จี้รัฐ ‘เยียวยา’ พื้นที่เกษตรสุโขทัยน้ำท่วมแสนไร่

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ และวิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ตุลาคม 2566

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ดังนี้
 1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ และวิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมี พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ตุลาคม 2566 ดังนี้ 
1.1 เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง 
1.2 เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำวัง ได้แก่ จังหวัดตาก แม่น้ำยม ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200 – 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

 2. สภาพอากาศ
 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ และ
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และ
อ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก
 3. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมสนับสนุนการระบายน้ำในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองจันทบุรี เขตเทศบาลตำบลท่าช้าง เขตเทศบาลตำบลพลับพลา เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ เขตเทศบาลตำบลบางกะจะ และเขตเทศบาลเมืองจันทร์นิมิตร จังหวัดจันทบุรี