‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ เผย 3 เทรนด์จ้างงาน 67 ดิจิทัล - ESG - อีคอมเมิร์ซ มาแรง!

‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ เผย 3 เทรนด์จ้างงาน 67   ดิจิทัล - ESG - อีคอมเมิร์ซ มาแรง!

โรเบิร์ตวอลเทอร์ส เผยผลสำรวจแนวโน้มงานปี 67 แนวโน้มพนักงานย้ายงานน้อยลง องค์กรรับพนักงานใหม่ยากขึ้น ในตำแหน่งระดับกลางและสูงขององค์กร ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น องค์กรขนาดใหญ่จ้างผบห.ใช้สัญญาระยะสั้น สายITแข่งดุ ดิจิทัล ESG ซัพพลายเชน มาแรง

วานนี้ (29 พ.ย.)  โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลกเปิดเผยผลสำรวจเงินเดือนประจำปี 2567รวมทั้งภาพรวมของเงินเดือนและแนวโน้มการสรรหาบุคลากรทั่วโลกรวมถึงข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มการจ้างงานและเงินเดือนของตลาดแรงงานไทยในปี 2567

นางปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการประจำประเทศไทยของบริษัท โรเบิร์ต วอลเตอร์ส กล่าวว่าจากการสำรวจข้อมูลเชิงลึกของพนักงานและบริษัทต่างๆในประเทศไทย ตั้งแต่เดือน กันยายน 2566 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 570 คน โดยพบ 3 เทรนด์การจ้างงานที่สำคัญในปี 2567 ได้แก่ 

3 เทรนด์จ้างงานปี 67 

  1. Boomerang Employees หรือการที่พนักงานกลับมาทำงานกับบริษัทเดิมหลังจากที่เคยลาออกไปแล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นเทรนด์ใหม่ของการจ้างงาน ซึ่งแม้จะมีประโยชน์กับองค์กรในการสามารถทำงานได้ทันที และผู้ทำงานสามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรเดิมที่เคยทำงาน แต่ผู้จ้างงานต้องคำนึงถึงผลกระทบในเรื่องความรู้สึกของพนักงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันหาก ผู้ที่กลับมาทำงานใหม่กลับมาโดยได้รับโปรโมทตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม 
  2. Internal Mobility ซึ่งปัจจุบ้นคือการหมุนเวียนความสามารถของพนักงานภายในองค์กร โดยการส่งเสริมพนักงานให้เคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งหรือแผนกที่แตกต่างจากตำแหน่งปัจจุบันของพวกเขา เป็นเทรนด์ที่สำคัญที่ช่วยรักษาคนทำงานไว้ในองค์กร เช่น บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขาในต่างประเทศส่งพนักงานไปทำงานในประเทศอื่น ซึ่งเห็นเทรนด์ลักษณะนี้มากขึ้น และพนักงานคนไทยในปัจจุบันไม่รู้สึกเป็นอุปสรรคในการไปทำงานต่างประเทศ และรู้สึกว่าได้ทำงานที่ท้าทายมากขึ้น 
  3.  การจ้างงานในระยะสั้นที่เรียกว่า Contract หรือ Interim เพื่อให้องค์กรมีเวลาเลือกบุคคลที่เหมาะสมในการเข้ามาทำงานในตำแหน่งสำคัญสำคัญมากขึ้น 

ปัญหาเศรษฐกิจ - ความเสี่ยงมีผลต่อการย้ายงาน-จ้างงานในปี 67 

นอกจากนี้แนวโน้มการจ้างงานและการเปลี่ยนงานของผู้บริหาร ระดับกลางและระดับสูงในปี 2567 พบว่าการหางานใหม่และการจ้างงานใหม่จะมีการตัดสินใจที่ใช้เวลานานยาวนานมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้ทำงานและผู้จ้างงาน โดยผู้ทำงานมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานยากขึ้นเนื่องจากคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้สวัสดิการที่เหมาะสมรวมทั้ง ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนงานเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนภาวะสงครามในต่างประเทศ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ในขณะที่ฝ่ายของผู้จ้างงานจะใช้ระยะเวลานานขึ้นในการเลือกผู้ทำงานโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางแม้จะมีความต้องการในสาขาอาชีพจำนวนมากแต่ฝ่ายจ้างงานจะพิจารณาคุณสมบัติความสามารถของผู้ที่ทำงานพนักงานที่เข้ามาเพื่อให้พนักงานที่เข้ามา สามารถทำงานได้ทันทีหรือเริ่มทำงานหลังจากที่อบรมณ์เพิ่มเติมเล็กน้อยโดยอาจเห็นขั้นตอนการคัดเลือกที่มีการสัมภาษณ์เพิ่มจากปกติ ซึ่งเป็นสภาวะที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาในช่วงที่ตลาดงานฟื้นตัวจากโควิด-19 ในช่วงนั้นนายจ้างจะรับคนเข้าทำงานง่ายกว่า

