ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร หากเข้าเป็นสมาชิก ‘OECD’

ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร  หากเข้าเป็นสมาชิก ‘OECD’

ไทยเดินหน้าเข้าเป็นสมาชิก OECD ยกระดับเศรษฐกิจมาตรฐาน กฎหมาย การศึกษา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ได้ตามมาตรฐานตามเกณฑ์ที่ OECD กำหนดยกระ พร้อมยื่นเรื่องถึงคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาต่อไป

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD เป็นองค์กรเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ซึ่งเดิมเป็นการรวมกลุ่มของประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว และมีการยอมรับระบอบประชาธิปไตย และเศรษฐกิจการค้าเสรีเดิมใช้ชื่อว่าองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป (OEEC) ซึ่งในช่วงเวลาก่อตั้งนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นองค์การนี้จึงเคยมีบทบาทมากในการฟื้นฟูเศราฐกิจยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ปัจจุบัน OECD มีบทบาทมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก มีสมาชิก 38 ประเทศทั่วโลก

ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยยังไม่มีประเทศในอาเซียนเข้าเป็นสมาชิก โดย OECD มีการเปิดรับสมาชิกใหม่ซึ่งต้องมีการประเมินในด้านต่างๆและมีขั้นตอนในการขอเข้าเป็นสมาชิกซึ่ง

ไทยรุกยื่นสมัครสมาชิก OECD

ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้   หลังจากเข้าร่วม Country Programme ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เมื่อเร็วๆนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และกระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้มีการยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลไทย ในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD)

โดย ครม.มอบหมายให้สภาพัฒน์ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกลไกและหน่วยขับเคลื่อนหลัก ในการผลักดันให้ไทยสามารถได้รับสิทธิเป็นสมาชิก OECD ได้ ในโอกาสที่ใกล้ที่สุด

วานนี้ (23 ก.พ.) นพ. พรหมินทร์  เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างความตระหนักรู้ในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนาของประเทศไทย ครั้งที่ 2 จัดโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ในการเจรจากับต่างประเทศมีหลายฝ่ายที่จะต้องทำโดยการสมัครองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดีเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลกำลังสานฝันเพื่อให้ไทยเข้าสู่มาตรฐานที่สำคัญของโลก

 

นอกจากนี้รัฐบาลยยังได้เดินหน้าในการแก้อุปสรรคการค้าและการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยมีนายธงทอง จันทรางศุ เป็นประธานคณะกรรมการ

  “เหตุผลที่ไทยมีควาเป็นที่จะต้องเป็นสมาชิกโออีซีดี เพื่อที่จะยกระดับประเทศให้เป็นประเทศที่มีมาตรฐานขั้นสูง ขอยกตัวอย่างเมือเราเจ็บป่วย อยากรักษาอะไร อยากกินยาอะไร ยาที่ซื้อทั่วไปตามท้องถนนหรือยาสมุนไพร หรือยาที่เป็นที่รับรอง รักษาโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง แน่นอนที่สุดท่านปรารถนาอะไรที่เป็นที่รองรับ ซื้อสินค้ามีสินมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร  หากเข้าเป็นสมาชิก ‘OECD’
เพื่อสร้างความมั่นใจขึ้น มองหาสิ่งที่เป็นมาตรฐาน เช่นกันกับการค้าและการลงทุนคนที่เข้ามาติดต่อการค้าและลงทุนในไทย จะต้องมีความมั่นใจด้านกฎกมายและกติกาทางธุรกิจที่จะไม่โดนโกง สิ่งสำคัญคือระบบการศึกษา แรงงาน และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร เพราะทุกวันนี้โลกกำลังให้ความสำคัญเรื่องของความยั่งยืน กระบวนการทั้งหมดกำลังก้าวไปสู่จุดนั้น" เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าว 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ในการเข้าเป็นสมาชิก OECD และลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกลไกการดำเนินงานภายในประเทศ ทั้งนี้ สำหรับหนังสือแสดงเจตจำนงฯ กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งสำเนาหนังสือให้กับสำนักเลขาธิการ OECD แล้ว ซึ่งถือเป็นการสมัครเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ หลังจากนี้ OECD จะนำเรื่องการสมัครของไทยเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีต่อไป

อย่างไรก็ตามในเรื่องต่างประเทศไทยจะเป็นคนกลางในการเร่งรัดให้เกิดขึ้นซึ่งสันติภาพและความผาสุขร่วมกันของโลก ดังจะเห็นได้จากไทยไม่เป็นศัตรูกับใคร ขณะเดียวกันหนึ่งในปัญหาใหญ่ในขณะนี้นอกเหนือกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน คือสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และในการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการนายวังอี้ รมว.ต่างประเทศของ จีน กับ เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของ สหรัฐฯ ได้เลือกไทยเป็นสถานที่ในการเจรจา สะท้อนว่าไทยเป็นศูนย์กลางเป็นที่ปรารถนาของโลกทุกฝ่ายที่จะลงมาลงทุน และการค้าขายกับไทย

รายงานจาก สศช.เปิดเผยว่าประโยชน์และผลกระทบของการเข้าเป็นสมาชิก OECD การเข้าเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การ ปฏิรูปโครงสร้างหลายมิติและมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิก การ์เข้าถึงฐานข้อมูลเศรษฐกิจโลกที่หลากหลาย การได้รับคำปรึกษา และความช่วยเหลือทางวิชาการจาก OECD และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีโลก

 

รับการแข่งขันสูงขึ้นเมื่อเข้าเป็นสมาชิก

อย่างไรก็ตาม การเข้าเป็นสมาชิกอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในบางเรื่อง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD ที่มีผลผูกพันกฎหมายภายในประเทศของไทย (legally binding) เช่น การแข่งขันทางการค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น ความผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยนจากการไหลเข้าออกของเงินทุนระยะสั้น และการเปิดเสรีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ OECD เปิดให้ประเทศสมาชิกสามารถจัดทำข้อสงวนการลงทุนในบางกิจการให้เฉพาะ ผู้ประกอบการภายในประทศได้ รวมถึงการเจรจาขอจัดทำข้อสงวนอื่น ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