ภาคธุรกิจ ห่วงค่าไฟ-น้ำมัน-ค่าแรง –ดอกเบี้ย ทำต้นทุนการผลิตเพิ่ม

ภาคธุรกิจ ห่วงค่าไฟ-น้ำมัน-ค่าแรง –ดอกเบี้ย ทำต้นทุนการผลิตเพิ่ม

ม.หอการค้าไทย เผย ภาคธุรกิจ ห่วงค่าไฟ-น้ำมัน-ค่าแรง –ดอกเบี้ย ทำต้นทุนการผลิตเพิ่ม แต่ยังมั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นครึ่งปีหลัง เผยเลือกตั้งเงินสะพัด 1-1.2 แสนล้านบาท กังวลเสถียรภาพการเมืองหลังเลือกตั้ง ยังคงคาดการณ์จีดีพีไทยโต 3-4%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจต่อผลกระทบภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทยในประเด็นต่างๆว่า ผลสำรวจพบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของภาคธุรกิจในขณะนี้ คือภาระต้นทุนที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากปัญหาเงินเฟ้อ  ค่าไฟแพง ค่าแรง ดอกเบี้ย ส่งผลกระทบยอดขาย กำไร และสภาพคล่องของธุรกิจ   นอกจากนี้การเมืองและการเลือกตั้งก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ภาคธุรกิจเริ่มกังวล ส่วนสถานการณ์ธนาคารต่างชาติที่มีปัญหา มองว่าไม่ได้มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังคงเชื่อมั่นธนาคารของประเทศไทยอยู่

 “ภาคเอกชนกังวลเรื่องต้นทุนการผลิตมากกว่าเรื่องอื่นๆ ยอดขายไม่กระเตื้อง แถมเจอโรคซ้ำกรรมซัดที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าไฟแพง เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าแรงปรับเพิ่ม โดยต้องการให้ภาครัฐดูแลเรื่องต้นทุนการผลิตของภาคเอกชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมเร่งเบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะในไตรมาส 4 “นายธนวรรธน์ กล่าว

ภาคธุรกิจ ห่วงค่าไฟ-น้ำมัน-ค่าแรง –ดอกเบี้ย ทำต้นทุนการผลิตเพิ่ม

 สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.นั้น คาดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ทำให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมรณณรงค์หาเสียงมากขึ้นตามไปด้วย คาดว่า ในช่วงเลือกตั้งจะมีเงินสะพัดเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ 4-5 หมื่นล้านบาท เป็น 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 1-1.2 แสนล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เม็ดเงินดังกล่าวทำให้จีดีพีขยายตัวเพิ่ม 0.5-0.7%  ส่งผลทำให้จีดีพีในไตรมาส 2 ขยายตัวได้ 3-4 % จะช่วยค้ำยันเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ได้ในระดับหนึ่ง โดยทั้งปีนี้ ม.หอการค้า ยังคงคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 3-4%

 อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจมองว่าการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยกังวลว่าจะเกิด ปัญหาความขัดแย้งขึ้น  การจัดตั้งรัฐบาลอาจจะยืดเยื้อ จนกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ   ทำให้นักธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นได้ในช่วงไตรมาส 4 หรือปลายปี   ซึ่งหากหลังเลือกตั้งมีปัญหาการเมืองจริง   คาดว่าช่วงไตรมาส2และไตรมาส3 นักธุรกิจและนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ อาจจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า wait and see  ซึ่งหลังจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจไทย  ซึ่งหากว่าได้รัฐบาลใหม่ได้เร็วและเดินหน้าตามนโยบาย รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณได้โดยไม่เกิดสุญญากาศก็จะมีต่อดีต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจุดเปลี่ยนประเทศจะอยู่ที่ไตรมาส3 จะไปต่อได้แค่ไหน 

 

ด้านนายวชิร  คูณทวีเทพ ผอ.สถาบันยุทธศาสตร์การค้า ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า จาการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการจำนวน 600 ตัวอย่างในระหว่างวันที่ 1-15 มี.ค. 2566 ถึงผลกระทบภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทยในประเด็นต่างๆ พบว่า ปัจจุบันสถานะทางธุรกิจของผู้ประกอบยังเหมือนเดิม ทั้งยอดขาย ต้นทุน กำไร สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ

โดยขณะนี้ผู้ประกอบการมีความกังวลจากต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยสูง  มีผลต่อยอดขายและกำไรลดลง แต่ภาระหนี้เพิ่มขึ้น โดยมองว่าเงินเฟ้อที่เหมาะสมควรสูงไม่เกิน 2-3% และหากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอีก ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ 70% เห็นว่า จะกระทบต่อโอกาสผิดนัดชำระหนี้

ขณะที่อัตราค่าแรงขั้นต่ำมองเหมาะสมอยู่ที่ 325 บาต่อวัน จากเฉลี่ยอยู่ที่ 328-354 บาทต่อวัน ซึ่งหากปรับขั้นค่าแรงอีก 10% กว่าผู้ประกอบการกว่า  50% ระบุว่าอาจต้องปรับขึ้นราคาสินค้าอีก 5.7%และเลิกจ้างแรงงานบางส่วน เพื่อลดภาระต้นทุน

ด้านค่าไฟฟ้าธุรกิจส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราค่าไฟฟ้าที่จะลดจาก 5.69 บาทต่อหน่วย  เหลือ 5.33 บาทต่อหน่วยก็ยังเป็นอัตราที่สูงอยู่ยังสูง ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้า ที่เหมาะสมมองที่ 3.94 บาทต่อหน่วย ซึ่งหากรัฐบาลมีการขึ้นค่าไฟ ภาคธุรกิจจะปรับขึ้นราคาสินค้าทันที และ ชะลอแผนลงทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องและชะลอแผนลงทุนเพื่อรักษาสภาพคล่อง ราคาน้ำมันดีเซลควรอยู่ที่ 29.60 บาทต่อลิตร ส่วนกรณีธนาคารในสหรัฐล้ม ภาคธุรกิจมองว่า ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจน้อยทั้งคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 66  ว่า  จะฟื้นได้ในไตรมาสที่4

เมื่อถามถึงผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนพ.ค. ธุรกิจกว่า 40% มองว่าเป็นผลบวกจากเงินหาเสียงและรณรงค์เลือกตั้งสะพัด มีผลต่อยอดขายและการใช้จ่ายช่วงเทศกาลสงกรานต์ดีขึ้น แต่ก็ยังกังวลนโยบายด้านเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเมืองหลังเลือกตั้ง

ทั้งนี้สิ่งที่ภาคธุรกิจต้องการต้องการให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วยการดูแลต้นทุนการผลิตของภาคเอกชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ เศรษฐกิจกาลังฟื้นตัว ณ ปัจจุบัน เช่น ไม่ปรับขึ้นค่าพลังงาน ต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น

เร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีรัฐบาลรักษาการ และยังไม่ สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศและในประเทศให้เหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและอ่อนค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งออกให้ขยายตัว  ดูแลสถานการณ์หนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ โลกถดถอยโดยให้ธุรกิจและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ ได้อย่างดีและมีเงื่อนไขใน การปรับโครงสร้างหนี้ หากมีปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น