"ภาวะการชะลอตัวในการรับคนเข้าทำงานใหม่ทำให้ทำให้บางองค์กรที่อยู่ในระหว่างคัดเลือกผู้บริหารระดับสูงในระดับ C-Level หรือ Director โดยวิธีการจ้างงานในระยะสั้นที่เรียกว่า Contract หรือ Interim เพื่อให้องค์กรมีเวลาเลือกบุคคลที่เหมาะสมในการเข้ามาทำงานในตำแหน่งสำคัญสำคัญมากขึ้น การจ้างงานตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในระยะเวลาหนึ่งที่เป็นอาจเป็นระยะเวลาหนึ่งถึงสองปีซึ่งแต่เดิมจะเห็นการจ้างงานในลักษณะนี้ เฉพาะอุตสาหกรรมและธุรกิจไอทีแต่เทรนในปัจจุบันนี้รวมทั้งปีหน้าจะเห็นการจ้างงานในลักษณะนี้มากขึ้น"

‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ เผย 3 เทรนด์จ้างงาน 67   ดิจิทัล - ESG - อีคอมเมิร์ซ มาแรง!

การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการยังไม่มีผลกับเอกชน 

เมื่อถามว่าการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการมีผลต่อการปรับขึ้นเงินเดือนของเอกชนหรือไม่นั้น นางปุณยนุช ตอบว่าในขณะนี้ยังไม่เห็นผลกระทบในเรื่องของการจ้างงานภาคเอกชนจากการประกาศเพิ่มเงินเดือนของข้าราชการจากหน่วยงานรัฐบาล แต่เริ่มเห็นความต้องการ บุคลากรในบางสาขาจากการที่ภาครัฐดึงการลงทุนจากต่างประเทศทำให้มีอุตสาหกรรมและบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาตั้งสำนักงานและโรงงานผลิตในประเทศไทยซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนที่มากขึ้นโดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีนที่เข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เริ่มมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นแล้วเช่นกัน รวมทั้งการจ้างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (International Headquarter) ในประเทศไทยซึ่งเป็นอีกนโยบายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน

ตำแหน่ง ESG มีแนวโน้มเติบโต

นอกจากนี้การจ้างงาน ที่อาจจะต้องสรรหาคนจากต่างประเทศเป็นบางตำแหน่งงานที่มีความสำคัญมากขึ้นในองค์กรอย่างเช่นตำแหน่งระดับสูงที่เกี่ยวกับการทำโครงการ ESG หรือ Zero Carbon ซึ่งเริ่มเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ที่ทำงานด้านนี้นานซึ่งผู้บริหารที่ทำงานในตำแหน่งเหล่านี้ในประเทศไทยยังมีประสบการณ์น้อย บางบริษัทจึงเปิดกว้างในการจ้างคนจากตำแหน่งนี้ในต่างประเทศซึ่งเชื่อว่าในประเทศไทยจะมีความต้องการตำแหน่งงานในส่วนนี้มากขึ้นในอนาคต

สำหรับตำแหน่งงานที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้นการขายและการตลาด และตำแหน่งที่เน้นเทคโนโลยีเป็นหลัก ส่วนภาคการดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และยานยนต์ เป็นภาคส่วนที่ต้องการคนเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล อีคอมเมิร์ช และนักวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าซึ่งแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต

ขณะเดียวกันในปี 2567 ที่กำลังจะถึงนี้ นายจ้างต่างเล็งเห็นปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี การขาย บัญชีและการเงิน การตลาดและซัพพลายเชน และการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว 92% ของบริษัทจึงโฟกัสที่การพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับพนักงานของตนผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภายในและภายนอก และการให้งบสนับสนุนการฝึกอบรมส่วนบุคคล

