เปิดผลตอบแทน " 5 กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่สุด" ในรอบ 1 ปี

เปิดผลตอบแทน " 5 กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่สุด"  ในรอบ 1 ปี

มอร์นิ่งสตาร์ เผยกองทุน K-CHINA-A(D) โดย บลจ.กสิกรไทย เป็นกองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่สุด ผลตอบแทน 1 ปีที่ -31.8 % ด้านภาพรวมผลตอบแทนกองทุนหุ้นจีน ติดลบ แต่ช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1.4 หมื่นล้าน และเป็นกลุ่มกองทุนตราสารทุนมีเงินไหลเข้าสูงสุด เป็นจังหวะซื้อทำกำไร

ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนแสดงแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงทำให้ผลตอบแทนกองทุนติดลบ ซึ่งอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละกองทุน

ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนแสดงแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 2 นี้เติบโตเพียง 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและหดตัวลง 2.6% จากไตรมาสแรก ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนเผชิญกับปัจจัยลบ เช่น จากที่ในอดีตเศรษฐกิจจีนมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากกลุ่มอสังหาฯ แต่เกิดปัญหาการชำระหนี้และสภาพคล่องของบริษัทอสังหารายใหญ่ กระทบความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรม และในปีนี้ต้องมีการ lockdown ที่กระทบภาคการบริโภคในประเทศ มาจนถึงการงดจ่ายค่าผ่อนบ้านของประชาชนที่เห็นว่าการก่อสร้างโครงการมีความล่าช้า จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ตัวอย่างที่กล่าวมาส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนใน 2 ด้านหลักคือ การลงทุนใน fixed-asset และ การบริโภคในประเทศ

เปิดผลตอบแทน \" 5 กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่สุด\"  ในรอบ 1 ปี

ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบแต่มีเงินทยอยลงทุนต่อเนื่อง

ด้านการลงทุนในกองทุนหุ้นจีนพบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ในแดนลบเกือบตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา โดยต่ำสุดในเดือนมีนาคมปีนี้ที่เริ่มดำเนินการตรวจหาผู้ติดเชื้อและปิดเมือง และสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ระดับ 8% ซึ่งเป็นเดือนที่ได้มีการยกเลิกมาตรการปิดเมือง

ในขณะเดียวกันที่ยังมีเม็ดเงินทยอยลงทุนกองทุนหุ้นจีนต่อเนื่อง โดยเดือนกรกฎาคมมีเงินไหลเข้าสุทธิ 2.6 พันล้านบาท รวม 7 เดือนไหลเข้าสุทธิ 1.4 หมื่นล้านบาท หรือเป็นกลุ่มกองทุนตราสารทุนที่มีเงินไหลเข้าสูงสุดในรอบ 7 เดือนแรกของปี

ผลตอบแทน 5 กองทุนขนาดใหญ่ติดลบในระดับต่างกัน

ในส่วนของผลตอบแทนรายกองทุนนั้นมอร์นิ่งสตาร์ได้นำกองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรก รวมมูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 37% ของมูลค่าการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน โดยพบว่าในช่วง 1 ปีแม้ว่าในแง่ของความเสี่ยงจากการลงทุนจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีผลตอบแทนติดลบในระดับที่ต่างกัน

โดยกองทุน K-CHINA-A(D) จากบลจ.กสิกรไทย ซึ่งเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม มีผลตอบแทน 1 ปีที่ -31.8% ซึ่งมีส่วนมาจากการถือหุ้นจีน A-share ในสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ทำให้มีการถือหุ้น internet ของจีนที่มากกว่า ซึ่งมีการปรับตัวลงไปค่อนข้างมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันกองทุนอื่นมีสัดส่วนหุ้น A-share ที่มากกว่าจึงได้ประโยชน์จากช่วงที่ดัชนี CSI 300 ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นจีนโดยรวม

อย่างไรก็ดีการลงทุนหุ้น A-share ในสัดส่วนที่สูงก็ไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนที่สูงกว่าเสมอไป หากมองในระยะ 3 ปีจะพบว่า กองทุน B-CHINE-EQ จากบลจ.บัวหลวงมีผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนอื่น โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนหุ้น A-Share ในระดับ 50%-60% จากการลงทุนในรูปแบบ Fund of funds และลงทุนตรงในหุ้นรายตัว เป็นส่วนให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในช่วงที่หุ้น internet ของจีนปรับตัวขึ้น

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นจีนนั้นมีรายละเอียดที่นำไปสู่ผลตอบแทนที่ต่างกัน ทั้งแบบที่เน้นการลงทุนใน A-share แบบเน้น H-share และ ADR หรือ All China ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจถึงนโยบายของกองทุน พร้อมกับพิจารณาปัจจัยอื่นเช่น ค่าธรรมเนียมกองทุน ระยะเวลาการลงทุน เพื่อที่จะได้สามารถเลือกกองทุนตามความต้องการและจัดพอร์ตการลงทุนตามความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม

 

เห็นสัญญาณฟื้นตัวในจีน เป็นจังหวะเข้าซื้อคว้าโอกาสทำกำไร

นายสุรเดช เกียรติธนากร กรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย มองว่า  ตลาดหุ้นจีนกลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากนโยบายเศรษฐกิจแบบผ่อนคลาย ซึ่งสวนทางกับประเทศอื่นๆ ที่มีทิศทางนโยบายเศรษฐกิจเป็นแบบตึงตัวมากขึ้น และจีนไม่ประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก ไม่ได้อยู่ในวงจรของการขึ้นดอกเบี้ยอย่างสหรัฐฯ และยุโรป จึงทำให้จีนมีความได้เปรียบกว่าประเทศอื่นในมุมของสภาพคล่อง

นอกจากนี้ ระดับราคาหุ้นปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวในอดีต และได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เนื่องจาก ตลาดรับรู้ปัจจัยลบในช่วงที่ผ่านไปเยอะแล้ว โดยกองทุนหุ้นจีนที่น่าสนใจ คือ กองทุน K-CHX มีนโยบายลงทุนในหุ้นจีนขนาดใหญ่ที่สุด 50 ตัวแรกในตลาด A-Share เน้นหุ้นกลุ่ม Old Economy เช่น การบริโภคและการเงิน ที่จะกลับมาเติบโตสูงจากการบริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ หากต้องการลงทุนในระยะยาว พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็สามารถมาลงทุนในกองทุน K-CHINA-SSF และ K-CHINA-RMF ได้