WTOเปิดปัจจัยเสี่ยงฉุดการค้า ไทยตรึงแชร์ตลาด1.2%รั้งผู้ส่งออกที่28โลก

WTOเปิดปัจจัยเสี่ยงฉุดการค้า ไทยตรึงแชร์ตลาด1.2%รั้งผู้ส่งออกที่28โลก

สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนล่าสุดนั้น ฝ่ายยูเครนเตรียมส่งออกพลังงานไฟฟ้าให้หลายประเทศในยุโรปเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยขณะนี้ระบบโครงข่ายการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าของยูเครน กลับมาดำเนินการเกือบเต็มศักยภาพ

สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ และตั้งแต่เดือน ก.พ. 2566 

เริ่มมีไฟฟ้าส่วนเกิน ที่พร้อมส่งออกให้ประเทศในยุโรปได้อีกครั้ง สถานการณ์สงครามอาจดูเป็นคนละเรื่องกับสถานการณ์ด้านการค้า แต่ในรายงาน“GLOBAL TRADE OUTLOOK AND STATISTICS”จัดทำโดย องค์การการค้าโลก (WTO) ที่เผยแพร่รายงานคาดการณ์สถานการณ์การค้าโลกปี 2566 

รายงานระบุว่าปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายการเงินที่เข้มงวดบวกกับตลาดการเงินที่เผชิญกับความไม่แน่นอน ได้ทำให้มูลค่าการค้าของโลกปี 2566 เติบโตเพียง 1.7%  ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำมาก 

รายงานยังระบุคงคาดการณ์ของWTO ต่ออัตราขยายตัวเศรษฐกิจโลก ว่าจะอยู่ที่ 2.4%  ซึ่งคาดการณ์ดังกล่าวอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 12 ปีที่ผ่านมา 

เอ็นโกซี โอคอนโจ-อิเวียลา ผู้อำนวยการWTO กล่าวว่า การค้าได้รับผลจากแรงบิดตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งยังคงถูกกดดันจากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจตลอดปี 2566 ทำให้เกิดการกระจายของแหล่งนำเข้าสินค้า รวมถึงความพยายามระงับอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ซึ่งประเด็นต่างๆเหล่านี้ได้เคยหยิบยกขึ้นพูดคุยกันการประชุมระดับรัฐมนตรีWTOเมื่อขึ้นเมื่อมิ.ย. ปีที่ผ่านมา โดยมองว่าต้องมีการ

กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจขณะเดียวกันประชาชนได้รับมาตรการเพื่อมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นในระยะยาว

"เมื่อปีที่แล้ว การค้าโลกเติบโต 2.7% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เมื่อ ต.ค.ปีเดียวกัน ทั้งนี้เป็นผลจากการดิ่งหัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ในช่วงไตรมาสที่4 ปี2565 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยหลายด้านที่รุมเร้าและรุนแรงขึ้น ทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก การเข้มงวดด้านนโยบายทางการเงิน เพื่อตอบโต้กับอัตราเงินฟ้อ และการระบายโควิดที่ทำให้การผลิตและการค้าในจีนชะงักงัน 

"เดิมทีเดียว WTOมองว่า การค้าโลกปีก่อนน่าจะผงกหัวขึ้นได้ โดยมองไว้ที่ฐานการเติบโตที่ 2.4-3.0% เพราะเห็นว่าปัจจัยสงครามยูเครน และจะทำให้คาดการณ์ทางการค้าต่ำลงจากที่คาดการณ์ไว้เพียง 0.5%เท่านั้น จากผลกระทบที่กลุ่มประเทศที่โดยล้อมด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์ดังกล่าว แต่เมื่อติดตามสถานการณ์จริงอย่างใกล้ชิดก็พบว่า หลายประเทศสามารถจัดการผลกระทบต่างๆได้ในระดับใกล้เคียงปกติ เช่น ความสามารถหาความมั่นคงด้านอาหารก็พบว่าหลายประเทศสามารถคงความมั่นคงด้านอาหารไว้ด้วยการหาอาหารมาชดเชยทั้งในรูปแหล่งซัพพลายและรูปแบบผลิตภันฑ์"  WTOเปิดปัจจัยเสี่ยงฉุดการค้า ไทยตรึงแชร์ตลาด1.2%รั้งผู้ส่งออกที่28โลก

ทั้งนี้ เมื่อกล่าวถึง อัตราขยายตัวการค้าโลก ที่1.7% ในปีนี้นั้น เป็นคาดการณ์ที่ดีกว่าที่คิดไว้ที่ 1% จากต.ค.ที่ผ่านมา โดยหัวใจสำคัญมาจากการผ่อนคลายมาตรการโควิดในจีน ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปลดปล่อยดีมานด์การบริโภคภายในสู่การกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศได้ 

ราฟ ออซซา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ WTO กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิด อ่อนแรงลง ท่ามกลางความตึงเครียดของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งกระทบต่อการค้าและภาพรวมเศรษฐกิจเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา

“ยังดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องเดียวกันนี้ที่ยังหลอกหลอนเศรษฐกิจปี 2566 นี้ อัตราดอกเบี้ย ไต่ระดับสูงขึ้นในหลายประเทศซึ่งเผยให้เห็นความอ่อนแอของระบบธนาคารที่นำไปสู่สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเงินอย่างกว้างขวาง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ และไม่มีการตรวจสอบ ดังนั้น หลายรัฐบาลและผู้คุมกฎต่างต้องการคุมเข้มต่อเรื่องเหล่านี้และคาดว่าความเสียหายทางการเงินที่ไม่ได้คาดคิดไว้อาจเกิดขึ้นอีกในไม่กี่เดือนจากนี้ ”

อย่างไรก็ตาม หากมองไปข้างหน้า มีการประเมินว่าปี 2567 คาดว่าการค้าจะกลับมาเติบโตได้ในระด้บ 3.2% ส่วนจีดีพี จะเพิ่มขึ้นมาที่ 2.6% แต่คาดการณ์นี่้ยังอยู่บนความไม่แน่นอนปัจจัยความเสี่ยงที่ยังซ่อนตัวอยู่ทั้งประเด็นความเสี่ยงใหม่ หรือความรุนแรงของปัจจัยความเสี่ยงเดิม ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ การหยุดชะงักของอุปทานอาหาร และ สิ่งที่คาดไม่ถึงจากภาคการเงินที่เข้มงวด 

สำหรับข้อมูลที่รายงานนำเสนอยังระบุถึง ลำดับประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นเหมือนผู้เล่นในเวทีทีการค้าโลก ซึ่งพบว่า ในภาคการส่งออกประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 28 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาด ที่ 1.2% มีมูลค่าการส่งออก ที่ 287 พันล้านดอลลาร์ รองจาก อินโดนีเซียที่อยู่ในลำดีบที่ 27 มีส่วนแบ่งตลาดที่ 1.2% เช่นกัน แต่มูลค่าส่งออกสูงกว่าที่ 292 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่เวียดนาม อยู่ลำดับที่ 23 มีมูลค่าการค้าที่ 371 พันล้านดอลลาร์ และมีส่วนแบ่งตลาดโลกที่ 1.5% 

ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พร้อมส่งเสริมผู้ส่งออกไทยให้มีทักษะที่หลากหลายสามารถรับมือกับภาคการส่งออกไทยที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคทางการค้าและแบกรับต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ยังเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ปัจจัยความเสี่ยงทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น กำลังเป็นตัวฉุดการค้าโลกประเทศไทยในฐานะผู้เล่นในเวทีการค้าโลกที่สำคัญ และมีสัดส่วนรายได้จากการค้าโลกต่อจีดีพีที่สูงต้องเข้าในและถอดรหัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่รอกระทบเศรษฐกิจให้ดิ่งหัวลงอย่างใกล้ชิด