ในขณะเดียวกัน เกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานที่ตอบแบบสำรวจ (50%) วางแผนที่จะเพิ่มทักษะทางเทคนิคและทักษะด้านสังคมซึ่งรวมถึงลักษณะอุปนิสัยที่ช่วยให้สามารถทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ ซอฟท์สกิล (soft skill) ของตนเองในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด

นอกจากนี้ในส่วนของผลการสำรวจพบว่าสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น เปลี่ยนแปลงไปสู่เรื่องความยึดหยุ่นในการทำงาน ความสมดุลของงานและชีวิตส่วนตัว วัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์กับตนเอง การให้ความสำคัญต่อเรื่องความ รับผิดชอบทางสังคม (CSR) และการยอมรับและเคารพต่อความหลากหลายในองค์กร

“การจูงใจให้พนักงานทำงานในองค์กร นอกจากค่าตอบแทน โบนัสและสวัสดิการที่เหมาะสมความต้องการของพนักงานในปัจจุบัน ยังต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานเริ่มเห็นความต้องการที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้างในการกลับเข้ามาทำงานแบบฟูไทม์ในออฟฟิศซึ่งขณะนี้นายจ้างอยากให้กลับมาทำงานสัปดาห์ละ 4-5 วันในขณะที่ลูกจ้างยังอยากทำงานในออฟฟิศแค่ไม่เกินสองถึงสามวันต่อสัปดาห์ซึ่งในส่วนนี้บางสายงานและบางบริษัทนำ เป็นข้อเสนอในการดึงดูดพนักงานให้เข้าไปทำงานในองค์กรเนื่องจากเล็งเห็นว่าพนักงานต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น”

‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ เผย 3 เทรนด์จ้างงาน 67   ดิจิทัล - ESG - อีคอมเมิร์ซ มาแรง!

สายงาน IT แข่งขันสูงเรียกเงินเดือนเพิ่มสูงสุดได้ 40% 

สำหรับสายงานที่ยังคงมีการแข่งขันกันสูงเพื่อดึงดูดพนักงานเข้าไปทำงานอันดับต้นๆยังคงเป็นสายงานไอที โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถทั้งในด้านเทคโนโลยีและสายงานการบริหาร เช่นในตำแหน่ง Head of IT หรือ IT manager  ตำแหน่ง Project manager ที่มีความรู้เรื่องการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีขององค์กร และตำแหน่งความปลอดภัยในเรื่องไซเบอร์ หรือตำแหน่ง IT Security หรือ Cyber Security ซึ่งในสายงานนี้จากผลการสำรวจพบว่านายจ้าง 79% จะมีการปรับขึ้นเงินเดือน ขณะที่ 50% กำลังมองหาตำแหน่งงานใหม่  และ 50% มั่นใจว่าสามารถหางานใหม่ในสายงานที่ทำอยู่ได้ โดยหากจะเปลี่ยนงานกลุ่มนี้คาดหวังค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นประมาณ 10-40% โดยในส่วนที่จะได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นถึง 40% หากย้ายงานใหม่ จะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นผู้ที่สร้างและพัฒนาโปรแกรม หรือมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีIT เฉพาะทาง เป็นต้น

พนักงานมองหาอะไรในการทำงานที่ใหม่

‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ เผย 3 เทรนด์จ้างงาน 67   ดิจิทัล - ESG - อีคอมเมิร์ซ มาแรง!

นางนัฐติยา ซอล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ทรัพยากรบุคคล ซัพพลายเชน และวิศวกรรม และอีสเทิร์น ซีบอร์ด ของโรเบิร์ต วอลเทอร์ส กล่าวว่าจากผลการสำรวจระบุว่าภายใน 12 เดือนข้างหน้า 15% ของพนักงานตั้งใจจะเปลี่ยนงานใหม่โดย 73% ค่อนข้างเชื่อมั่นในโอกาสที่จะเปลี่ยนงานในสายงานอาชีพของสายงานตนเอง ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาโยกย้ายงานไปทำที่ใหม่ ได้แก่

  • ค่านิยมของบริษัท (44%)
  • ปัจจัยอื่นๆ (89%)
  • ประกันสุขภาพเอกชน (74%)
  • การทำงานที่ยืดหยุ่น การทำงานโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (59%)
  • สิทธิ์ในวันหยุดและวันลา (41%)
  • ประกันความคุ้มครองชีวิต / โรคร้ายแรง (30%)