เส้นทางวิบาก 'ประธานบอร์ด ปตท.' แรงบีบการเมืองผลัดใบ

เส้นทางวิบาก 'ประธานบอร์ด ปตท.' แรงบีบการเมืองผลัดใบ

เปิดเส้นทางวิบากของตำแหน่งประธานบอร์ด ปตท. ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ที่ต้องเจอกับแรงกดดันในช่วงของการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน โดยกระทรวงการการคลังถือหุ้น 51% ดำเนินธุรกิจเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ มีรายได้ปี 2565 กว่า 3 ล้านล้านบาท ดังนั้น การบริหารงานภายใต้รัฐบาลจึงต้องมีข้อจำกัดและแรงกดดันสูง โดยเฉพาะประธานบอร์ด

รายงานข่าวระบุว่า นายทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตประธาน ปตท. ซึ่งดำรงแหน่งเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2565 ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท. ถึง2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ภายหลังรับตำแหน่งในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในสมัยนั้น โดยขอลาออกจากตำแหน่งในบอร์ด ปตท.ทั้งหมดและให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15

ทั้งนี้ เนื่องจากมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับคณะทำงานของรัฐบาล  และถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ โดยนอกจากยื่นลาออกจากการเป็นประธานบอร์ด ปตท.แล้ว ยังอยู่ระหว่างยื่นหนังสือลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาล โดยนายทศพรขณะนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของพล.อ.ประยุทธ์ ที่ได้มีการแต่งตั้งตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.2563 

อย่างไรก็ตาม นายทศพร ถือว่าเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่พล.อ.ประยุทธ์ ให้ความไว้วางใจ และได้เคยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แทนนายปรเมธี วิมลศิริ ที่ถูกโยกย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อนายทศพรเกษียนณอายุแล้วพล.อ.ประยุทธ์ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2565 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ทำหนังสือชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปตท. ไม่ได้รับหนังสือลาออกจากตําแหน่งประธานของนายทศพร ตามที่ปรากฏในข่าวแต่อย่างใด

สำหรับการยื่นหนังสือลาออกจากประธาน ปตท. ครั้งที่ 2 ของนายทศพร เกิดขึ้นอีดครั้งเมื่อทีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นนัฐมนตรีว่าการกระรวงพลังงาน โดยนายทศพร  ได้ทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ลงวันที่ 12 ต.ค. 2566 เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่และมีคำสั่งให้ ปตท.ปฏิบัติตามข้อบังดับคังกล่าวอย่างเคร่งครัด และหรือมีคำสั่งอื่นใดเพื่อระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นผลมาจากการจงใจตีความข้อบังคับผิดไปจากลายลักษณ์อักษร

ต่อมานางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ ลงนามแทนเลขาธิการ สำนักงาน กลต. ได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการ ปตท. วันที่ 17 ต.ค. 2566 เรื่อง การตีความข้อบังคับของ ปตท. ตามที่ สำนักงาน กลต. ได้รับหนังสือร้องเรียน โดยขอเรียนว่าคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทท่านต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 89/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยต้องดำเนินกิจการของบริษัทด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับบริษัท เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม และหากมีเหตุที่จะต้องตีความข้อบังคับให้พิจารณาตามความประสงค์ในทางสุจริตเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของข้อบังคับดังกล่าว

รายงานข่าวระบุว่า ต่อมาในการประชุมบอร์ด ปตท. เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการ ได้รับทราบการลาออกของนายทศพร และมีกระแสข่าวว่าที่ประชุมคณะกรรมการได้เลือกนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ปตท. แทน โดยจะให้มีผลทันทีหรือไม่นั้น และจะต้องรอให้ปตท. รายงานผลการประชุมต่อตลท.

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะต้องมีการเปลี่ยนประธานกรรมการ และกรรมการ ตามการปรับเปลี่ยนรัฐบาล โดยก่อนการประชุมวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการถกเถียงถึงประเด็นการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการ ปตท. โดยเฉพาะประธานกรรมการ แต่ก็ไม่มีการนำวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมแต่อย่างใด จนมาถึงวาระการประชุมวันที่ 19 ต.ค. 2566 ถึงกระแสการลาออกของนายทศพร แต่ก็ยังไม่พบหนังสือยืนยันการลาออก

ต่อมา นายอรรถพล ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 ถึงมติแต่งตั้ง นายประเสริฐ เป็นประธาน ปตท. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.2566 และให้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามแนวทางที่ปฎิบัติมาตามมติ คนร.

โดย บอร์ดปตท. ประกอบด้วย 

  • ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ประธานกรรมการ/กรรมการ
  • นายกฤษณะ บุญยะชัย กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ​
  • นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
  • นายพงศธร ทวีสิน กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร​​
  • พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
  • รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน​ กรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร​
  • นายผยง ศรีวณิช กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหา
  • นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการอิสระ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการสรรหา​
  • ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ กรรมการอิสระ
  • รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ​
  • นายลวรณ แสงสนิท กรรมการ กรรมการสรรหา​
  • พล.อ.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ​
  • นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กรรมการ, เลขานุการคณะกรรมการ, กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม, ประธานเจ้าหน้าทีบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่