ธุรกิจอาหาร-เกษตร”ลุยลงทุน เดินหน้าท้าปัญหา“ฟู้ดซีเคียวริตี้

ธุรกิจอาหาร-เกษตร”ลุยลงทุน   เดินหน้าท้าปัญหา“ฟู้ดซีเคียวริตี้

ไทยวา ทุ่ม 2,000 ล้านบาทเพิ่มกำลังการผลิต หลังฝ่าโควิดทำยอดขายปี65 โต 1 หมื่นล้าน หวังปี66 แตะ 1.2 หมื่นล้าน จากปัจจัยบวกจีนเปิดประเทศ เจาะตลาดไบโอ นวัตกรรมเกษตรและอาหาร ลุยตลาด อินเดีย อินโดนีเซีย และสหรัฐ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย  สงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงปัญหาค่าเงินผันผวนและอัตราเงินเฟ้อทรงตัวสูง มีธุรกิจไม่มากนักที่จะสามารถเติบโตอย่างโดดเด่นในท่ามกลางเงื่อนไขเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านอาหารและการเกษตร

ธุรกิจอาหาร-เกษตร”ลุยลงทุน   เดินหน้าท้าปัญหา“ฟู้ดซีเคียวริตี้ ธุรกิจอาหาร-เกษตร”ลุยลงทุน   เดินหน้าท้าปัญหา“ฟู้ดซีเคียวริตี้ ธุรกิจอาหาร-เกษตร”ลุยลงทุน   เดินหน้าท้าปัญหา“ฟู้ดซีเคียวริตี้

นาย โฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หรือ TWPC เปิดเผยว่า แม้ช่วงที่ผ่านมา ทั่วโลกจะประสบปัญหาโรคโควิด 19 ระบาด แต่ยอดขายของบริษัทยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มียอดขายถึง 1 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 14% จากปี2564 จากการเติบโตในทุกตลาด และทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยผลประกอบการที่ดีที่สุดมาจากธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในประเทศไทยและเวียดนามที่มีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก

ในปี 2566 บริษัทตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่อง อย่างน้อย 12 % ต่อปี หรือมียอดขายที่12,000-13,000 ล้านบาท จากปัจจัยบวกที่จีนเปิดประเทศ ซึ่งจะช่วยหนุนความต้องการบริโภคสินค้าภายในประเทศมากขึ้น โดยมีแผนจะเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่อย่างอินเดีย อินโดนีเซีย และสหรัฐ ให้กว้างและลงลึกมากขึ้น เจาะกลุ่มสินค้าตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอาหารที่สามารถตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ มีความคุ้มค่า และสะดวกต่อผู้บริโภค

“ไทยวาจะใช้กลยุทธ์การสร้างสมดุลระหว่างกลุ่มลูกค้า B2C และ B2B เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้สะดวกขึ้น โดยพัฒนาสิ่งใหม่ๆ จากกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างความสำเร็จ เช่น ผลิตภัณฑ์วุ้นเส้น ที่ปัจจุบันเป็นสินค้าที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในไทย รวมถึงในภูมิภาคนี้”

ลงทุนเพิ่มดันกำลังผลิต-นวัตกรรม

ทั้งนี้ไทยวากำหนดวงเงินลงทุนในปีนี้ที่ 2,000 ล้านบาท ในการเพิ่มกำลังการผลิตในธุรกิจหลักคือแป้งมันสำปะหลัง การสร้างพลังงานหมุนเวียนเพื่อตอบโจทย์ต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น การเปิดโรงงานแหล่งใหม่ที่กัมพูชา รวมทั้งการวิจัยพัฒนาสินค้ากลุ่มอาหาร และไบโอพลาสติก ที่ปัจจุบันมีแนวโน้มความต้องการมากขึ้น

ในขณะที่แผนการดำเนินงานในอนาคตจนถึงปี 2568 ไทยวาจะสร้างการเติบโตทางด้านยอดขายอย่างมากในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยขยายทั้งฐานการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่าย และการทำการตลาด จาก 15 แห่งเป็น 20 แห่ง พร้อมทั้งเดินหน้าเสริมความแข่งแกร่งทางของการดำเนินงานในประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ในส่วนของพลังงานทดแทน ไทยวามีเป้าหมายในการจัดหาพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 15 เมกะวัตต์ภายในปี 2568 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นระยะยาวในการลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ และเป็นการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพในฐานะองค์กรหลัก โดยในปี 2565 บริษัทได้เปิดตัวธุรกิจใหม่ในด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ภายใต้แบรนด์ ROSECO ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลังครั้งแรกในโลก และเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในกลุ่มธุรกิจสินค้าพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA products) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่จะมีส่วนสร้างการเติบโตให้กับไทยวาได้อย่างมีนัยสำคัญ

ความมั่นคงอาหารท้าทายธุรกิจ

“ธุรกิจเกษตรและอาหารเป็นธุรกิจระดับโลก ความท้าทายเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้เป็นความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องให้บริการลูกค้าทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและดียิ่งขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาก การดำเนินงานขายและการตลาดทั่วโลกของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก และยังเป็นหนึ่งในบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากพืชล้วนๆ จากฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า”

นางอรอนงค์ วิชชุชาญ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กล่าวว่า ยอดขายที่ที่เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาทนั้น ทำให้ ไทยวามีกำไรก่อนหักภาษี ที่ 920 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีก่อนหน้าเล็กน้อย เพราะต้องสำรองหนี้เผื่อสงสัยจะสูญที่ 3 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น 20 % ทั้งพลังงานและค่าแรง โดยรวมกำไรเติบโตที่ 3 % สุทธิที่ 298 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้ 49 % จากธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง 32 % มาจากธุรกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และ อีก 19 % มาจากสินค้ากลุ่มอาหาร รวมทั้งไบโอพลาสติก

“ฐานะทางการเงินของไทยวา จากหนี้สินต่อทุน อยู่ที่ 0.28 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำมาก โดยจากเงินทุนหมุนเวียนและสินทรัพย์ที่มีอยู่สามารถ

โคเวอร์ หนี้ที่มีอยู่ 300 ล้านบาทได้หมดทำให้สามารถที่จะลงทุนได้ตามแผนรวมทั้งยังสนใจจะเข้าซื้อธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทด้วย ในขณะที่ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อรายได้ของบริษัทน้อยมาก เนื่องจากการค้าขายดำเนินการโดยเงินสกุลดอลลาร์ และหยวน ซึ่งอ้างอิงเงินบาทไม่มาก แต่โดยรวมเห็นว่าค่าเงินบาที่เหมาะสมควรอยู่ที่34-35 บาทต่อดอลลาร์ “