หวั่น ‘Metaverse’ ดิสรับ ‘ศก.สร้างสรรค์’ ‘CEA’ ผุด ‘Lab’ เสริมแกร่งดิจิทัลไทย

หวั่น ‘Metaverse’ ดิสรับ ‘ศก.สร้างสรรค์’ ‘CEA’ ผุด ‘Lab’ เสริมแกร่งดิจิทัลไทย

"CEA" เดินหน้าแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กระทบผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกเมตาเวิร์สตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงกระทบหลายอุตสาหกรรม เตรียมเปิดแลปพัฒนาผู้ประกอบการ สร้างทักษะ รับมือความเปลี่ยนแปลง พร้อมปั้น "ครีเอเทค" ไทย แข่งตลาดโลก

"เศรษฐกิจสร้างสรรค์" มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกว่า 15 อุตสาหกรรม มีขนาดจีดีพีรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่สำคัญมีการจ้างงานรวมกว่า 1 ล้านคน

"ชาคริต พิชญางกูร” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ระบุว่าอุตสากรรมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ และเกี่ยวข้องต่อเนื่องไปยังหลายส่วนของเศรษฐกิจ นอกจากการวางแนวทางในการส่งเสริมยังต้องวางแผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในรูปแบบที่เรียกว่า “ดิสรับชั่น”

เป็นสาเหตุที่ CEA ได้จัดทำแผนในเรื่องของการการมองทิศทางของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอนาคต (Foresight) ในระยะเวลาประมาณอีก 10 ปี เนื่องจากมีความเป็นห่วงเรื่องของดิสรัปชั่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

หวั่น ‘Metaverse’ ดิสรับ ‘ศก.สร้างสรรค์’ ‘CEA’ ผุด ‘Lab’ เสริมแกร่งดิจิทัลไทย

“ที่ผ่านมาเวลาเกิดดิสรัปชั่นในอุตสาหกรรมนี้จะกระทบคนทำงานในสาขานี้จำนวนมากโดยได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมฯนี้เพื่อให้ได้แผนที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการดิสรัปเร็วๆนี้อีกเพราะว่าเทคโนโลยีใหม่ๆเริ่มเปลี่ยนและเริ่มมีบทบาทมากขึ้น

"แผน Foresight"  จะช่วยให้มองภาพแต่ละอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียม เรื่องนโยบายและการดูแลผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของ CEA ที่จะต้องดูแลผู้ประกอบการในส่วนนี้ ซึ่งการศึกษาเรื่องนี้อย่างลงลึกจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจส่วนนี้ได้ดี และเตรียมการอย่างถูกต้องมากขึ้น”

เขากล่าวด้วยว่าตัวอย่างเรื่องของเทคโนโลยีดิสรับชั่นที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่องของ “เมตาเวิร์ส” เป็นเรื่องที่ต้องมาอยู่แล้ว และจะดิสรับชั่นอีกหลายอุตสาหกรรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่ที่จะกระทบกับผู้ประกอบการจำนวนมากเพราะโลกเสมือนที่จะเกิดขึ้นมาจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน กับเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมและเร่งการดิสรับชั่น เราต้องมีการวางแผน เตรียมผู้ประกอบการให้มีความพร้อม เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ชาคริตกล่าวต่อว่าในเรื่องของเทคโนโลยีดิสรับชั่นอย่างเมตาร์เวิร์สได้มีการหารือกับนักลงทุนเมตาร์เวิร์ส ที่เริ่มมีการเกิดขึ้นในหลายรายมาก และจะมีการกระจุกตัวของรายใหญ่ โดยรายย่อยไม่สามารถที่จะทำแพลตฟอร์มที่มีคนใช้จำนวนมากได้ แนวโน้มจึงจะถูกควบรวมจากรายใหญ่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยในไทย หรือคนที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจด้านนี้มีพื้นที่ในการทำงาน

“ในเรื่องนี้นี้ผู้ประกอบการรายใหญ่เตรียมตัวแล้วแต่รายย่อยต้องมีการปรับตัวในเรี่องนี้อีกมาก โดยในปีงบประมาณหน้า CEA เตรียมที่จะทำในเรื่องของเมตาร์เวิร์สแลป เพื่อช่วยให้นิสิต นักศึกษาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงเครื่องมือ ที่จะทำคอนเทนส์ 3D และเมตาร์เวิร์สแลป ที่นักสร้างสรรค์รายย่อยในไทยสามารถมาเช่า ใช้งาน หรือมาหาความรู้ในเรืองนี้ เพื่อสนับสนุนทั้งดีมานต์และซัพพาย และสร้างความเข้าใจในเรื่องของเมตาเวิร์สให้มากขึ้นด้วย”  

นอกจากนั้นยังมีแผนที่ CEA ต้องการพัฒนาผู้ประกอบการสู่ "Creative" เป็น "Createch" ที่เป็นนักสร้างสรรค์ที่เข้าใจเทคโนโลยีแล้วสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆออกมาได้มากที่สุด และจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โดยแผนจะมีทั้งการสร้างเรียนรู้ ไปจนถึงการบ่มเพาะ และทำเวิร์คช็อปเชิงรุก โดยอยากให้มีนักสร้างสรรค์ในส่วนนี้ประมาณ 10% ของผู้ประกอบการทั้งหมด โดยใช้การบ่มเพาะผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต