อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66 สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท

อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานใหญ่ “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 พร้อมผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมไทย มุ่งสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ 4 วัน รวมกว่า 34 ล้านบาท

 นายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า จากการจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ภายใต้แนวคิด “ไหมไทยล้ำค่า สายใยแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยคุณภาพมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม

อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท

รวมทั้งภารกิจและผลงานของกรมหม่อนไหมให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งกรมหม่อนไหม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาไหมไทยตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและในระดับสากล โดยในปีนี้ตลอดการจัดงาน 4 วัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ จำนวน 34,326,544 บาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายผ้าไหมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน จำนวน 17,165,224 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม จำนวน 12,481,251 บาท ตลอดจน ยอดการสั่งจองผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน และผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม จำนวน 4,680,069 บาท

          อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท

 

โดยภายในงานยังมีการสาธิตและการแสดงที่เกี่ยวข้องกับหม่อนและไหม อาทิ การสาธิตทำอาหารจากดักแด้ไหม การซักรีดผ้าไหมด้วยตนเอง การเดินแฟชั่นโชว์จากเด็กและเยาวชน ตลอดจน การเดินแฟชั่นโชว์ของนางแบบมืออาชีพ นางแบบกิตติมศักดิ์ และทูตอัตลักษณ์ไหมไทย จาก 19 ประเทศ ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าว เป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ และสวมใส่ผ้าไหมไทยมาเป็นอย่างดียิ่ง รวมทั้งยังเป็นตัวแทนในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

          นอกจากนี้ นิทรรศการต่างๆ ยังได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน ทั้งนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดแสดงเครื่องหมายตรานกยูงพระราชทาน นิทรรศการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นิทรรศการพันธุ์หม่อน พันธุ์ไหมอนุรักษ์

การนำเสนอไหมกินใบหม่อนและไหมที่กินใบพืชชนิดอื่น การนำเสนอการพัฒนาพันธุ์ไหมที่เหมาะสมในการผลิตผ้าห่มใยไหม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดความชื้น ระบายเหงื่อและน้ำมันจากร่างกาย จึงทำให้รู้สึกแห้งสบายตัว และเย็นแม้ในค่ำคืนของฤดูร้อน นิทรรศการงานวิจัยผลิตภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์จากไหมไทย นิทรรศการผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ นิทรรศการไหมขัดฟัน ผลงานการประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ประจำปี 2566 ผลงานของกรมหม่อนไหม

อลังการ “ตรานกยูงพระราชทาน” ปี66  สร้างรายได้เกษตรกรกว่า 34 ล้านบาท

และนิทรรศการของหน่วยงานที่บูรณาการทำงานร่วมกับกรมหม่อนไหม ในส่วนของนิทรรศการ Silk Home ที่เป็นการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันในห้องรูปแบบคอนโดมิเนียม โดยมีผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมเป็นหลัก ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานถ่ายภาพและโพสต์ในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก