‘พลังงาน’ ยันคงดีเซล 34 บาท สวนวิกฤติแบงก์สหรัฐฉุดราคาน้ำมันโลก

‘พลังงาน’ ยันคงดีเซล 34 บาท สวนวิกฤติแบงก์สหรัฐฉุดราคาน้ำมันโลก

จากกรณีที่ทั่วโลกกังวลวิกฤติ silicon valley bank จะลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น ๆ สะท้อนผ่านแรงขายในกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐ และยุโรป ยังรุนแรง และสร้างแรงกดดันภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นผลลบต่อการลงทุน ส่งผลมาถึงราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงด้วยเช่นกัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แม้ตอนนี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกมีทิศทางแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งมาจากวิกฤติ silicon valley bank แต่ตอนนี้ยังไม่มีผลมายังประเทศไทย ทั้งนี้ จึงขอติดตามสถานการณ์อีกประมาณ 2-3 วัน เพื่อประเมินสถานการณ์ราคาพลังงานในประเทศไทยอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานในประเทศไทย รัฐบาลยังคงใช้กลไกพยุงราคาพลังงานที่เป็นหัวใจหลักที่มีผลต่อเศรษฐกิจในประเทศคือสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) โดยใช้เงินสนับสนุนราคาน้ำมันดีเซลตลอดระยะเวลาภายหลังวิกฤติโควิดคลี่คลายและใช้เงินอุดหนุนไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม LPG ภาคครัวเรือนไม่ให้มีราคาพุ่งสูงไปมากนัก ถือเป็นการลดภารค่าครองชีพประชาชน

‘พลังงาน’ ยันคงดีเซล 34 บาท สวนวิกฤติแบงก์สหรัฐฉุดราคาน้ำมันโลก “ตอนนี้กองทุนน้ำมันฯ ได้ใช้เงินในการตรึงราคาน้ำมันดีเซล บวกกับกระทรวงการคลังเข้ามาสนับสนุนมาตรการลดภาษีดีเซล ส่งผลให้ในช่วงนี้ราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกปรับลดลง กองทุนน้ำมันสารมารถเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ประมาณลิตรละ 4.80 บาท ส่งผลให้หนี้ที่เคยติดลบช่วงปีที่ผ่านมากว่า 1 แสนล้านบาท ลดลงเป็นหลัก 9 หมื่นล้านบาทแล้ว”

ทั้งนี้ แม้ว่ากองทุนน้ำมันฯ จะเริ่มเก็บเงินเข้ากองทุนได้ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2565 ที่ผ่านมา แต่กระทรวงพลังงานยังคงต้องให้กองทุนน้ำมันฯ กู้เงินเพื่อมาใช้หนี้เก่าให้หมดโดยเร็ว เพราะจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนอยู่มาก ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากจีนที่เปิดประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันพุ่งสูงขึ้น แม้วิกฤติ silicon valley bank สหรัฐจะทำให้ราคาน้ำมันคลาดโลกจะลดลงก็ตาม แต่ปัจจัยอื่นยังคงมีผลให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

แหล่างข่าว กล่าวว่า ขณะนี้ สกนช.ได้ประกาศเชิญชวนสถาบันการเงิน 7แห่ง เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารไทยพาณิชย์, เพื่อรับฟังข้อเสนอและสถานะทางการเงินรวมถึงสภาพคล่องและความสามารถทางการชำระหนี้ของกองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ปล่อยสินเชื่อให้กองทุนน้ำมันฯรวม 80,000 ล้านบาท ตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)ได้บรรจุกรอบวงเงินกู้เพิ่มเติมให้กองทุนน้ำมันฯ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม จากการที่กองทุนน้ำมันฯ ได้กู้เงินไปแล้วก้อนแรก30,000 ล้านบาท ก็ได้มีการชำระดอกเบี้ยตามกำหนดทุกเดือน ซึ่งหากรวมวงเงินที่ครม.อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้กับกองทุนน้ำมันส่งผลให้วงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติจากครม.แล้วที่1.1แสนล้านบาทซึ่งหากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงผันผวน และสถานทางการเงินกองทุนน้ำมันไม่ดีขึ้นกระทรวงการคลังก็อาจจะพิจารณาค้ำประกันเงินกู้ให้เพิ่มอีกตามเพดานที่ได้ขอขายเพิ่มกรอบวงเงินกู้ต่อไป

กระทรวงพลังงานก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิด ซึ่งยังวางใจยังไม่ได้ เพราะเราต้องดูแลประชาชน และขีดความสามารถของประเทศด้วย และมองว่าในสัปดาห์นี้ กบน. จะยังไม่ลดราคาดีเซลาลงจากเดิม โดยยังคงไว้ที่ลิตรละ 34 บาทต่อไปอีก

“เบื้องต้นขึ้นอยู่กับกบน. ว่า จะให้ทยอยกู้วงเงินเท่าไร รอบแรกอาจจะเริ่มต้นวงเงิน5,000 – 10,000 ล้านบาท เท่าที่สอบถามมีหลายสถาบันการเงินสนใจปล่อยเงินกู้ แต่ยังมีข้อกังวลบ้าง เช่น จะจ่ายคืนหนี้เมื่อไร เพราะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยส่วนใหญ่อยากให้กู้นาน ๆ ไม่อยากให้รีบใช้หนี้ โดยในที่ประชุมกองทุนน้ำมันฯ ก็ได้ยืนยันไปแล้วว่าไม่น่าจะรีบใช้หนี้ เพราะราคาน้ำมันตลาดโลกยังนิ่งนอนใจไม่ได้ อีกทั้ง การลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วงให้สถนทางการเงินกองทุนน้ำมันฯ ดีขึ้น ซึ่งหากวันที่ 20 พ.ค. 2566 กระทรวงการคลังไม่ต่ออายุการลดภาษีน้ำมันดีเซลให้ กบน.ก็ต้องทบทวนเรื่องราคาน้ำมันอย่างหนัก”

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า สกนช. หารือกับคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ที่มีสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ถึงความคืบหน้าของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กรณีการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินตามวงเงิน80,000ล้านบาทตามกรอบวงเงินรวมที่กระทรวงการคลัง ขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กระทรวงการคลังเข้าไปค้ำประกันช่วยกองทุนน้ำมันได้สูงสุด 1.5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กองทุนน้ำมันฯ ได้กู้เงินจากธนาคารรัฐไปแล้วช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมาในวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุด ครม.ได้อนุมัติค้ำประกันเงินกู้เพิ่มเติมให้อีก 8 หมื่นล้านบาท เพื่อที่กองทุนน้ำมันฯ จะนำเงินก้อนดังกล่าวมาชำระหนี้เดิมของกองทุนน้ำมันฯ โดยจะทยอยขอกู้เป็นงวด ๆ เป็นการเปิดกว้างให้สถาบันการเงินหลายแห่งเข้ามาเสนออัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขต่างๆ

“การกู้เงินก้อนที่ 2 นี้ จะเป็นรูปแบบการทยอยกู้เหมือนก้อน 3 หมื่นล้านบาท เราจะไม่กู้ทีเดียว 8 หมื่นล้านบาทแน่นอน ซึ่งคาดว่าจะเติมเงินในบัญชีกองทุนน้ำมันฯ ราวปลายเดือนมี.ค. หรือต้นเดือนเม.ย. 2566 นี้ขณะที่สถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงล่าสุดวันที่ 12มี.ค.2566 กองทุนน้ำมันฯ ติดลบต่ำกว่า 100,000 ล้านบาทแล้ว โดยมียอดติดลบที่ 99,662ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ53,290ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ46,372ล้านบาท