“ธุรกิจญี่ปุ่น”มองบวก“ท่องเที่ยว” พยุงศก.แนะรัฐคุมค่าเงิน-กฎศุลกากร

“ธุรกิจญี่ปุ่น”มองบวก“ท่องเที่ยว”   พยุงศก.แนะรัฐคุมค่าเงิน-กฎศุลกากร

สถิติชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีสัดส่วนต่อการลงทุนในประเทศไทยลำดับต้นๆทำให้ความเห็นจากนักธุรกิจกลุ่มนี้มีความน่าสนใจตามไปด้วย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  (บีโอไอ) เผยถึง คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ปี2565 มีมูลค่า 433,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยจีน มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมสูงสุด 77,381 ล้านบาท รองลงมาเป็นญี่ปุ่น มูลค่า 50,767 ล้านบาท และสหรัฐ มูลค่า 50,296 ล้านบาท ไต้หวัน 45,215 ล้านบาท และสิงคโปร์ 44,286 ล้านบาท ตามลำดับ สถิตินี้ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีสัดส่วนต่อการลงทุนในประเทศไทยลำดับต้นๆทำให้ความเห็นจากนักธุรกิจกลุ่มนี้มีความน่าสนใจตามไปด้วย 

หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCCB) ได้ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง มาเป็นเวลา 52 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยการสำรวจนี้ ถือเป็นการสำรวจเดียวที่สะท้อนสภาพธุรกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศ ไทยอย่างครอบคลุม 

สำหรับช่วงเวลาทำการสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-23 ธ.ค. 2565 ด้วยการจัดส่งแบบสารวจไปยังบริษัทที่เป็นสมาชิก JCCB จำนวน 1,627 ราย โดยมีบริษัทที่ตอบกลับ 508 ราย หรือ คิดเป็น 31.2%  ซึ่งผลสำรวจชี้ว่าเศรษฐกิจไทยมีภาคการท่องเที่ยวที่จะช่วยให้จีดีพีปี2566 เติบโตได้ แต่ก็ยังพบว่าปัญหาราคาพลังงานสูง เงินเฟ้อและดอกเบี้ยเป็นอุปสรรคขัดขวางการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ตามเป้าหมาย   

หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCCB) ได้ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง มาเป็นเวลา 52 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยการสำรวจนี้ ถือเป็นการสำรวจเดียวที่สะท้อนสภาพธุรกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศ ไทยอย่างครอบคลุม 

สำหรับช่วงเวลาทำการสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-23 ธ.ค. 2565 ด้วยการจัดส่งแบบสารวจไปยังบริษัทที่เป็นสมาชิก JCCB จำนวน 1,627 ราย โดยมีบริษัทที่ตอบกลับ 508 ราย หรือ คิดเป็น 31.2%  ซึ่งผลสำรวจชี้ว่าเศรษฐกิจไทยมีภาคการท่องเที่ยวที่จะช่วยให้จีดีพีปี2566 เติบโตได้ แต่ก็ยังพบว่าปัญหาราคาพลังงานสูง เงินเฟ้อและดอกเบี้ยเป็นอุปสรรคขัดขวางการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ตามเป้าหมาย   

ผลสำรวจ เปิดเผยว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ประจำครึ่งปีหลัง พ.ศ. 2565 ว่า ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ (DI) อยู่ที่ 28 ในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2566 (ตัวเลขคาดการณ์) สูงขึ้นจาก  21 ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2565 เนื่องจากการที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นผู้ตอบแบบสำรวจคาดหวังว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวขาเข้าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และปัญหาการขาด แคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนจะได้รับการแก้ไข

แม้ปัจจัยที่กระทบต่อเศรษฐกิจดังกล่าวจะตรงข้ามกับปัจจัยในช่วงครึ่งหลังปี 2565 จะมีทั้ง ราคาวัตถุดิบและชิ้นส่วน ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่อุปสงค์ที่มีต่อการส่งออกลดลงและเป็นผลต่อเนื่องที่ทำให้หลายประเทศดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว ซึ่งปัญหาต่างๆได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจซึ่งผลสำรวจได้สะท้อนออกมาในประเด็นต่างๆ โดย เมื่อถามถึงด้านการส่งออกและตลาดส่งออกที่มีศักยภาพในอนาคต 51% คาดว่าการส่งออกจะ “คงที่” ส่วน 35% คาดว่าการส่งออกจะ “เพิ่มขึ้น”  ส่วน 14% คาดว่าการส่งออกจะ “ลดลง” เมื่อถามถึงศักยภาพตลาดส่งออก อันดับ 1 คือ เวียดนาม รองลงมาอินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นตามลำดับ  

“อย่างไรก็ตาม ธุรกิจญี่ปุ่นมองว่าการบริหารองค์กรต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ราคาวัตถุดิบและชิ้นส่วนสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกสูงด้วย ”

ทั้งนี้ ผลสำรวจจึงถามถึงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย  พบว่าเรื่องการพัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบและการบังคับใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีศุลกากรและพิธีการศุลกากร มีสัดส่วนสูงสุด 35% ซึ่งเป็นประเด็นที่บริษัทต่างๆ ต้องการร้องขอต่อรัฐบาลไทยมากที่สุด ส่วนประเด็นรองลงมาได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน สัดส่วน34% และ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง สัดส่วน 34%

ส่วนประเด็นอื่นๆที่บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมากเลือกตอบ ได้แก่ การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาอุทกภัย สัดส่วน 31% ส่วนประเด็นที่บริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆเลือกตอบมาก ได้แก่ การผ่อนปรนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 25%

สอดคล้องกับคำถามถึงการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการลงทุน หรือการประเมินนโยบายนั้นพบว่าประเด็นที่บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นเห็นว่ามีการปรับปรุงพัฒนาดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น คือ มาตรการรองรับผลกระทบจากโรคโควิด-19  ซึ่งบริษัทเลือกตอบมากที่สุด ตามด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง  ,การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร ,มาตรการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและ ความตกลงทางเศรษฐกิจ เช่น FTA และ EPA

เมื่อถามถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากผลกระทบจากการขาดแคลนและราคาที่พุ่งสูงขึ้นของพลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบ นั้น ผลสำรวจได้แยกย่อยในประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการขาดแคลนและราคาที่พุ่งสูงขึ้นของพลังงาน (เช่น น้ำมันดิบ) ทรัพยากร วัตถุดิบ ฯลฯ นั้น บริษัท ส่วนใหญ่ ระบุว่า ได้รับผลกระทบเชิงลบอยู่บ้าง และบางส่วนระบุว่า ได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมาก ในขณะเดียวกันพบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามสัดส่วน 14% เท่านั้นที่ตอบว่าไม่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ เมื่อถามเรื่องการลงทุนด้านโรงงานและเครื่องจักร  พบว่าสัดส่วนของบริษัทที่คาดว่าจะลงทุนเพิ่มด้านโรงงานและเครื่องจักรในปีพ.ศ. 2566 คิดเป็น 31% ขณะที่ 46% ของบริษัทผู้ตอบ แบบสำรวจคาดว่าจะ ลงทุนคงที่ และ 16% คาดว่าจะลงทุนลดลง

ขณะเดียวกันเมื่อถามถึงคาดการณ์ที่มีต่อกิจกรรมทางธุรกิจในอนาคต ก็พบว่าหากำนึงถึงการปรับปรุงซัพพลายเชน บริษัทผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะคงขนาดกิจการปัจจุบัน 66% มากที่สุด ในขณะที่ 25% ระบุว่าจะขยายกิจการและ 8% คาดว่าจะขยายกิจการ ด้วยการย้ายฐานจากประเทศอื่นมายังประเทศไทย

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยและโลกเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่รุนแรงและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาแต่ผลสำรวจจากภาคธุรกิจตัวจริงเสียงจริงกำลังชี้ว่าท่ามกลางความเสี่ยงก็มีโอกาสซ่อนอยู่ขึ้นอยู่กับว่าการบริหารจัดการของทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐจะสามารถทำให้น้ำหนักด้านเสี่ยงหรือด้านโอกาสด้านใดมีบทบาทมากกว่ากัน