“ซีพีแรม” พลิกมุมคิด พัฒนา “คน” สร้างความมั่นคงอุตฯ อาหาร

“ซีพีแรม” พลิกมุมคิด พัฒนา “คน” สร้างความมั่นคงอุตฯ อาหาร

เจาะแนวคิด ซีพีแรม ชี้ องค์กรต้องมีการบริหารจัดการที่ดี จึงจะทำให้เดินหน้าไปได้เรื่อยๆ พนักงานต้องมีความสุข ต้องมั่นตรวจเช็ค ถ้าตรวจพบสิ่งไม่ดีก็ต้องรีบปรับปรุง

พี่ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหาร “บริษัท ซีพีแรม จำกัด” โดยการนำทัพของ “วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู” หัวเรือใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ มีแนวทางในการคิดและดำเนินธุรกิจ ด้วยยุทธศาสตร์เกษตรและอาหาร 3S ประกอบด้วย 1.ความปลอดภัยทางอาหาร (Safety) 2.ความมั่นคง (Security) และ 3.ความยั่งยืนของทรัพยากรและนิเวศการเกษตร (Sustainability)

“ซีพีแรม” เป็นองค์กรที่อยู่มานานกว่า 37 ปี ได้รับรางวัลมามากมาย อาทิ รางวัล The Deming Prize 2023 จากสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของประเทศญี่ปุ่น และล่าสุด ยังไดัรับรางวัลในงาน Thailand Quality Prize 2024 ของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.)

Work-Based Learning สไตล์ซีพีแรม

นายวิเศษ กล่าวว่า ซีพีแรมมีความแข็งแกร่งในหลายๆ ด้วย อาทิ องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ จึงได้นำองค์ความรู้มาสร้างประโยชน์ ไม่เพียงแค่ภายในองค์กร แต่ขยายไปถึงซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยวิธีที่ซีพีแรมทำ คือ การศึกษา

แนวทางแรกของการสนับสนุนการศึกษาและขยายองค์ความรู้ที่มี คือ การเปิดให้ผู้สนใตจเข้ามาดูงาน ให้เห็นวิธีการทำ Food Safety การสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Security) รวมไปถึงการใช้งทรัพยากรและนิเวศการเกษตรอย่างยั่งยืน (Sustainability)

อีกแนวทางหนึ่งในการขยายองค์ความรู้ของผู้บริหารคนนี้ คือ การทำ Work-Based Learning (WBL) หรือ การเรียนรู้โดยการใช้การทำงานเป็นฐาน

“เราจะทำอย่างไรให้เขาทำอย่างเราได้ เราต้องการสร้างคนที่เป็นเจนเนอเรชั่นใหม่ เราเลยใช้การบริหารจัดการเรื่องระบบการศึกษา ที่เป็น Work-Based Learning เรียนเพื่อมาทำงานจริง เราทำปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการอาหาร โดยซีพีแรมเป็นคนช่วยโอปอเรทให้กับสถาบันปัญญาภิวัฒน์ เราบริหารหลักสูตรด้วยการทำ Work-Based Learning เอาคนของเราเข้าไปช่วยเสริม เด็กที่ไปเรียนก็ได้เข้ามาดูงานที่ซีพีแรม”

นายวิเศษ กล่าวว่า ซีพีแรมทำหลักสูตรนี้มาแล้ว 2 ปี สร้างคนได้ปีละ 40 คน และขณะนี้กำลังวงแผนในการโอปอเรทอีกหนึ่งโครงการ เป็น Postgrad หรือ Postgraduate คนที่จบปริญญามาแล้ว ทำงานไปได้ซักพัก ก็อยากเรียนรู้เพิ่ม ต้องเติมทักษะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

“การทำ Postgrad เราเน้นการเรียนเป็นเรื่องๆ เพื่อใช้งานเลย เป็นโมดูลเพื่อใช้งาน เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย เรียนจบก็ได้ Certificate อยากเรียนอะไรเพิ่มก็มาเรียนอีก พอเอา Certificate โมดูลแต่ละอันมารวมกัน ก็ได้ปริญญาโท...เราจะเปิด ”ออโตเมชั่น แอนด์ โรบอติค“ ให้คุณมาเรียน เป็นโครงการอัพสกิล”

ที่กล่าวข้างต้นคือแนวคิดในการส่งต่อองค์ความรู้ของซีพีแรมที่มี ให้กับทั้งคนของซีพีแรมที่สนใจ และยังขยายวงกว้างไปสู่คนทั่วไป ที่ต้องอัพสกิล รีสกิลตัวเอง เพื่อให้ทันกับโลกยุคใหม่

เร่งพัฒนา “คน” ต่อเนื่อง

ส่วนขององค์กรซีพีแรม นายวิเศษ กล่าวว่า คนเราอายุยืนได้เท่าไรไม่รู้ แต่ที่เห็นก็มีเป็น 100 ปี บริษัทก็มียืนยาว 300-400 ปี บริษัทเหล่านั้นอยู่ได้ เพราะเขามีการตรวจเช็ค และปรับปรุงพัฒนา เราจึงใช้หลักของ TQM เพราะผมมองว่ามันเป็นการปรับปรุงพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ซีพีแรมพัฒนาคนต่อเนื่อง การคัดเลือกคน ก็เลือกคนดีมีความสามารถเหมาะกับงาน และวางงานให้ถูกกับคน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มที่

นายวิเศษ กล่าวไว้ว่า เขามีความตั้งใจอยากให้ซีพีแรมเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน ดังนั้น สิ่งที่เขาทำ คือ การดูแลสุขภาพขององค์กร องค์กรต้องมีการบริหารจัดการที่ดี จึงจะทำให้เดินหน้าไปได้เรื่อยๆ พนักงานต้องมีความสุข ต้องมั่นตรวจเช็ค ถ้าตรวจพบสิ่งไม่ดีก็ต้องรีบปรับปรุง

นั่นคือวิธีบริหารคนและองค์กร ที่สามารถนำองค์ความรู้การบริหารจัดการที่มี ส่งต่อเพื่อยกระดับบุคคลกรในอุตสาหกรรมอาหาร ให้ได้รับการพัฒนาอัพสกิลรีสกิลต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารทั้งระดับประเทศและระดับโลกต่อไป