SME 'สปา-ของที่ระลึก' ฟื้นตัวช้า‘หอการค้า’ เสนอรัฐอุ้มธุรกิจท่องเที่ยว

SME 'สปา-ของที่ระลึก' ฟื้นตัวช้า‘หอการค้า’ เสนอรัฐอุ้มธุรกิจท่องเที่ยว

หอการค้า เผย เอสเอ็มอีภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มภัตตาคาร สถานบันเทิง ขนส่ง ด้านกลุ่มสปาและของที่ระลึกยังน่าห่วง เสนอรัฐบาลออก 3 มาตรการหนุนเอสเอ็มอี กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดต้นทุนธุรกิจ ออกสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง

นายสนั่น กล่าวว่า ทั้งนี้ภาคเอกชนมีข้อเสนอต่อภาครัฐให้ช่วยเหลือ คือ 

1.ออกมาตรการกระตุ้นและสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการยังต้องการให้เร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเดินทางมาเที่ยวไทยเพื่อปรับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยให้ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในกลุ่มลูกค้าไทยและต่างชาติ รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ออกบูท ทำ roadshow และประชาสัมพันธ์ในหลากหลายช่องทาง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 

2.มาตรการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย เช่น ลดค่าสาธารณูปโภค ภาษี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ รวมถึงช่วยอุดหนุนค่าแรง หากได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 

3.มาตรการด้านการเงิน โดยมีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับธุรกิจโรงแรมในการปรับปรุงที่พักเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังอยากให้มีมาตรการพักชำระหนี้สำหรับธุรกิจโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก เพื่อลดภาระการชำระหนี้ชั่วคราว

ในภาพรวมยังถือว่าเริ่มฟื้นตัวได้ดี คาดว่าในไตรมาส 4 จะกลับมาดีขึ้นเนื่องจากอยู่ในช่วงไฮซีซั่น หรือในปลายปีนี้ โดย รายได้ อัตราการเข้าพัก เดือน พ.ย.อยู่ที่ 66% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว" 

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เป็นเอสเอ็มอี เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาส​ 3​ ของปีนี้โดยมีรายได้ฟื้นตัวประมาณ 54% ​เมื่อเทียบกับปี​ 2562​ และน่าจะดีขึ้นอีกเมื่อจบไตรมาสสุดท้าย

สำหรับกลุ่มที่กลับมาดีที่สุดเมื่อเทียบกับปี​ 2562​ คือ​ ภัตตาคารร้านอาหาร​ สถานบันเทิง​ และขนส่ง​ ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการที่รายได้ฟื้นตัวช้าได้แก่​ ของที่ระลึก​ และนวดสปา​ 

ส่วนSMEs ในกลุ่มท่องเที่ยวโรงแรม โดยผู้ประกอบการด้านที่พักแรมทีมีรายได้กลับมามากที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2562 คือ ภาคกลาง และ กทม.ซึ่งกลับมาแล้วถึง 61% และ 59% แต่ตัวเลขค่าเฉลี่ยเหล่านี้จะมีภาพลวงตาอยู่เนื่องจากหากลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความพร้อมจะมีรายได้กลับมาสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก 

ในขณะที่ SMEs ส่วนใหญ่รายได้ยังกลับมาน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเชื่อว่าไตรมาส 4 และต่อเนื่องไปยังปีหน้า แต่อย่างไรก็ดีการที่รายได้กลับมาเกินกว่า 37% ของปี 2562 ถือว่าอยู่ในจุดที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้

สำหรับการจ้างงานเริ่มปรับตัวดีขึ้นแม้ว่า โรงแรมราวครึ่งหนึ่งยังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่วนใหญ่กระทบคุณภาพการให้บริการ แต่ไม่กระทบความสามารถในการรองรับลูกค้า

สำหรับคาดการณ์อัตราการเข้าพักเดือน ธ.ค.อยู่ที่ 69.7% โดยโรงแรมที่มีสัดส่วนลูกค้าต่างชาติมากกว่า 50% คิดเป็น 73% ของผู้ตอบ และกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เข้าพักส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเอเชียและตะวันออกกลาง (ไม่รวมจีน) และยุโรปตะวันตก ซึ่งทั้งปีคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 28 ล้านคนและปีหน้าคาดจะเพิ่มเป็น 35 ล้านคน

ส่วนผลกระทบจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ต่อการท่องเที่ยวของลูกค้าตะวันออกกลาง (ยกเว้นอิสราเอล) ไม่มากนัก โดยโรงแรมกว่า 50% คาดว่าในไตรมาส 4 ลูกค้ากลุ่มนี้จะยกเลิกการจองห้องพักไม่เกิน 15% โดยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไปและในเกือบทุกภูมิภาค 

ขณะที่โรงแรมประมาณ 40% คาดว่าจะไม่ยกเลิกการจอง โดยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาวและอยู่ในภาคเหนือ