'พลังงาน' ลั่นเจรจาพื้นที่ทับซ้อน 'ไทย-กัมพูชา' เสร็จในรัฐบาลนี้

'พลังงาน' ลั่นเจรจาพื้นที่ทับซ้อน 'ไทย-กัมพูชา' เสร็จในรัฐบาลนี้

"ปลัดพลังงาน" ยันเจรจาพื้นที่ทับซ้อน "ไทย-กัมพูชา" หากรัฐบาลนี้ทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องหวังรัฐบาลชุดอื่น แง้มเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในแผน PDP จ่อประชาพิจารณ์ปลายเดือนนี้ เดินหน้านโยบายสร้างความมั่นคงพลังงาน ภายใต้ราคาที่เป็นธรรม ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน การในงานเสวนา Thailand Energy Executive Forum หัวข้อ "ทิศทางพลังงานไทยปี 2567" จัดโดยสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) ว่า ปี 2566 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะภาคไฟฟ้า หากเทียบสัดส่วนก่อนเกิดโควิด ส่วนการใช้น้ำมันถือว่ากลับมาในปริมาณเท่าปี 2562 เว้นแต่น้ำมันเครื่องบิน (Jet-A1) ยังอยู่ในระดับ 80% 

ทั้งนี้ ปี 2566 ยอดการใช้ไฟฟ้าทะลุ 2 แสนหน่วย ถือว่ามากที่สุด รวมถึงการใช้ไฟฟ้าพีคสูงสุดกว่า 34,827 เมกะวัตต์  ในช่วงเดือน พ.ค. 2566 ถือเป็นจุดที่น่าสนใจว่าการใช้ไฟพีคนี้เกิดขึ้นในเวลา 3 ทุ่มกว่า ๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 14.00-15.00 น

สำหรับปัจจัยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเวลากลางคืนมีนัยยะสำคัญมาจาก

1. การใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน เมื่อกลับมาถึงบ้าน ด้วยความร้อนระหว่างวันทำให้อุณหภูมืในห้องอบอ้าวจึงต้องเปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิ

2. การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีปริมาณสูงเกือบ 5 เท่า จากตัวเลขการจดทะเบียน 1 แสนคันที่นิยมชาร์จไฟฟ้าในเวลากลางคืน และ

3. การติดตั้งโซลาร์ ซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เฉพาะในเวลากลางวัน ดังนั้น การใช้ไฟของ 3 การไฟฟ้าจึงสูงเวลากลางคืน 

ทั้งนี้ จะเห็นชัดว่าจากการขอใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์มีอัตราเพิ่มขึ้นมากจากก่อนหน้านี้ยังไม่เป็นที่นิยมปีละหลัก 100 กว่าราย แต่ปัจจุบันยอดขอติดตั้งเฉลี่ยเดือนละกว่า 100 ราย และปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยอีกปัจจัยมาจากการที่กระทรวงอุตสาหกรรม ปลดล็อคในเรื่องของการขอใบอนุญาต รวมถึงอัตราค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น เป็นต้น 

"เรามีตัวเลขการใช้รถอีวีถือว่าสูงสุดในกลุ่มอาเซียน หากนับรวม 9 ประเทศ ก็อาจไม่เท่าเรา ซึ่งมาจากนโยบายสนับสนุนอีวี 30&30 แม้ปัจจุบันสถานีชาร์จอีวียังไม่เพิ่มสูงมากมีราว 8 พันกว่าหัวชาร์จ ซึ่งภาคธุรกิจเริ่มนิยมติดตั้ง อีกทั้งการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พยายามเพิ่มปริมาณหัวชาร์จอีวีให้ครอบคลุมเช่นกัน"

\'พลังงาน\' ลั่นเจรจาพื้นที่ทับซ้อน \'ไทย-กัมพูชา\' เสร็จในรัฐบาลนี้

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญเรื่องของพลังงาน คือ ราคา ความมั่นคง และสะอาด รัฐบาลทุกยุคต่างให้ความสมดุลทั้ง 3 เรื่อง โดยเฉพาะความมั่นคง จะเห็นได้ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้รับอนุญาตแหล่งเอราวัณ ส่งผลให้กำลังการผลิตลดลง จึงต้องพึ่งพาการนำเข้า LNG และเป็นจังหวะเดียวกับวิกฤติสงครามรัสเซียและยูเครน และสถานการณ์ตะวันออกกลาง ทำให้ราคาก๊าซตลาดโลกสูงขึ้นโดยปี 2564-2565 ราคาเฉลี่ยรวม 80 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ส่วนช่วงปี 2566 อยู่ที่ 30-40 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ซึ่งแนวโน้มปีนี้ราคาพลังงานได้เริ่มลงลงเหลือราว 10 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู

"เราพยายามเร่งกำลังแหล่งเอราวัณให้สามารถดึงก๊าซในอ่าวไทยให้ได้ตามสัญญา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในเดือนเม.ย. 2567 จะช่วยลดการนำเข้า เมื่อรวมกับพลังงานหมุนเวียนที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับซื้อไปแล้วกว่า 5 พันเมกะวัตต์ จะเริ่มทะยอยเข้ามาในระบบจะทำให้ประเทศไทยมีพลังงานสะอาดมากขึ้น เพราะทั่วโลกต่างถามหาแต่พลังงานสะอาด ทั้งการลงทุนและการค้าโดยสินค้าส่งออกไปต่างประเทศเรียกร้องถึงสินค้าที่ผลิตจะกำหนดค่าของการปลดปล่อยคาร์บอน"

ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมหากต้องการพลังงานสะอาดจึงต้องจ่ายเงินที่สูงขึ้นเพื่อแลกกับใบรับรองว่าไฟฟ้าที่ผลิตสินค้ามีการลดการปลดปล่อยคาร์บอนน้อย ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้เปิดประชาพิจารณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีเอกชนขอจองการซื้อเข้ามาแล้ว ทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ 

นายประเสริฐ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการปล่อยคาร์บอนเฉลี่ยปีละ 370 ล้านตัน 70% มาจากภาคพลังงาน ถือเป็นตัวร้ายและอาจเป็นพระเอกถ้าทำสำเร็ว โดยปริมาณ 260 ล้านตัน ของภาคพลังงานหากจะให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2050 และ Net zero ปี 2065 จะต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงานจากอัตราการใช้รถอีวี สร้างอินฟราซัคเจอร์ระบบส่งและสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าในท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้มีการซื้อขายไฟระหว่างกัน เป็นต้น

\'พลังงาน\' ลั่นเจรจาพื้นที่ทับซ้อน \'ไทย-กัมพูชา\' เสร็จในรัฐบาลนี้

สำหรับความคืบหน้าร่างแผนพลังงานชาติ ที่ต้องบูรณาการ 5 แผนย่อยเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) 2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) 3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และ 5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)

โดยหัวใจหลักอยูที่แผน PDP โดยเฉพาะสัดส่วนก๊าซ พลังงานหมุนเวียน และการประหยัดพลังงานจะต้องมีสัดส่วนเท่าไหร่ โดยคาดว่าแผน PDP จะสามารถเปิดประชาพิจารณ์ปลายเดือนก.พ. หรือต้นเดือนมี.ค. นี้ เบื้องต้นจะต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนมากขึ้นถึง 70% และปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซออกไป 

"ในแผน PDP จะมีเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในตัวเลือกของ 7-8 สมมติฐาน อาทิ เรื่องของราคาไฟแพง ราคาก๊าซที่ลดลง เรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ดังนั้น เรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงจะต้องนำมาประชาพิจารณ์สาธารณะเพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชนที่ยังมีเป็นประเด็นตัวอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่เคยมีปัญหา จึงต้องสื่อสาร แต่ก็ต้องปรึกษานายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนว่าจะเลือกไปประชาพิจารณ์หรือไม่" 

ส่วนประเด็นที่เวียดนามและอินโดนีเซียราคาค่าไฟถูกกว่าประเทศไทย ต้องยอมรับว่าทั้ง 2 ประเทศใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งเวียดนามมีพลังงานน้ำ แต่ต้องแลกกับปัญหาด้านความมั่นคง ซึ่งไทยเน้นความสมดุล 3 เรื่อง ไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่กำลังการผลิตราว 2,900 เมกะวัตต์ ถือว่าไม่เยอะ กฟผ.จะต้องบริหารจัดการน้ำ ในเขื่อน เพราะต้องคำนึงถึงท้ายเขื่อนที่ต้องรับน้ำ ดังนั้น ไทยจะเน้นการบริหารจัดการน้ำก่อนการผลิตไฟฟ้า 

นอกจากนี้ หากการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (overlapping claims areas –OCA) เร็จจะเป็นอีกความหวัง ซึ่งหากรัฐบาลชุดนี้ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องหวังรัฐบาลชุดอื่น ถือเป็นอีกทางออกเพื่อช่วยให้ค่าไฟถูกลงได้ ซึงการไปพลังงานสะอาดหากจะให้มั่นคงจะต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนให้การใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งแสงแดดและลมมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วย 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้พยายามให้มีการผลิตแบตเตอรี่มากขึ้นทั้งในรถยนย์ และส่งเสริมด้านไฟฟ้าเพราะต้นทุนการใช้ไฟฟ้าผ่านโซลาร์อย่างเดียวค่าไฟจะอยู่ที่ราว 2 บาท บวกก๊าซไปจะอยู่ที่ 3 บาท แต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่จะขึ้นมาที่ 4-5 บาท ซึ่งในระยะยาวราคาจะลงมาราว 3 บาทได้ ดังนั้น ในช่วงนี้ รัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดเพื่อให้ราคาไม่สูงมากนัก

"ราคาพลังงานสำคัญต่อการเป็นอยู่ของประชาชน เราพยายามไม่ให้ค่าไฟและน้ำมันสูงเกินไปโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาช่วย และให้ปตท.และกฟผ.รับภาระไว้ก่อน ซึ่งตอนนี้ปตท.รับไว้หลักหมื่นล้านบาท ส่วนกฟผ.เกือบแสนล้านบาท ซึ่งก็ต้องคืน และตั้งเป้า 3-4 ปีนี้จะดึงเงินเข้ากองทุนฯ ให้ได้"