มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก

มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก

"มนัญญา" สั่งกรมวิชาการเกษตร ตรวจ มะพร้าวนอกโควตา 100% หลังพบผู้ประกอบการแห่นำเข้า ทั้งมะพร้าว -น้ำกะทิ รวมกว่า 3,000 ล้านบาท ทำราคามะพร้าวในประเทศตกต่ำ พร้อมกระชับสัมพันธ์ สปป.ลาว ดันส่งออกสินค้าเกษตร

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลมะพร้าวตกต่ำ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศรายงานว่า มียอดนำเข้ามะพร้าว ตั้งแต่เดือน ม.ค. - พ.ย. 2565 ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Free Trade Area (AFTA) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization (WTO) รวม 130,000 ตัน โดยเป็นการนำเข้าตาม 2 กรอบดังกล่าว รวม 7,000 ตัน ที่เหลือเป็นการนำเข้านอกกรอบ WTO ที่เสียภาษีร้อยละ 54

มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก

นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รายงานว่า มียอดตัวเลขนำเข้าน้ำกะทิจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ทำอาหารและอื่น ๆ ผ่าน อย. ปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจเรื่องการปนเปื้อน หรือเชื้อโรคและสารตกค้างตามกฎหมายอาหารและยาแล้ว อย. ไม่มีอำนาจในการติดตามปลายทางของสินค้าดังกล่าว จึงไม่ทราบว่ากะทิเหล่านั้นถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดบ้าง

แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการลดการพึ่งพาผลผลิตของเกษตรกรภายในประเทศ จึงมีการนำเข้ามะพร้าวผลและน้ำกะทิ เพื่อมาเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าจำหน่ายในประเทศและส่งออก จึงส่งผลกระทบต่อราคามะพร้าวของเกษตรกรไทยโดยตรง อีกทั้ง ภาคเอกชนยอมเสียภาษีนำเข้ามะพร้าวนอกโควตาเพื่อเลี่ยงการปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เช่น การกะเทาะเปลือกในโรงงาน เป็นต้น

ดังนั้น การกำหนดโควตานำเข้ามะพร้าวของคณะกรรมการพืชน้ำมัน แต่ละปี จึงอาจไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งจะเห็นว่า ขณะนี้ราคามะพร้าวขูดสำหรับทำกะทิในท้องตลาด อยู่ที่ 70 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคารับซื้อมะพร้าวผลจากชาวสวน อยู่ที่ 5 - 12 บาทต่อผล

จึงเป็นคำถามว่า ส่วนต่างของราคานี้หายไปไหน แต่เอกชนกลับไปนำเข้าน้ำกะทิปีละ 3,000 ล้านบาท และยอมเสียภาษีนอกโควตา WTO ร้อยละ 54 ทำไมเราไม่ช่วยกันซื้อมะพร้าวภายในประเทศ และให้ราคาที่เหมาะสมกับเกษตรกร เพื่อให้เงินเหล่านี้กลับไปอยู่ในมือเกษตรกร ต่างกับราคาน้ำมันพืชที่ไม่เคยตกเลย ดังนั้นต้องมาบูรณาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และให้เกษตกรรได้ราคาผลผลิตที่เป็นธรรม”

นอกจากนั้น ได้กำชับให้กรมวิชาการเกษตรตรวจมะพร้าวที่มีการนำเข้าทั้งในและนอกโควตา 100% จากเดิมที่เป็นการสุ่มตรวจ รวมถึงรวบรวมข้อมูลการขอนำเข้าว่ามีทั้งหมดกี่บริษัท ปริมาณเท่าไหร่อย่างไร

มนัญญา ยังกล่าวก่อนการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในระหว่างวันที่ 25 - 28 มกราคม 2566 ว่า จะเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ณ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ นครหลวงเวียงจันทร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมเจตจำนงและมิตรภาพที่ดี และเปิดโอกาสในการหารือโครงการร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตรราชอาณาจักรไทย และกรมปลูกฝัง สปป.ลาว ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว

มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก มนัญญา สั่งตรวจมะพร้าวนำเข้า 100% หลังผู้ประกอบการเมินซื้อในไทยจนราคาตก

