กนอ.ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่น หนุนสาธารณูปโภคสีเขียวใน "สมาร์ทปาร์ค"

กนอ.ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่น หนุนสาธารณูปโภคสีเขียวใน "สมาร์ทปาร์ค"

“พิมพ์ภัทรา” นำทัพ กนอ.โรดโชว์ญี่ปุ่น ดึงอุตฯ พลังงานสะอาดลงทุนเพิ่ม จับมือ "IHI" ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ศึกษาบริการสาธารณูปโภคสีเขียวในนิคมฯ นำร่อง "สมาร์ท ปาร์ค" หนุนผู้ประกอบการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

KEY

POINTS

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ความร่วมมือแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาการให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียวโดยใช้พลังงานทดแทน ระยะเวลา 1 ปี 

ระยะที่ 2 ตั้งโรงงานต้นแบบสาธิตในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค   

ระยะที่ 3 ในกรณีที่ผลการศึกษามีความเป็นไปได้ จะมีการขยายผลและร่วมธุรกิจเชิงพาณิชย์ (Commercialization Phase) 

โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทน มุ่งมั่นส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียวในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 

สำหรับบริษัท IHI และ IHIAPT เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมหนัก อาทิ การต่อเรือ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องยนต์อากาศยาน พลังงานทางเลือก รวมถึงไฮโดรเจน โดยบริษัทฯ มีความสนใจในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตและการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อการบรรลุตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ยังคงสดใส โดยบริษัทที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ผลิตไมโครชิป และเครื่องใช้ไฟฟ้า สนใจที่ขยายการลงทุนเพิ่มเติมกว่า 10,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมโรดโชว์ที่ผ่านมาโดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนำทีม เป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการญี่ปุ่นตัดสินใจขยายลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากได้รับการยืนยันว่าจะเร่งแก้ปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าประชุมเจรจาความร่วมมือร่วมกับนายไซโต เค็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และคณะ เพื่อหารือร่วมกันถึงการพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียว รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงจากหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนและผู้ประกอบการรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนในอนาคตอันใกล้

“พิมพ์ภัทรา” นำทัพ กนอ.โรดโชว์ญี่ปุ่น ดึงอุตฯ พลังงานสะอาดลงทุนเพิ่ม จับมือ "IHI" ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ศึกษาบริการสาธารณูปโภคสีเขียวในนิคมฯ นำร่อง "สมาร์ท ปาร์ค" หนุนผู้ประกอบการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ประเทศไทยและญี่ปุ่นถือเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกันและกันมาอย่างยาวนาน โดยปัจจุบันญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนเป็นอันดับ 1 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม มีจำนวน 1,973 ราย มูลค่าลงทุนสะสม 2.85 ล้านล้านบาท ซึ่งกว่า 70% ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และการขนส่ง อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยาง

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วโลก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ

รวมถึงจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในหลายด้าน ได้แก่ เพิ่มมูลค่าการส่งออก เพิ่มการจ้างงาน พัฒนาทักษะแรงงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งทำให้เกิดความเชื่อมโยง ห่วงโซ่อุปทานในประเทศ

 

ล่าสุด ในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ.2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นประธานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ บริษัท ไอเอชไอ คอร์ปอเรชั่น (IHI) และ บริษัท ไอเอชไอ เอเชีย แปซิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด (IHIAPT) ว่าด้วยความร่วมมือในการศึกษาความเป็นไปได้ของการให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียว (Green Utility) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

กนอ.ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่น หนุนสาธารณูปโภคสีเขียวใน \"สมาร์ทปาร์ค\"

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานทดแทนในนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่สำหรับ "การให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียว" และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจสีเขียวต่อไปในอนาคต 

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ความร่วมมือแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาการให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียวโดยใช้พลังงานทดแทน ระยะเวลา 1 ปี 

ระยะที่ 2 ตั้งโรงงานต้นแบบสาธิตในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค   

ระยะที่ 3 ในกรณีที่ผลการศึกษามีความเป็นไปได้ จะมีการขยายผลและร่วมธุรกิจเชิงพาณิชย์ (Commercialization Phase) 

โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทน มุ่งมั่นส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับให้บริการสาธารณูปโภคสีเขียวในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 

สำหรับบริษัท IHI และ IHIAPT เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมหนัก อาทิ การต่อเรือ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องยนต์อากาศยาน พลังงานทางเลือก รวมถึงไฮโดรเจน โดยบริษัทฯ มีความสนใจในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตและการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อการบรรลุตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

กนอ.ผนึกพันธมิตรญี่ปุ่น หนุนสาธารณูปโภคสีเขียวใน \"สมาร์ทปาร์ค\"

นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ยังคงสดใส โดยบริษัทที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตไมโครชิป และเครื่องใช้ไฟฟ้า สนใจที่ขยายการลงทุนเพิ่มเติมกว่า 10,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมโรดโชว์ที่ผ่านมาโดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนำทีม เป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการญี่ปุ่นตัดสินใจขยายลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากได้รับการยืนยันว่าจะเร่งแก้ปัญหาและอุปสรรคต่อการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าประชุมเจรจาความร่วมมือร่วมกับนายไซโต เค็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และคณะ เพื่อหารือร่วมกันถึงการพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียว รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงจากหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนและผู้ประกอบการรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนในอนาคตอันใกล้