อ่อนตัว ซื้อเก็งกำไร KKP KBANK SINGER (8 ส.ค. 2565)

อ่อนตัว ซื้อเก็งกำไร KKP KBANK SINGER (8 ส.ค. 2565)

คาดดัชนีฯ อ่อนตัว แนวต้าน 1,610 / 1,630 จุด แนวรับ 1,593 / 1,586 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร KKP KBANK SINGER ทางเทคนิค ดัชนีฯ มีแนวโน้มปรับฐานระยะสั้นก่อนขึ้นทดสอบ 1,610 จุด โมเมนตัมเชิงลบ คือ ยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ที่กลับมาปรับตัวสูงขึ้น

เพราะกังวลว่าเฟดจะเดินหน้าเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ หลังตัวเลขจ้างงานและค่าจ้างเฉลี่ย รายชั่วโมงเดือน ก.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาสูงเกินคาดมาก ไฮไลท์สัปดาห์นี้ คือ การรอลุ้นผลกำไรบริษัทจดทะเบียนและรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ วันอังคาร Consumer Inflation Expectations เดือน ก.ค. ของสหรัฐฯ วันพุธ รายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ค. ของจีนและสหรัฐฯ รวมถึงผลประชุมกนง. และวันศุกร์ Michigan Consumer Sentiment เบื้องต้น เดือน ส.ค.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC JMART TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT CPN MINT KTB BDMS MAJOR (แนะนำขาย EA ซื้อ JMART) พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH AJ DOD DOHOME KSL M NYT RS TWPC SAT TMT WICE PORT SFT TK (แนะนำซื้อ M)

+ หุ้นที่เคยได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของยิลด์พันธบัตร: MTC SINGER THANI TIDLOR

+ กลุ่มโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่า FT และราคาน้ำมันที่ลดลง: BGRIM GPSC GULF

+ Daily Recommendations: KKP KBANK (ได้รับผลบวกจากความกังวลดอกเบี้ยขาขึ้น หลังสหรัฐฯ รายงานตัวเลขภาคการจ้างงานที่แข็งแกร่ง) SINGER (เก็งกำไรผลประกอบการ 2Q22 ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตทั้ง QoQ และ YoY จากช่วงไฮซีซั่นของการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า)

 

ปัจจัยบวก

+ Thailand: เงินเฟ้อเดือน ก.ค. เติบโต 7.61% YoY ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. ที่ 7.66% YoY และต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ 8.0% ทำให้ตลาดคลายกังวลต่อผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ส่งผลลบต่อภาคการบริโภคในประเทศ และลดโอกาสต่อการต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงในการประชุมกนง. กลางสัปดาห์นี้ (+หุ้นกลุ่ม ค้าปลีก)

 

 

 

ปัจจัยลบ

- USA: สหรัฐฯ รายงานตัวเลข Nonfarm Payrolls, อัตราการว่างงาน และอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงเดือน ก.ค. สูงขึ้นกว่าคาด ทำตลาดกลับมากังวลว่าเฟดจะยังคงเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ สะท้อนจาก Fed Funds Future ซึ่งให้น้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จาก 2.50% สู่ระดับ 3.25% ที่ 68.00% (-หุ้นกลุ่มลิสซิ่ง และหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในระยะสั้น +หุ้นกลุ่มธนาคาร)

 

ประเด็นสำคัญ

- Earnings Results: ADVANC, GPSC, MAKRO, NER, SNNP และ TU

- Japan: ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มิ.ย. คาดขาดดุล -680 พันล้านเยน (Vs เดือน พ.ค. ขาดดุล -703.8 พันล้านเยน)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่อง: ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบ 1,595.89 - 1,603.86 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,601.09 จุด +2.34 จุด วอลุ่มซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท นำบวกโดยกลุ่มธนาคาร +1.46% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ +0.54% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +0.26% กลุ่มพาณิชย์ +0.24% หุ้นบวก >4% KKP SVT APP SPVI SVOA SYNEX WICE CPW TAKUNI IT III JWD หุ้นลบ >4% CPR SPACK CPL CMO

+/- หุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA +0.23% S&P500 -0.16% NASDAQ -0.50% นำลงโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนหุ้นกลุ่มธนาคารปรับสูงขึ้น เพราะกังวลว่าเฟดอาจจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค. สูงกว่าคาดเกือบสองเท่า +528k (Vs คาด 258k) และค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง +0.5% MoM (Vs คาด +0.3% MoM) (สัปดาห์ที่ผ่านมา Nasdaq +2.2% WoW, S&P500 +0.4% WoW และ DJIA -0.1% WoW) ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ CAC40 -0.63% DAX -0.65% FTSE -0.11% จากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอและวิตกอัตราดอกเบี้ยที่เร่งสูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย (สัปดาห์ที่ผ่านมา DAX +0.67% WoW, CAC40 +0.37% WoW, FTSE +0.22% WoW)

 

 

+/- น้ำมันดิบปิดบวก ส่วนทองคำปิดลบ: WTI +47 เซนต์ ปิดที่ USD89.01/บาร์เรล Brent +80 เซนต์ ปิดที่ USD94.92/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งเกินคาด แต่การปรับขึ้นถูกจำกัดจากความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (รายสัปดาห์ Brent -8.02% WoW และ WTI -6.01% WoW) ส่วนราคาทองคำ -USD15.7 ปิดที่ USD1,791.2/ออนซ์ โดยถูกกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้น หลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. (รายสัปดาห์ +0.5% WoW)

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรพุ่งขึ้น 528,000 ตำแหน่ง ในเดือน ก.ค. โดยพุ่งขึ้นมากกว่า 2 เท่า จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 258,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานดีดตัวขึ้น +0.5% MoM และพุ่งขึ้น +5.2% YoY ขณะที่ มิเชล โบว์แมน หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยในวันเสาร์ (6 ส.ค.) ว่า เฟดควรพิจารณาขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ในระดับที่เฟดตั้งเป้าไว้

- Italy: Moody’s ปรับลดแนวโน้มเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวลงเป็น Negative (เดิม Stable) เนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศและรับผลกระทบจากสงครามยูเครน

- China: ทางการจีนตัดสินใจสั่งคว่ำบาตรนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ รวมถึงคนในครอบครัว เพื่อตอบโต้การกระทำที่จีนมองว่าแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างร้ายแรง รวมทั้งเหยียบย่ำนโยบายจีนเดียว ภายหลังจากที่นางเพโลซี เดินทาง ไปเยือนไต้หวัน

+ China: รายงานวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พบว่าดุลการค้าเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเป็น USD101.26bn. เนื่องจาก Export +18% YoY สูงสุดรอบหกเดือน หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ Import +2.3% YoY เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม (Vs เดือน มิ.ย. เกินดุล +USD97.94bn., Export +17.9% YoY, Import +1% YoY)

+ Thailand: กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค. 2022 เพิ่มขึ้น 7.61% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นครั้งแรกในรอบปีที่เงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อนหน้า พร้อมกันนี้ได้ปรับประมาณการเงินเฟ้อสำหรับปีนี้ใหม่เป็น 5.5-6.5% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 4.0-5.0% ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

+ Thailand: ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือน ก.ค. 2022 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.92 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 60.9% จากเดือนก่อนหน้ากลับมาอยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" โดยนักลงทุนมองว่าการฟื้นต้วของภาคท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมา คือนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BEM MAJOR ADVANC

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KKP KBANK SINGER

Derivatives: แนะถือ Long ที่เปิดไว้ต้นทุน 955 จุด