“ไทย - สปป.ลาว มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถส่งสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีนได้โดยตรง ต้องผ่าน สปป.ลาวก่อน ดังนั้นหากมีอุปสรรคติดขัดในจุดนี้ จะส่งผลกระทบกับเกษตรกรไทยอย่างมาก ซึ่งไม่ได้มองว่า สปป.ลาวเป็นทางผ่าน แต่มองว่าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่จะขยายสินค้าจากไทยไปยังจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยไทย และสปป.ลาว จะต้องหารือร่วมกันและทำงานอย่างใกล้ชิด ในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับ สปป.ลาว ในเรื่องของสุขอนามัยพืชที่มีมาตรการตรวจอย่างเข้มข้นก่อนส่งออก รวมถึงประเด็นสำคัญอย่างเส้นทางรถไฟ ไทย-ลาว-จีน เนื่องจากไทย - จีน มีข้อตกลงการส่งออกผลไม้ผ่านประเทศที่สาม ต้องปิดซีลตู้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและปลอมปนสินค้าระหว่างขนส่งตลอดเส้นทางจนถึงประเทศจีน จึงจะขอความร่วมมือระหว่างขนส่งผ่าน สปป.ลาว นั้น ลดขั้นตอนการเปิดตู้หรือ Break Seal ตู้คอนเทนเนอร์ ยกเว้นกรณีมีข้อมูลว่ามีการซุกซ่อนสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งทางฝ่ายไทยจะนำตัวอย่างซีลและตัวอย่างใบรับรองสุขอนามัยพืชของไทยที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรองรับการใช้งาน e-Phyto แสดงต่อทางการ สปป.ลาวด้วย” รมช.มนัญญา กล่าว

การเดินทางครั้งนี้เป็นโอกาสดีของเกษตรกร และผู้ส่งออกของไทยที่ได้ร่วมเดินทางด้วย ที่จะได้รับทราบปัญหาที่ด่านของชายแดนลาว เพื่อนำมาแก้ปัญหาการแออัดที่ด่านไทย ลดความล่าช้าในการส่งออก ทั้งนี้ จะหารือในประเด็นที่สำคัญ อาทิ ระบบโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า ทั้งทางบกและทางอากาศ การพัฒนาความร่วมมือด้านสุขอนามัยพืชไทย - ลาว เพื่อป้องกันโรคและศัตรูพืชในสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย - ลาว (Working Group) ด้านวิชาการเกษตรและกักกันพืช ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน อีกทั้ง จะมีการหารือในเรื่องการนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรไปขยายผลในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซ้อน-ห้วยซั้ว ใน สปป.ลาว อีกด้วย

นอกจากนี้ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ที่ย้ำการเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” พร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจ เชื่อมโยงการท่องเที่ยว-คมนาคม รอบด้าน กับ สปป.ลาว ลาวเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 18 ของไทย โดยในปี 2565 ไทย – ลาว มีมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนรวมสินค้าทุกประเภท ทั้งหมดรวม 5.5 แสนล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่าในปีนี้ ตัวเลขการส่งออกด่านชายแดนไทย - ลาว จะเพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท จากยอดการส่งออกสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 - 60,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2562 -  2564 อยู่ที่ 30,000 ล้านบาท ด่านศุลกากรที่สำคัญอันดับ 1 คือ ด่านมุกดาหาร มีมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าถึง 2.24 แสนล้านบาท รองลงมาคือ ด่านหนองคาย นครพนมและด่านเชียงของตามลำดับ

สำหรับ ภาพรวมสินค้าเกษตรในการค้าชายแดนและผ่านแดนทางบก ไทย – สปป. ลาว (ม.ค. - พ.ย. 2565) ในปี 2565 ไทย – ลาว มีมูลค่าการค้าชายแดน (สินค้าเกษตรที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช) ส่งออก ปริมาณรวม 1.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.5 พันล้านบาท โดยมีสินค้าเกษตรส่งออกไปลาวที่สำคัญคือ ไม้และผลิตภัณฑ์ กากและของเหลือจากพืช อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์ ข้าว ผลไม้สด เป็นต้น สำหรับการส่งออกผ่านแดนจากลาวไปจีน (สินค้าเกษตรที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช) มีปริมาณรวม 8.06 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 5.66 หมื่นล้านบาท ผ่านด่านตรวจพืชเชียงของ ด่านตรวจพืชนครพนม ด่านตรวจพืชมุกดาหาร และ ด่านตรวจพืชหนองคาย ตามลำดับ

"ได้เตรียมหารือกับกรมตรวจบัญชีกลาง ของ สปป.ลาว ในการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านระบบการทำบัญชี และระบบการควบคุมภายในให้แก่สหกรณ์ของ สปป.ลาว จัดโปรแกรมศึกษาดูงานให้แก่เจ้าหน้าที่ด้านสหกรณ์ของ สปป. ลาว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับครูบัญชีอาสา และ Smart Farmer ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แนะนำการใช้งานโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร (Cooperative Full Pack Accounting Software : FAS) ให้แก่สหกรณ์ของ สปป.ลาวด้วย"

ในส่วนของความร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะมีรายงานผลสำเร็จของโครงการความร่วมมือด้านการสหกรณ์ระหว่างประเทสไทย – สปป.ลาว โครงการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร (สหกรณ์คู่แฝด ไทย-ลาว) การรายงานผลการประชุมหารือการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านการสหกรณ์ ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประเทศไทยกับกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และพัฒนาชนบท สปป. ลาว