‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน

‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน

“เอส ไอ จี” ขานรับนโยบายลดโลกร้อน มุ่งพัฒนาโรงงานบรรจุภัณฑ์ช่วยลดคาร์บอนในระยอง หวังลูกค้าในไทยไม่ใช่ส่วนผสมอลูมิเนียม สู่โรงงานพลังงานสะอาด ย้ำผู้นำใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครบรอบ 5 ปี กำลังผลิตไฟฟ้าปีละ 5,675 เมกะวัตต์ ดันเป้าหมายองค์กรสู่ Net Zero ปี 2050 

“เอส ไอ จี” ดำเนินธุรกิจใน 5 ประเทศ ให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลกด้วยวิธีที่ปลอดภัย ยั่งยืน และคุ้มค่า ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ (aseptic carton) บรรจุภัณฑ์แบกอินบ๊อก (bag-in-box) และบรรจุภัณฑ์แบบถุง/ซองพร้อมฝา (spouted pouch)

นายมิเกล กามิโต ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตและซัพพลายเชน โรงงานเอสไอจี จังหวัดระยอง กล่าวว่า โรงงานเอส ไอ จี จังหวัดระยอง ดำเนินกิจการครบรอบ 25 ปี บนพื้นที่กว่า 109,600 ตรม. เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับลูกค้าทั้งในเอเชียแปซิฟิกและเอเชียใต้ โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินเดีย โรงงานแห่งนี้มีการผลิตบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อถึงราว 11,000 ล้านกล่อง ให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น ไทย เดนมาร์ค, เนสท์เล่, FrieslandCampina, Vinamilk, Indomilk, Ultrajaya, Parle Agro, Amul เป็นต้น หรือเฉลี่ยกำลังผลิตวันละ 44 ล้านชิ้น

‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน ทั้งนี้ โรงงานบรรจุภัณฑ์ของเอส ไอ จี ที่ระยองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนแก่ตลาดหลักในภูมิภาค โรงงานแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค แสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์และเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทที่ตอบแทนสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเป็นฝ่ายรับ (net-positive) ปีนี้ดำเนินการครบ 25 ปี ถือว่าได้ตอบแทนชุมชนในจังหวัดระยองและทำหน้าที่อย่างดีในการส่งเสริมความยั่งยืนในภูมิภาค  

นอกจากนี้ ยังเป็นโรงงานผลิตของเอส ไอ จี ถือเป็นแห่งแรกในโลกที่ใช้ระบบโซลาร์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic หรือ PV) ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานจนทำให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพลังงานของไทยปี 2579 ที่กำหนดให้ใช้พลังงานไฟฟ้า 40% จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน มีแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 12,350 แผง บนพื้นที่กว่า 40,064 ตรม. เทียบเท่าสนามฟุตบอล 5 สนาม ผลิตไฟฟ้า 5,675 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน 12,871 ตันเทียบเท่าชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยต้นไม้ 415 ต้น หรือเทียบเท่าผืนป่าขนาด 10,000 ตรม.เทียบเท่ากับการจ่ายไฟให้แก่บ้านที่อยู่อาศัย 5,620 หลังคาเรือนในแต่ละเดือน

นอกจากนี้ ในปี 2562 ที่ผ่านมา โรงงานในระยองยังได้รางวัลฉลากลดโลกร้อนของ Thailand Energy Award จากโครงการโซลาร์รูฟท็อป จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ในการลงทุนจัดตั้งโครงการพลังงานทดแทนประเภทที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (off-grid) ที่จังหวัดระยอง ถือเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ความมุ่งมั่นของเอส ไอ จี กรุ๊ป ที่จะตอบแทนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มากกว่าที่ได้รับ

‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน "นอกจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาแล้ว ยังมีฟาร์มโซลาร์เซลล์และโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงจอดรถ เปรียบได้ว่าโรงงานแห่งนี้ มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทย ซึ่งโซลาแบบหมุนตามดวงอาทิตย์มีประสิทธิภาพดีกว่า 20% ต่อตรม./พื้นที่ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ดีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของลดโลกร้อนด้วย"

นางสาวแอนเจลา ลู ประธานและผู้จัดการทั่วไปของเอส ไอ จี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ กล่าวว่า โรงงานของเอส ไอ จี สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัสดุกระดาษแข็งที่ผ่านการจัดหาอย่างตระหนักต่อความรับผิดชอบที่ได้รับการรับรอง 100% จาก FSC (Forest Stewardship Council) รวมถึงอลูมิเนียมที่ได้รับการรับรอง 100% จาก ASI (Aluminium Stewardship Initiative) ภายใต้มาตรฐาน ISCC Plus (International Sustainability and Carbon Certification) เป็นมาตรฐานรับรองคาร์บอน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ

‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมเปิดตัวโรงงานบรรจุภัณฑ์ของเอส ไอ จี ในอาห์เมดาบัด ประเทศอินเดีย คาดว่าจะเดินสายการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปลายปี 2567 เพื่อป้อนลูกค้าในแถบเอเชียใต้ จะช่วยให้โรงงานที่ระยองสามารถทุ่มเทกับโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้นเพื่อลูกค้าในเอเชียแปซิฟิก

ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี ค.ศ. 2050 โดยอนาคตบรรุภัณฑ์ต้องไม่มีอลูมิเนียมซึ่งส่วนผสมของอลูมิเนียมในบรรจุภัณฑ์ถือว่ามีการปลดปล่อยคาร์บอนสูงสุด ซึ่งในยุโรปได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ไม่มีอลูมิเนียมมาแล้วกว่า 10 ปี ขายแล้วกว่า 1,000 ล้านชิ้น ส่วนในประเทศไทยยังมีส่วนผสมของอลูมิเนียมอยู่ที่ 27% แม้ว่าจะมีต้นทุนสูงกว่า 10-12% แต่เพื่อแก้ปัญหาลดโลกร้อน และลูกค้ารุ่นใหม่ก็ให้ความสำคัญ และพร้อมที่จะปรับมาใช้ บริษัทฯ ได้พยายามทำราคาที่ไม่เพิ่มต้นทุนให้กับลูกค้า โดยมีจุดเด่นของบรรจุภัณฑ์ที่หลายขนาดเพื่อให้ลูกค้าได้เลือกมากขึ้น

‘เอส ไอ จี’ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน ส่งบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ความยั่งยืน  นางสาวแอลเจลา กล่าวว่า นอกจากบริษัทฯ จะสร้างการจ้างแรงงานในพื้นที่จังหวัดระยองแล้วยังมอบหมายให้ซิมไบโอร์ โซลาร์ ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์แผงโซลาร์เซลล์ของเอสไอจีติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 7 กิกะวัตต์ให้แก่โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 10 จังหวัดระยองถือเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาธุรกิจกับเอส ไอ จี ที่สร้างพลังงานหมุนเวียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับโรงเรียน และช่วยประหยัดค่าไฟรายเดือนกว่า 4,000 บาท และยังช่วยให้นักเรียนและครูได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีกด้วย