“กรมวิชาการเกษตร”ใช้ตลาดนำงานวิจัย โชว์“5ทศวรรษพัฒนาวิชาการเกษตรไทย

“กรมวิชาการเกษตร”ใช้ตลาดนำงานวิจัย   โชว์“5ทศวรรษพัฒนาวิชาการเกษตรไทย

กรมวิชาการเกษตร ดึงกลยุทธ์ “ตลาดนำงานวิจัย” รับมือความท้าทายใหม่ทั้งโลกร้อน-กฎการค้าวางแนวทางพัฒนางานวิจัยพร้อมเปิดงาน“5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และ การก้าวไปในทศวรรษที่ 6”19-20 ส.ค.นี้

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่ากรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินงานด้านการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีทางการเกษตรด้านต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิต การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและปลอดภัย สำหรับการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้สร้างผลงานวิจัยและเทคโนโลยีมากมายที่จะช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นส่วนช่วยให้ภาคการเกษตรไทยได้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ผ่านงานวิจัยต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมาย รวมถึงการวางมาตรการการแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของประเทศ

สำหรับงานวิจัยที่ผ่านมาเปรียบเหมือนคลังสมอง คลังปัญญาของงานเกษตร รวมถึงเป็นสารวัตรเกษตร ที่จะช่วยปกป้องและแก้ไขปัญหาทางการเกษตรต่างๆ เพื่อเกษตรกรและประชาชนไทย องค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและเอกชน เกษตรกร สถาบันเกษตรต่างๆ ผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป

“กรมวิชาการเกษตร”ใช้ตลาดนำงานวิจัย   โชว์“5ทศวรรษพัฒนาวิชาการเกษตรไทย “กรมวิชาการเกษตร”ใช้ตลาดนำงานวิจัย   โชว์“5ทศวรรษพัฒนาวิชาการเกษตรไทย “กรมวิชาการเกษตร”ใช้ตลาดนำงานวิจัย   โชว์“5ทศวรรษพัฒนาวิชาการเกษตรไทย

 

ดังนั้นในปีนี้กรมวิชาการเกษตรจึงจะจัดงานนิทรรศการ “5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และ การก้าวไปในทศวรรษที่ 6” ขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของกรมวิชาการเกษตร และมีส่วนจัดแสดงผลงานวิจัยค้นคว้าที่ประสบความสำเร็จ

ในวันที่ 19 – 20 ส.ค. 2566 ณ Helix Garden ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ กรุงเทพฯโดยภายในงานนอกจากจะแสดงผลงานที่ผ่านมาแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในงานจะบ่งบอกถึงแนวทางการพัฒนางานวิจัยในทศวรรษที่6 เพื่อรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป

โดยเฉพาะ ภาวะโลกร้อน ที่สร้างผลกระทบกับภาคการเกษตรมากที่สุด และมีความแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น"

โดยปัญหาภาวะก๊าซเรือนกระจกที่คู่ค้านำมาอ้างในการสร้างข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งต้องพัฒนางานวิจัยให้สอดรับกับสิ่งเหล่านี้ โดยภาคการเกษตรต้องมีส่วนในสร้างคาร์บอนเครดิต การผลิตพืชคาร์บอนต่ำ รวมทั้งการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การลดต้นทุนการผลิต ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดฝุ่น โดยกรมวิชาการเกษตรจะสร้างข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการขายคาร์บอนฟุตปริ้น กับสินค้าพืชที่สำคัญๆจำนวน 7-8ชนิดเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. เพื่ออบรมเจ้าหน้าที่ ในการตรวจรับรองคาร์บอนเครดิต คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นปี 2567เป็นต้นไป

“การขายคาร์บอนเครดิต เป็นเรื่องที่ทั่วโลกสนใจ ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยยังเป็นไปตามความสมัครใจ ทำให้ไม่มีฐานการพิจารณาที่ชัดเจน กรมวิชาการเกษตรจะสร้างฐานข้อมูลนี้ โดยต้องเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานในประเทศ และประเทศคู่ค้าด้วย”

ดังนั้น  ทศวรรษที่6 จึงเป็นความท้าทายด้านงานวิจัยมากเพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปแล้ว งานวิจัยที่เกิดขึ้นต้องสอดรับกับความต้องการของตลาด เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และสามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรด้วย