ภูมิรัฐศาสตร์กับการค้าสู่การเกิดใหม่ ของนวัตกรรม-ฟันเฟืองแห่งเทคโนโลยี

ภูมิรัฐศาสตร์กับการค้าสู่การเกิดใหม่  ของนวัตกรรม-ฟันเฟืองแห่งเทคโนโลยี

ไทม์ไลน์ แห่งความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือ ภูมิรัฐศาสตร์ เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 อันมีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในของสหรัฐมหาอำนาจที่แค่ขยับตัวโลกก็สั่นสะเทือน

ซ้ำยังมีคู่ขัดเเย้งเป็นมหาอำนาจเช่นกันอย่างจีน เกิดเป็นมหากาพย์สงครามการค้า ต่อมาก็เป็นสงครามเทคโนโลยี จนนำไปสู่การแยกห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ-จีน 

หลังโลกเผชิญการระบาดโควิด-19 ในปีรุ่งขึ้น ก็เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนขึ้น ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์จำเป็นหลายรายการปั่นป่วนและปรับราคาสูงขึ้น กระชากเงินเฟ้อในหลายประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นำไปสู่นโยบายทางการเงินที่เข้มงวด บีบตัวให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงกลายเป็นภาระทางการเงินของชาวบ้านทั่วไป 

ความสงครามยังไม่หายความวอดวายจากร่องรอยประวัติศาสตร์ก็ปะทุขึ้นมาอีกจากการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ต่อเนื่องจนถึงการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง เส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญระหว่างเอเชียและยุโรป 

เหตุการณ์นอกบ้านทั้งหมดนี้ อาจห่างไกลในเเง่ระยะทางต่อประเทศไทย แต่ผลกระทบทั้งหมดเกิดขึ้นกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นมีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ

ณิชชาภัทร กาญจนอุดมการ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดสงครามการค้า ต่อเนื่องไปสู่สงครามเทคโนโลยี และส่งผลไปสู่การแยกห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ-จีน 

ทั้งนี้ สหรัฐมีการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อดูแลอุตสาหกรรมภายใน ในตอนแรกเป็นการใช้มาตรการกับทุกประเทศซึ่งรวมถึงไทยด้วย แต่เมื่อสหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้นนำไปสู่การกำหนดมาตรการเฉพาะที่ใช้กับจีน โดยอ้างพฤติกรรมการค้าของจีนที่ไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายจีนก็ตอบโต้ด้วยการใช้มาตรการภาษีเช่นเดียวกับสหรัฐ ในอัตราที่ไม่ต่างกัน 

กระทั่งปี 2563 ทั้งสองประเทศได้รับความเสียหายจากการตอบโต้มาตรการทางการค้ากันไปมา จนนำไปสู่ข้อตกลงที่มีสาระสำคัญว่าด้วยการที่จีนจะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น แต่ข้อตกลงดังกล่าวจนถึงขณะนี้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากเกิดโควิด-19 ขึ้นก่อน ทำให้มาตรการทางภาษีระหว่างสองประเทศยังคงเดินหน้าต่อไปจนถึงปัจจุบันนี้ 

 “ผลจากความขัดแย้งนี้ ได้ส่งผลต่อเนื่องไปถึงประเทศที่ 3 ซึ่งพบว่า  ทั้งสหรัฐและจีนมีการนำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

ภูมิรัฐศาสตร์กับการค้าสู่การเกิดใหม่  ของนวัตกรรม-ฟันเฟืองแห่งเทคโนโลยี

หลังการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดี มาเป็น โจ ไบเดน ความขัดแย้งสหรัฐและจีนก็ไม่บรรเทาลง  แต่เปลี่ยนเป้าหมายไปที่การแข่งขันและเตะตัดขากันทางเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่า “สงครามเทคโนโลยี” เพราะสหรัฐมองว่า เทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีผลต่อความมั่นคงด้วย 

ทั้งนี้หากประเมินกำลังระหว่างสหรัฐและจีน ก็จะพบว่า มีจุดแข็งต่างกันแต่ก็เป็นข้อดีที่ทำให้สองประเทศจนถึงขณะนี้เรียกได้ว่ายังกินกันไม่ลง 

โดยจุดแข็งสหรัฐด้านเทคโนโลยี คือ มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในขณะที่จีน มีจุดแข็งคือการประยุกต์และต่อยอดเทคโนโลยีได้ดี รวมถึงมีแรงงานที่มีทักษะสูงสามารถลดต้นทุนเทคโนโลยีหลายอย่างจนกลายเป็นเจ้าตลาดได้ในที่สุด 

     “การแย่งชิงการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี อยู่ที่การชิงความได้เปรียบในเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่เพราะเป็นองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีที่สำคัญ ทั้งเอไอ คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ด้านความมั่นคงดังนั้น สหรัฐจึงคุมเข้มการส่งออกหรือการผลิตเซมิคอนดักเดอร์ที่จะไปถึงจีน แต่รัฐบาลจีนก็ออกมาตรการส่งเสริมการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ที่คาดว่าอาจตามสหรัฐทันในเร็วนี้ ” 

นอกจากนี้ สหรัฐและจีนยังแข่งขันดันด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีควอนตัม ซึ่งจะเปลี่ยนโลกเทคโนโลยีด้วยความสามารถประมวลผลดาต้าขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว

รูปแบบการแข่งขันในสงครามเทคโนโลยี นี้ จะเป็นการส่งเสริมศักยภาพในประเทศผ่านการออกกฎหมายสำคัญ เช่น ในฝั่งสหรัฐ ออกพ.ร.บ.ชิปและวิทยาศาสตร์ (CHIPS and Science Act)  ส่วนจีน ก็ออกแผนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ 2030

จากความขัดแย้งนี้ นำไปสู่การแยกห่วงโซ่อุปทานระหว่างสหรัฐกับจีน (US-China Decoupling) เนื่องจากสหรัฐและจีนต้องการสร้างความมั่่นคงและยืดหยุ่นให้กับห่วงโซ่อุปทาน โดยไม่ให้พึ่งพาแหล่งผลิตหรือตลาดของอีกฝ่ายมากเกินไป ซึ่งฝั่งสหรัฐให้ความสำคัญกับการทบทวนห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ แบตเตอรี่ความจุพลังงานสูง (รวมแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า) แร่สำคัญ ยา และสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ส่วนจีน กำหนดให้วงจรรวม หรือ เซมิคอนดักเตอร์ เป็น 1ใน7 อุตสหกรรมเป้าหมายภายใต้แผนพัมนาเศรษฐกิจของจีน ฉบับที่ 14 

จนถึงขณะนี้ จีนและสหรัฐก็ยังคงต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องในสงครามการค้า และสงครามเทคโนโลยี ในปีนี้หากการเลือกตั้งทั่วไปในสหรัฐมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำรูปแบบสงครามอาจเป็นไปได้ทั้งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือ แย่ลงก็เป็นได้

     ณิชชาภัทร  กล่าวอีกว่า ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในรูปแบบการสู้รบที่ใช้อาวุธจริงๆก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นคือสงครามรัสเซีย-ยูเครนซึ่งยังไม่ท่าที ยุติ และมีความซับซ้อน รุนแรงขึ้น เนื่องจากชาติพันธมิตรยืนหยัดช่วยเหลือทางทหารจนกว่าจะได้รับชัยชนะ เช่นเดียวกับการสู้รบกันระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ซึ่งขยายวงไปสู่การโจมตีทะเลแดงโดยกลุ่มฮูตี ทำให้กลไกการค้าโลกได้รับผล

กระทบ

สำหรับผลกระทบต่อการค้าต่อไทย หากสถานการณ์ขยายวงอาจทำให้การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางขยายตัวในอัตราชะลอลง นอกจากนี้ หากราคาปุ๋ยปรับตัวเพิ่มขึ้นจาการที่อุปทานปุ๋ยตึงตัว ก็จะส่งผลต่อต้นทุนของเกษตกรไทย ขณะที่ปัญหาด้านโลจิสติกส์ ต้นทุนค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการที่ค่าระวางสินค้าและค่าประกันภัยสินค้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นและอาจก่อให้เกิดความล่าช้าการขนส่งได้ 

อย่างไรก็ตามประเทศไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดแผนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมเปิดตลาดการค้าใหม่ๆ รวมถึงเดินหน้าสร้างแต้มต่อทางการค้า ผ่านข้อตกลงทางการค้าเสรี หรือFTA อย่างต่อเนื่อง 

ขึ้นชื่อว่าความขัดแย้ง และการต่อสู้กันไปมา ผลที่ไม่คือความสูญเสีย ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผู้คุมเกมด้านภูมรัฐศาสตร์ที่จะรู้สึุกตัวเร็วก็หยุดเร็ว สูญเสียน้อย แต่ถ้ารู้สึกตัวช้า คำว่า“ความสูญเสีย”อาจไม่เพียงพอต่อผลต่างๆที่เกิดขึ้น