ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ศรีลังกา … ประตูสู่ตลาดเอเชียใต้

ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ศรีลังกา … ประตูสู่ตลาดเอเชียใต้

ประเทศไทยและศรีลังกาได้ร่วมลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ศรีลังกา เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2567 ที่ผ่านมา นับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทยที่ทำไว้กับ 19 ประเทศ และเป็นฉบับแรกภายใต้รัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน”

"FTA ฉบับนี้มีการเปิดตลาดสินค้ากว่า 85% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด เปิดให้ไทยถือหุ้นสาขาบริการได้ 100% ใน 50 สาขาย่อย และถือหุ้นในการลงทุนได้ 100% ใน 35 สาขา

ประเทศไทยว่างเว้นการมี FTA ฉบับใหม่มานานกว่า 3 ปี โดยฉบับสุดท้ายที่ได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2563 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP จนกระทั่งไทยได้ลงนามความตกลง FTA ไทย-ศรีลังกา และมีผลบังคับใช้ในปีนี้

ภาคการค้า ทั้งสองฝ่ายได้นำสินค้ากว่า 85% ของสินค้าทั้งหมดมาลดภาษี โดยสินค้าที่ศรีลังกาจะลดภาษีเป็น 0% ให้ทันทีนานถึง 16 ปี คิดเป็น 50% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด หรือกว่า 4,000 รายการ อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปุ๋ย หนังเทียม เคมีภัณฑ์ เยื่อกระดาษและกระดาษคราฟท์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอนกระป๋อง อาหารสัตว์ กุ้งแช่เย็น โคกระบือมีชีวิต และเครื่องเงิน

ภาคบริการ ศรีลังกาเปิดให้ไทยเข้าไปถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 100% ใน 50 สาขาย่อย อาทิ โรงแรมและร้านอาหาร บริการขนส่งทางทะเล บริการนายหน้าและตัวแทนประกันภัย บริการแฟรนไชส์ บริการโทรคมนาคม บริการสิ่งแวดล้อม บริการโฆษณา และบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ

ภาคการลงทุน ศรีลังกาเปิดให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนโดยถือหุ้นได้ 100% ใน 35 สาขา อาทิ การแปรรูปอาหาร (ผลไม้ ผัก ถั่ว มั่นฝรั่ง) การผลิตสิ่งทอ (ยกเว้นทอผ้าด้วยมือ) การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยาและเวชภัณฑ์ การผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และทันตกรรม

สินค้าไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากความตกลง ได้แก่ ยานยนต์ สิ่งทอ อัญมณี โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็ก กระดาษ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง อาหารสัตว์ เมล็ดข้าวโพด เป็นต้น ส่วนภาคบริการที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ การเงิน ประกันภัย ท่องเที่ยว ก่อสร้าง และการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ด้าน