นักกฎหมายจี้ กสทช.ใช้อำนาจฟันธงดีลทรู - ดีแทค

วงเสวนา “กสทช. กับหลักนิติธรรม และเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญในการกำกับดูแลคลื่นความถี่สาธารณะ ไม่ใช่นิติ (เพื่อ) ทุน” นักกฎหมาย - นักวิชาการ ประสานเสียง กสทช.

 

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ระบุ กสทช. จำเป็นต้องฟังเสียงของประชาชนในการถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช่การทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากไม่ฟังก็ควรจะไปอยู่กำกับดูแลของรัฐแทน แต่ กสทช. คือ องค์กรอิสระที่มีสิทธิในการกำกับดูแล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ฉะนั้นเมื่อเกิดการทักท้วงถึงปัญหาการควบรวมกิจการ กสทช.ต้องฟัง และนำไปพิจารณา ปัญหาคือ ทำไม กสทช. ไม่ยอมไปพิจารณา พยายามไม่อยากตีความทั้งๆ ที่ตนเองมีหน้าที่ในการทำ จากการตรวจสอบข้อมูลของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้มีการตีความให้ กสทช. สั่งการให้ตัดสินในการให้หรือไม่อนุญาตให้ควบรวมก็ได้ด้วยซ้ำ การพยายามไม่ตัดสินใจก็ถือว่าเป็นการทำเป็นไม่รู้ว่ามีข้อกฎหมาย และเสมือนอนุญาตโดยนัยแล้ว การที่ กสทช.บอกว่า การควบรวมดีแทค - ทรู เป็นแต่วาระแจ้งให้ทราบ เท่ากับว่าเป็นการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมซึ่งไม่ใช่การรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจจะเข้าข่ายการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยเช่นกัน

ดังนั้น จึงต้องการให้คณะกรรมการ กสทช.ทำหน้าที่นำเรื่องการควบรวมกิจการเข้าสู่การพิจารณา เพราะ กสทช.มีหน้าที่ทำตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 60 ที่ต้องคำนึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน หากไม่ทำเรื่องอาจจะต้องถึงคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หากวันที่ 12 ตุลาคม กรรมการ กสทช. ยังพิจารณาว่าเดินหน้าในการควบรวมก็ขอให้รับผิดชอบสิ่งที่ทำด้วย

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์