‘ไทยเบฟ’ ปลุกทุกภาคส่วนสร้างความยั่งยืน

“ที่เห็นคือการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น และเราอยู่ในโลกของการบริโภคกันจริงจัง บริโภคหนักเหลือเกิน จึงมีเสียงสะท้อนหากภาวะโลกร้อนขึ้น โลกนี้จะอยู่ได้อย่างไร เหมือนร่างกายมนุษย์ที่อุณหภูมิเพิ่ม 2 องศา ย่อมรู้สึกตัวร้อนๆ มีอาการป่วย”

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เอกชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อโลก มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างการเติบโต แต่อีกมิติสิ่งที่ผู้ประกอบการดำเนินการ ล้วนผลิตเพื่อตอบสนองการบริโภคของประชากรโลกทั้งสิ้น ซึ่งนับวันการบริโภคยังขยายตัวหรือ Consumerism ตามจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในอีก 15 ปีข้างหน้า คาดการณ์ทะยานสู่ 9,000 ล้านคน หลังจากเพิ่งแตะ 8,000 ล้านคนเมื่อเร็วๆนี้
“ที่เห็นคือการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น และเราอยู่ในโลกของการบริโภคกันจริงจัง บริโภคหนักเหลือเกิน จึงมีเสียงสะท้อนหากภาวะโลกร้อนขึ้น โลกนี้จะอยู่ได้อย่างไร เหมือนร่างกายมนุษย์ที่อุณหภูมิเพิ่ม 2 องศา ย่อมรู้สึกตัวร้อนๆ มีอาการป่วย”

ไทยติดทำเนียบความยั่งยืนดาวโจนส์
ทั้งนี้ หากพิจารณาทำเนียบการทำดัชนีชี้วัดความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Index : DJSI จะพบว่าองค์กรธุรกิจชั้นนำของไทยติดอันดับถึง 8 บริษัท และเป็นผู้นำของแต่ละอุตสาหกรรมด้วย เช่น อาหาร การสื่อสารฯ จากบริษัทเข้าเกณฑ์ 29 บริษัท เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นมีเพียง 6 บริษัทเท่านั้น จาก 70 บริษัทที่เข้าเกณฑ์ด้านความยั่งยืน
ดังนั้น แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน เอกชนจึงไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพัง แต่ต้องผสานเครือข่ายในห่วงโซ่การผลิตหรือซัพพลายเชนกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโลก
“ไทยเบฟ เป็นน้องใหม่เพิ่งอยู่บนกระดานดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI หากชวนคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 17 ข้อของสหประชาชาติหรือยูเอ็น เป็นเหมือนกรอบเป้าหมายองค์กร ที่อยากให้ทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติ เพราะะเอกชนทำลำพังไม่ได้ ไม่มีบริษัทไหนเล็กใหญ่กว่ากัน เราร่วมมือทำเพื่อโลกใบนี้ได้”

++ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้ บริษัทมีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง 2 คุณค่า ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และความรู้ และคุณธรรม เพราะการผลิตสินค้าและบริการต้องพิจารณาว่าผลิตเท่าไหร่ถึงจะพอประมาณ หรือความมีเหตุผล ต้องประเมินทำขนาดไหน เคลื่อนธุรกิจให้โตสุดโต่งแล้วสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือไม่อย่างไร
“เมื่อทุกองค์กรช่วยกัน แต่ท้ายที่สุดต้องกลับไปจุดเล็กสุดคือปัจเจกบุคคล ในการสร้างความยั่งยืน ช่วยโลก เพราะคนหนึ่งพลิกกระดานโลกใบนี้ได้”
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนของไทยเบฟมีหลายด้าน เช่น จำนวนขวด PET หลังการบริโภคที่ทิ้งลงถังคัดแยกและเครรื่อง RVM ที่นำมาแลกผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก 50,867 ขวด น้ำหนักรวม 763 กิโลกรัม(กก.) ลดปริมาณคาร์บอน 4.1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2e) จำนวนอาหารเหลือทิ้งเข้าสู่กระบวนการทำเป็นปุ๋ย 1,770 กก. ลดปริมาณคาร์บอน 4.5 tCO2e