ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

'ไทย' เดินหน้าปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาครับความต้องการของโลกในอนาคต เปิดเวที ‘WUWM Bangkok 2024’ ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย้ำศักยภาพซัพพลายเชนแกร่ง พร้อมโชว์เคส ‘ตลาดไท’ นำเทรนด์ใหม่สู่โลกอนาคต

KEY

POINTS

  • ไทยโชว์ศักยภาพปักหมุดเป็น 'ศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งอาเซียน' รองรับความต้องการประชากรโลกอนาคตคาดทะลุ 9,000 ล้านคน ภายในปี 2050 
  • เปิดเวทีประชุมประจำปี  'WUWM Bangkok 2024' ของสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรโลกครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทย
  • แนะเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า ผสานนวัตกรรม เทคโนโลยี สร้างแพลตฟอร์มค้าส่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับการค้าขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารสด 

ภูมิศาสตร์ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางแห่งภูมิภาคอาเซียน ทั้งยังเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก! มีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมศักยภาพของไทยปักหมุด 'ศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งอาเซียน' รองรับความต้องการของโลกในอนาคต

ตอกย้ำความแข็งแกร่งของไทยจากการเปิดเวทีประชุมประจำปี  'WUWM Bangkok 2024' ของสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรโลก หรือ World Union of Wholesale Markets : WUWM ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้ค้าส่งผลผลิตทางการเกษตรและอาหารสด มีองค์กรสมาชิกกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ร่วมกับสมาคมการค้า ตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย (TAWMA) มีสมาชิกเป็นตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรและอาหารสด 17 ตลาดทั่วประเทศ และ ตลาดไท ตลาดกลางสินค้าเกษตรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

งานประชุม 'WUWM Bangkok 2024' เมื่อวันที่ 15-17 พ.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นการจัดประชุมครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทย มีผู้คนในแวดวงตลาดค้าส่งผลผลิตทางการเกษตรและอาหารสดจากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 300 คน ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ องค์ความรู้ 

โดยเฉพาะ 'การใช้เทคโนโลยี' ที่มีบทบาทมากขึ้นในตลาดค้าส่ง รวมถึงการทรานส์ฟอร์มด้านดิจิทัล การสร้างโอกาสในห่วงโซ่อุปทานด้านอาหาร การเดินหน้าองค์กรสู่ 'ธุรกิจยั่งยืน' พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตในตลาดโลก ที่ผู้ผลิตจะต้องเข้าถึงตลาด เพื่อส่งต่อการค้าขายจากผู้ผลิต ผู้ค้า ไปถึงผู้บริโภคได้สะดวก มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยและสุขอนามัยของสินค้าทางการเกษตรและอาหารได้ดียิ่งขึ้น

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้เข้าเยี่ยมชม 'ตลาดไท' บนพื้นที่ 543 ไร่ จ.ปทุมธานี นับเป็นโชว์เคสกระบวนการและความทันสมัยในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งตลาดผลไม้รวม ตลาดผลไม้นานาชาติ ตลาดเนื้อสัตว์สด พร้อมชิมผลไม้ประจำฤดูกาลของไทย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า มะม่วงสุก ทุเรียน น้ำมะพร้าว อาหารไทยหลากหลายเมนู สร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมงาน 

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นายกสมาคมการค้า ตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรไทย และผู้ถือหุ้นใหญ่ ตลาดไท ฉายภาพว่า ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรและอาหารสดของโลกในอนาคตจะขยายตัวมากขึ้น ตามจำนวนประชากรโลก ที่คาดการณ์ว่าจะทะลุ 9,000 ล้านคนภายในปี 2593 หรือ ปี 2050 เพิ่มขึ้น 30% จากปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมากอยู่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัจจุบัน 10 ประเทศ มีประชากรรวมกว่า 660 ล้านคน จีดีพีเกือบ “12 ล้านล้านดอลลาร์” เป็นมูลค่าใกล้เคียงกับครึ่งหนึ่งของสหภาพยุโรป

โดยเพื่อที่จะเป็นแหล่งอาหารให้กับประชากรได้อย่างเพียงพอ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประมาณการว่าจะต้องเพิ่มการผลิตอาหารให้มากขึ้นถึง 70%

“ดีมานด์ที่มากขึ้น ไทยมีศักยภาพสูงที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้ได้ด้วยภูมิศาสตร์ที่ดีเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค รัฐบาลมีการลงทุนมหาศาลด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งทางราง สนามบินนานาชาติ ท่าเรือ มีความร่วมมือใกล้ชิดกับภาคเอกชน และมีศักยภาพแฝงอื่นๆ ที่ขยายโอกาสได้อีก มีเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศในและนอกภูมิภาค”

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคการเกษตรของไทยจะมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในประเทศ แต่ 'ไทย' เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับข้าว น้ำตาล สับปะรด กลุ่มมะม่วง-มังคุด-ฝรั่ง กุ้ง น้ำมันปาล์ม และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และทุเรียน 

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ไทยมีมูลค่าส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและการเกษตรแปรรูป '1.7 ล้านล้านบาท' หรือ 50,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งเป็นการส่งออกอาหาร ตอกย้ำสถานะผู้ผลิตและความสำคัญของภาคการเกษตรและอาหารสดของไทย

รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แทบทุกประเทศต่างมี 'ภาคการเกษตร' เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจ เป็น 'แหล่งอาหาร' หล่อเลี้ยงประชากรในประเทศ โดยไทยและอินโดนีเซีย มีการจ้างงานในภาคการเกษตร 1ใน3 ของการจ้างงานทั้งหมด กัมพูชาและเมียนมา ภาคการเกษตรมีสัดส่วนเกือบ 1ใน4 ของจีดีพีประเทศ 

จะเห็นว่า ไทยมีศักยภาพที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการค้าขายของภูมิภาคอาเซียน พร้อมรองรับเทรนด์โลกในอนาคตได้ เพราะไทยผลิตผลผลิตทางการเกษตรและอาหารหลายอย่างได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก แม้เกษตรกรบางส่วนยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมอยู่ แต่ก็มีโอกาสด้านบวกหากนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ยกระดับการบริหารจัดการเรือกสวนไร่นา คุณภาพดิน จะช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ เพิ่มผลกำไร ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของเกษตรกรไทยในตลาดโลกได้

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ไทยยังมีความพร้อมของ  'ภาคส่วนการตลาดค้าส่งสินค้าทางการเกษตรและอาหารสด' ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตของเกษตรกร การจัดสรร และส่งมอบผลผลิตต่างๆ ไปถึงประชากรได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และในปริมาณที่ถูกต้อง

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ทางด้าน สเตฟาน ลายานี ประธานสมาคมการค้าตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรโลก หรือ WUWM เห็นด้วยว่า การผสานใช้เทคโนโลยีในวงการตลาดค้าส่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วช่วยทำให้ตลาดค้าส่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับการค้าขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารสด ซึ่งไทยและประเทศในภูมิภาคจะเดินหน้าไปในเทรนด์เดียวกัน

ไทยปักหมุดศูนย์กลางค้าส่งสินค้าเกษตรแห่งภูมิภาคย้ำศักยภาพซัพพลายเชน

ไม่ต่างจาก ฉู ตงหยู ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO มองว่า หากตลาดค้าส่งอาหารดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทาน อาทิ เพิ่มการเข้าถึงตลาดสำหรับผู้ผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค 

ขณะที่ เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางทางด้านสินค้าเกษตรและอาหารของภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ทั้งสนามบิน ท่าเรือ ระบบราง และระบบถนน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของภาคการค้าส่งและภาคธุรกิจอื่นๆ 

นักลงทุนต่างชาติ ทั้งจากสหรัฐ ยุโรป และอาเซียน ล้วนมุ่งหน้าสู่ประเทศไทยกระทรวงการคลังจะไปดูในเรื่องระบบภาษีด้วย เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น