ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67 3 'พรรคการเมือง' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 'พรรคการเมือง' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

ส่อง 10 กระทรวง /หน่วยงานได้งบประมาณสูงสุดประจำปีงบประมาณปี 2567 พบ 3 พรรค คุมงบกระทรวงใหญ่รวมกว่า 2 ล้านล้านบาท เพื่อไทยบริหารงบฯกว่า1 ล้านล้านบาท ภูมิใจไทยได้ 8 แสนล้าน หลังคุมงบฯมหาดไทย อว. ศึกษา แรงงาน พลังประชารัฐบริหารงบฯเกษตร 1.18 แสนล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 3-5 ม.ค. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะประชุมพิจารณา (ร่าง) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วาระแรก โดยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 3,480,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 295,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

“กรุงเทพธุรกิจ” ตรวจสอบ เอกสารร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567  พบว่า 10 กระทรวง/หน่วยงาน  ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงสุด รวมเป็นวงเงิน 1,894,809 ล้านบาท หรือเกือบ 2 ล้านล้านบาท โดยทั้ง 10 กระทรวง/หน่วยงาน  ที่ได้รับงบประมาณสูงสุดนั้นอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการที่มาจาก 3 พรรคการเมืองเท่านั้นได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังประชารัฐ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 \'พรรคการเมือง\' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

1.พรรคเพื่อไทย  ได้รับงบประมาณรวม 909,499 ล้านบาท

  • กระทรวงการคลัง  327,155 ล้านบาท
  • กระทรวง กลาโหม  198,230 ล้านบาท
  • กระทรวง คมนาคม 183,635 ล้านบาท
  • กระทรวงสาธารณสุข  165,726 ล้านบาท
  • สำนักนายกรัฐมนตรี  34,753 ล้านบาท

ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 \'พรรคการเมือง\' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

2.พรรคภูมิใจไทย  ได้รับงบประมาณรวม  866,714 ล้านบาท

  • กระทรวงมหาดไทย 353,127 ล้านบาท
  • กระทรวงศึกษาธิการ 327,374 ล้านบาท
  • กระทรวงอุดมศึกษาฯ 124,555 ล้านบาท
  • กระทรวงแรงงาน 61,658 ล้านบาท

 

ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 \'พรรคการเมือง\' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

3.พรรคพลังประชารัฐ ได้รับงบประมาณรวม 118,596 ล้านบาท

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 118,596 ล้านบาท

ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 \'พรรคการเมือง\' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

 

10 กระทรวงได้รับจัดสรรงบประมาณสูงสุดในปี67

ในส่วนของงบประมาณปี 2567 มีหลายกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้คืนหนี้เงินกู้ โดยมีรายละเอียดงบประมาณรายกระทรวงเรียงจากมากไปน้อยดังนี้

  1. กระทรวงมหาดไทย 3.531 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 2.78 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.57%
  2. กระทรวงศึกษาธิการ 3.283 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 1,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.31%
  3. กระทรวงการคลัง 3.271 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.73%
  4.  กระทรวงกลาโหม 1.983 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 3,821 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.96%
  5.  กระทรวงคมนาคม 1.836 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 3,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.84%
  6.  กระทรวงสาธารณสุข 1.657 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 1.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.84%
  7. กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 1.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 2,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.74%
  8. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1.18 แสนล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 9,537 ล้านบาท ลดลง 7.44%
  9. กระทรวงแรงงาน 6.16 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปีงบประมาณก่อน 7,332 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.5%
  10. สำนักนายกรัฐมนตรี 3.47 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปีงบประมาณก่อน 2,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.35%

ส่อง ’10 กระทรวง‘ งบฯสูงสุดปี 67  3 \'พรรคการเมือง\' คุมงบประมาณเฉียด 2 ล้านล้าน

 

งบประมาณปี 67 มีโครงสร้างงบประมาณดังนี้ 

1.รายจ่ายประจำ กำหนดไว้เป็นจำนวน 2,532,826.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 130,287.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยรายจ่ายประจำดังกล่าว คิดเป็นสักดส่วนร้อยละ 72.8 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 75.4 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2566

2.รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง กำหนดไว้เป็นจำนวน 118,361.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 118,361.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นการชดใช้เงินคงคลังเพิ่มเติม จากวงเงินที่ใช้ไปในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เป็นกรณีมีเหตุผลเฉพาะ เนื่องจากมีการจัดทำงบประมาณล่าช้ากว่าการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในกรณีทั่วไป

ต้องชดใช้ไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ซึ่งเป็นการชดใช้เงินคงคลังที่ได้จ่ายไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และ พ.ศ.2566 โดยรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.4 ของวงเงินงบประมาณ

3.รายจ่ายลงทุน  กำหนดไว้เป็นจำนวน 717,722.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 28,242.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 (รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ที่เป็นรายจ่ายลงทุน จำนวน 7,230.2 ล้านบาท) โดยรายจ่ายลงทุนดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.6 ขงวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 21.7 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2566

4.รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ได้จัดสรรไว้เป็นจำนวน 118,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 18,320 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 โดยรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.4 ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับร้อยละ 3.1 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ทั้งนี้ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,230.2 ล้านบาท