนพัฒนา \'สนามบินพะเยา\' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

ในส่วนของแผนพัฒนาสนามบินพะเยา จะออกแบบเพื่อรองรับเครื่องบิน A320 และ 737 โดยพัฒนาทางวิ่งกว้าง 45 เมตร ยาว 2,500 เมตร มีหลุมจอด 2 หลุม อนาคตสามารถขยายได้ถึง 3 หลุม พร้อมรองรับการติดสะพานเทียบเครื่องบินการคาดหวังผลประโยชน์สนามบิน นอกจากนี้ยังพัฒนาอาคารผู้โดยสารให้มีพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับดีมาน์การเดินทาง มีลานจอดรุยนต์ส่วนบุคคล 150 ช่องจอด รวมไปถึงคลังสินค้า ลานเก็บวัสดุซ่อมบำรุง ลานจอดและโรงซ่อมอุปกรณ์บริการภาคพื้น

เจาะแผนพัฒนา \'สนามบินพะเยา\' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

เจาะแผนพัฒนา \'สนามบินพะเยา\' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน